ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Mugornja (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 285: บรรทัด 285:
| valign="top" | อธิการบดี
| valign="top" | อธิการบดี
| valign="top" | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
| valign="top" | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
| valign="top" | 3 มีนาคม พ.ศ. 2563 - 30 เมษายน พ.ศ. 2563<ref>https://ssru.ac.th/news-detail.php?id=310 รศ.ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ รักษาราชการตำแหน่งอธิการบดีสวนสุนันทา มีผล 3 มี.ค. 63</ref> (รักษาราชการแทนอธิการบดี) <br> 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน (ได้รับคะแนนเป็นเอกฉันท์จากสภามหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอพระบรมราชโองการแต่งตั้ง)
| valign="top" | 3 มีนาคม พ.ศ. 2563 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2563<ref>https://ssru.ac.th/news-detail.php?id=310 รศ.ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ รักษาราชการตำแหน่งอธิการบดีสวนสุนันทา มีผล 3 มี.ค. 63</ref> (รักษาราชการแทนอธิการบดี) <br> 6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน (ได้รับคะแนนเป็นเอกฉันท์จากสภามหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2563<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/288/T_0017.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (นางสาวชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์)</ref>)
|-
|-
|}
|}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:51, 10 ธันวาคม 2563

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ไฟล์:SuanSunandhaRajabhatUniversity Logo.png
ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อย่อมรภ.สส. / SSRU
คติพจน์ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนาโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 (37 ปี)

วิทยาลัยครูสวนสุนันทา
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 (16 ปี)

สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (12 ปี)

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (19 ปี)
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ (รอพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง​ และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา)​
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ (รอพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง​ และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา)​
นายกสภามหาวิทยาลัยรองศาสตราจารย์ ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย[1]
ที่ตั้ง
วิทยาเขตนครปฐม
ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

สมุทรสงคราม
ถนนพระราม 2 (ธนบุรี-ปากท่อ) ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

ระนอง
บริเวณด้านหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง

อุดรธานี
บ้านหนองบุ ตำบลสามพร้าว
อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

สุพรรณบุรี (ยังไม่เปิดสอน)
ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

เชียงราย (ยังไม่เปิดสอน)
ติดถนนเส้นไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ตำบลครึ่ง
อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
สี████ สีน้ำเงิน สีชมพู
เว็บไซต์http://www.ssru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (อังกฤษ: Suan Sunandha Rajabhat University; อักษรย่อ: มรภ.สส. – SSRU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ในพื้นที่วังสวนสุนันทา อันเคยเป็นเขตพระราชฐานของพระราชวังดุสิตในรัชกาลที่ 5 มาก่อน นักเรียนและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาทุกคนจะใช้คำแทนตัวเองว่า "ลูกพระนาง" ซึ่งพระนางในที่นี้หมายถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่พระนางไม่มีส่วนรู้เห็นในการจัดตั้งและมิได้รู้จักมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาแต่อย่างใด

มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีรากฐานมาจากการสถาปนา "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เปิดสอน ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ต่อมาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูสวนสุนันทา" ในปี พ.ศ. 2518 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ ทำให้วิทยาลัยครูสวนสุนันทามีชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา" โดยอัตโนมัติ แต่ยังไม่เป็นทางการ เนื่องจากยังไม่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏในราชกิจจานุเบกษา และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูสวนสุนันทาจึงมีสถานะเป็น "สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา" อย่างเป็นทางการ

ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ยังผลให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทายกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยดำเนินเรื่องออกจากการเป็นราชภัฏเพื่อยกระดับขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ แต่เนื่องด้วยความสามารถทางวิชาการ และรายได้ในการบริหารการศึกษา ยังคงทำให้ต้องคงความเป็นราชภัฏไว้ก่อน

ประวัติมหาวิทยาลัย

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริว่าสถานที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในคับแคบ ไม่เหมาะสมจะเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักและตึกในบริเวณสวนสุนันทาขึ้นอีกหลายหลัง แล้วโปรดให้เป็นที่ประทับของพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร โดยมีสมเด็จพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล (ตึก 27) ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ถึง พ.ศ. 2472 (สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักที่ประทับสวนสุนันทา) เนื่องจากในสมัยนั้นบรรดาขุนนาง ข้าราชการ ผู้มีบรรดาศักดิ์นิยมนำบุตรี และหลานของตนมาถวายตัวต่อสมเด็จพระวิมาดาเธอฯ เป็นจำนวนมาก สมเด็จพระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้าง "โรงเรียนนิภาคาร" ขึ้นภายในสวนสุนันทา สอนตามหลักสูตรการศึกษาในสมัยนั้น รวมทั้งอบรมจริยา มารยาท การฝีมือ ให้เป็นกุลสตรี

