ข้ามไปเนื้อหา

สำนักข่าวกรองกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ซีไอเอ)
สำนักข่าวกรองกลาง
Central Intelligence Agency
ตราของหน่วยงาน
ธงของหน่วยงาน
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง18 กันยายน ค.ศ. 1947
หน่วยงานก่อนหน้า
สำนักงานใหญ่ศูนย์ข่าวกรองจอร์จ บุช รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา
คำขวัญ"งานของชาติ ศูนย์ของข่าวกรอง"
ไม่เป็นทางการ: "แล้วท่านทั้งหลายจะได้รู้ความจริง และความจริงจะทำให้ท่านทั้งหลายเป็นไท" (John 8:32)[2]
บุคลากร21,575 (ประมาณการ)[3]
งบประมาณต่อปี15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2013)
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
เว็บไซต์www.CIA.gov

สำนักข่าวกรองกลาง (อังกฤษ: Central Intelligence Agency) หรือ ซีไอเอ (CIA) เป็นหน่วยงานข่าวกรองฝ่ายพลเรือนของรัฐบาลกลางสหรัฐ หน้าที่อย่างเป็นทางการ คือ การรวบรวม ประมวล และวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงแห่งชาติจากทั่วโลก โดยใช้วิธีสืบข่าวกรองด้วยมนุษย์เป็นหลัก หน่วยงานนี้ ในฐานะที่เป็นสมาชิกหลักของประชาคมข่าวกรองสหรัฐ จึงขึ้นกับผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ และเน้นให้ข่าวกรองแก่ประธานาธิบดีสหรัฐและคณะรัฐมนตรีสหรัฐ

หน่วยงานนี้ต่างจากสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) ตรงที่เอฟบีไอเป็นหน่วยงานความมั่นคงภายในประเทศ แต่หน่วยงานนี้ไม่มีบทบาทในการบังคับใช้กฎหมาย และมุ่งเน้นการรวบรวมข่าวกรองจากต่างแดน โดยมีการประมวลข่าวกรองในประเทศอย่างจำกัด[5] หน่วยงานนี้คอยบริหารจัดการความร่วมมือด้านการสืบข่าวกรองด้วยมนุษย์ทั่วประชาคมข่าวกรองสหรัฐ และเป็นหน่วยงานเดียวที่กฎหมายอนุญาตให้ดำเนินและควบคุมปฏิบัติการลับตามบัญชาของประธานาธิบดีสหรัฐ[5][6][7][8] หน่วยงานนี้มีอิทธิพลทางการเมืองต่างประเทศโดยอาศัยหน่วยงานทางยุทธวิธีของตน โดยเฉพาะศูนย์กิจกรรมพิเศษ[9] หน่วยงานนี้ยังมีบทบาทในการก่อตั้งองค์การด้านข่าวกรองในประเทศที่เป็นพันธมิตรของสหรัฐ เช่น องค์การข่าวกรองกลางของเยอรมนี อนึ่ง หน่วยงานนี้ยังสนับสนุนคณะบุคคลทางการเมืองและรัฐบาลต่างประเทศหลายรายในหลายด้าน เป็นต้นว่า ในการวางแผน การประสานงาน การฝึกหัดใช้การทรมาน และการสนับสนุนทางวิชาการ ทั้งยังมีส่วนในการเปลี่ยนระบอบปกครอง การโจมตีแบบก่อการร้าย และการวางแผนลอบสังหารผู้นำต่างประเทศ หลายครั้งหลายครา[10][3]

นับแต่ ค.ศ. 2004 เป็นต้นมา หน่วยงานนี้ได้รับการจัดระเบียบให้สังกัดผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ แม้มีการถ่ายโอนอำนาจบางประการไปให้แก่ผู้อำนวยการฯ แต่หน่วยงานนี้ก็ยังทวีขึ้นในด้านขนาด ทั้งนี้ เป็นผลมาจากเหตุการณ์ 11 กันยายน อนึ่ง ใน ค.ศ. 2013 เดอะวอชิงตันโพสต์ รายงานว่า ในบรรดาหน่วยงานข่าวกรองทั้งหลาย หน่วยงานนี้ได้งบสำหรับปีการเงิน 2010 มากที่สุด ซึ่งมากยิ่งกว่างบประมาณที่แล้ว ๆ มา[3][11]

หน่วยงานนี้ขยายบทบาทของตนออกไปมาก ซึ่งรวมถึงด้านปฏิบัติลับแบบกึ่งทหาร[3] และศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร (ไอโอซี) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานใต้สังกัดของหน่วยงานนี้ ก็ได้เบนความมุ่งหมายจากการต่อต้านการก่อการร้ายไปยังปฏิบัติการไซเบอร์[12]

หน่วยงานนี้ตกเป็นประเด็นความขัดแย้งหลายประการ ซึ่งรวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน การดักรับข้อมูลในประเทศที่เรียกว่า โครงการมอกกิงเบิร์ด การโฆษณาชวนเชื่อ และการค้าสิ่งเสพติด หน่วยงานนี้ยังปรากฏในบันเทิงคดีหลายรูปแบบ เป็นต้นว่า หนังสือ ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม

อ้างอิง

[แก้]
  1. "History of the CIA, CIA official Web site". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-12. สืบค้นเมื่อ March 28, 2014.
  2. "CIA Observes 50th Anniversary of Original Headquarters Building Cornerstone Laying – Central Intelligence Agency". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-24. สืบค้นเมื่อ September 18, 2012.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wp20130829
  4. "Cloak Over the CIA Budget". November 29, 1999. สืบค้นเมื่อ July 4, 2008.
  5. 5.0 5.1 Aftergood, Steven (October 6, 2011). "Secrecy News: Reducing Overclassification Through Accountability". Federation of American Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-09. สืบค้นเมื่อ February 3, 2012.
  6. Woodward, Bob (November 18, 2001). "Secret CIA Units Playing Central Combat Role". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ February 26, 2012.
  7. "World Leaders – Paraguay". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 28, 2010. สืบค้นเมื่อ April 14, 2011.
  8. Eimer, Charlotte (September 28, 2005). "Spotlight on US troops in Paraguay". BBC News. สืบค้นเมื่อ April 18, 2011.
  9. Phillips, Tom (October 23, 2006). "Paraguay in a spin about Bush's alleged 100,000 acre hideaway". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ April 18, 2011.
  10. Greg Grandin (2011). The Last Colonial Massacre: Latin America in the Cold War. University of Chicago Press. p. 75. ISBN 9780226306902.
  11. Commission on the Roles and Capabilities of the United States Intelligence Community (March 1, 1996). "Preparing for the 21st Century: An Appraisal of U.S. Intelligence. Chapter 13 – The Cost of Intelligence".
  12. Gellman, Barton; Nakashima, Ellen (September 3, 2013). "U.S. spy agencies mounted 231 offensive cyber-operations in 2011, documents show". The Washington Post.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]