ครั้นถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ในสวนสุนันทาหวั่นเกรงภัยจากการเมือง จึงได้ทะยอยกันออกไปจากสวนสุนันทาจนหมดสิ้น บางพระองค์ได้เสด็จออกไปอยู่หัวเมืองและหลายพระองค์เสด็จลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ โรงเรียนนิภาคารจึงเลิกดำเนินการไปโดยปริยาย นับแต่นั้นมาสวนสุนันทาที่เคยงดงามก็ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ตำหนักต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก พื้นที่ภายในรกร้างว่างเปล่า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นว่าสวนสุนันทาถูกทอดทิ้งรกร้างอยู่มิได้ทำประโยชน์ จึงเห็นสมควรให้นายกรัฐมนตรีได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่อยู่อาศัยของรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรขอเพียงพื้นที่ภายนอกกำแพงติดถนนสามเสนสร้างเป็นบ้านพักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติเห็นสมควรว่า ควรใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและมอบให้กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาของชาติ และสถานที่ศึกษานี้ให้ชื่อโดยคงชื่อเดิมของสถานที่เพื่อเป็นอนุสรณ์โดยขนานนามว่า "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" เริ่มเปิดการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันดั่งคำขวัญมหาวิทยาลัยที่ว่า จากพระราชอุทยานสู่สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏอันดับ 1 ของประเทศไทย

สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

ปรัชญา

  • ปรัชญา : ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม

อัตลักษณ์และเอกลักษณ์

  • อัตลักษณ์ เป็นนักปฏิบัติ ถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญการสื่อสาร ชำนาญการคิด มีจิตสาธารณะ
  • เอกลักษณ์ เน้นความเป็นวัง ปลุกฝังองค์ความรู้ ยึดมั่นคุณธรรมให้เชิดชู เป็นองค์การเรียนรู้สู่สากล

เพลงประจำมหาวิทยาลัย

  • ร่มโพธิ์ทอง
  • มาร์ชสวนสุนันทา

สีประจำมหาวิทยาลัย

  •   สีน้ำเงิน หมายถึง สีของมหาวิทยาลัยมหิดล เพราะสวนสุนันทามีความทัดเทียมในเชิงวิชาการเทียบเท่า
  •   สีชมพู หมายถึง สีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างสองมหาวิทยาลัย

สีของตรามหาวิทยาลัยราชภัฏ

  •   สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
  •   น้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้พระราชทานนาม"สถาบันราชภัฏ"
  •   สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางปัญญา
  •   สีส้ม แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ไฟล์:Flora KaewChaoChom.jpg
ดอกแก้วเจ้าจอม

ต้นแก้วเจ้าจอม เหตุที่ชื่อ “แก้วเจ้าจอม” เพราะเป็นไม้ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ในครั้งรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริสร้างสวนสุนันทาขึ้นเป็นที่ ระลึกถึงพระมเหสี คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ปัจจุบันต้นกำเนิดต้นนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีอยู่ต้นเดียวในประเทศไทย เป็นต้นไม้หายาก ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย มาปลูกไว้ในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” ต้นแก้วเจ้าจอม มีลักษณะใบประกอบ 2 คู่ ได้ถูกจัดลำดับเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2525

โครงการ สถานีโทรทัศน์ SSRU TV Online

สถาบันสร้างสรรค์และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (สสสร.) ,Institute of Lifelong Learning Promotion and Creative เป็นสถาบันย่อยของมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการแข่งขันและสนองตอบความต้องการของสังคม เป็นการผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับในฐานะ "มหาวิทยาลัยชั้นนำ" ได้มีโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เผยแพร่ภาพและเสียงผ่านระบบ Internet Protocol Television ในชื่อช่อง "SSRU TV Online" (Online ในที่นี่หมายถึง TV Streaming) ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการดำเนินการผลิตรายการและเตรียมความพร้อมในการออกอากาศ โดยได้ทดลองออกอากาศแล้วผ่านเว็บไซต์ SSRU TV Online


การจัดการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดทำการเรียนการสอนอย่างครอบคลุม ซึ่งการจัดการศึกษามีอยู่ในหลายระดับการศึกษา ได้แก่

  1. ระดับก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยฯ (เตรียมอนุบาล อายุ 1 เดือน - อนุบาล 3 อายุ 6 ขวบ)
  2. ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตประถมฯ (ชั้น ป.1 - ป.6)
  3. ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมัธยมฯ (ชั้น ม.1 - ม.6)
  4. ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี - ปริญญาเอก)

คณะวิชา

คณะผู้บริหาร

อธิการบดี รองอธิการบดี และผู้ช่วยอธิการบดี
รายนาม ตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ รักษาราชการแทนอธิการบดี
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา พงษ์เพ็ง รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร
3. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา น้อยจันทร์ รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
4. รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา เมฆขำ รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและประกันคุณภาพ
5. รองศาสตราจารย์ ดร.ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนนาถ มีนะนันท์ รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กวิน วงศ์ลีดี รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมสัน โสมณวัตร รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตนครปฐม
9. อาจารย์อนันตชัย เอกะ รักษาราชการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
10. อาจารย์ดวงพร แสงทอง รักษาราชการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์ รักษาราชการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิริอร จำปาทอง รักษาราชการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

ทำเนียบผู้บริหารในอดีต - ปัจจุบัน

รายนามผู้บริหาร ในอดีต - ปัจจุบัน
รายนามผู้บริหาร ตำแหน่ง สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1. อาจารย์ นิลรัตน์ บรรณสิทธิ์วรสาสน์ ครูใหญ่ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2480 -2486)
2. อาจารย์ มล.ประชุมพร ไกรฤกษ์ ครูใหญ่ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2486 -2491)
3. อาจารย์ คุณหญิงกรองแก้ว ปทุมานนท์ อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2491 -2498 และ พ.ศ. 2500 - 2516)
4. อาจารย์ ผจงวาด วายวานนท์ อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2498 -2500 )
5. อาจารย์ ประเยาว์ ศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2516 -2519)
6. ศาสตราจารย์ สมจิต ธนสุกาญจน์ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2519 -2524)
7. อาจารย์ จำเริญ เสกธีระ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2524 - 2526)
8. อาจารย์ กลาย กระจายวงศ์ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2526 - 2534)
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พล กำปังสุ์ ผู้อำนวยการ (อธิการบดีโดยตำแหน่ง) วิทยาลัยครูสวนสุนันทา/สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา (พ.ศ. 2534 - 2535 ; วิทยาลัยครูสวนสุนันทา)
(พ.ศ. 2535 - 2537 ; สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา)
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรางศรี พณิชยกุล อธิการบดี สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา (พ.ศ. 2537 - 2542)
11.รองศาสตราจารย์ ดร.ดิลก บุญเรืองรอด อธิการบดี สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา/มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2547)
12. รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551[2]
30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555 [3]
13. รองศาสตราจารย์ ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 3 มีนาคม 2563[4]
14.รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 3 มีนาคม พ.ศ. 2563 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2563[5] (รักษาราชการแทนอธิการบดี)
6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน (ได้รับคะแนนเป็นเอกฉันท์จากสภามหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2563[6])
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย ในอดีต - ปัจจุบัน
รายนามนายกสภา สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายบรรหาร ศิลปอาชา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา สิ้นสุดดำรงตำแหน่งราวปี 2548
2. นายกร ทัพพะรังสี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พ.ศ. 2548 - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

มาตรฐาน ISO ที่มหาวิทยาลัยได้รับ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งแรกที่ได้รับรอง ISO 9001 และ ISO 14000 (สิ่งแวดล้อม) [ต้องการอ้างอิง]

  • ISO 14000:2004 ด้านสิ่งแวดล้อม
  • ISO 9001:2008 สำนักงานอธิการบดี
  • ISO 9001:2008 สำนักทรัพย์สินและรายได้
  • ISO 9001:2008 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ISO 9001:2008 กองบริการการศึกษา
  • ISO 9001:2008 กองนโยบายและแผน
  • ISO 9001:2008 กองพัฒนานักศึกษา
  • ISO 9001:2008 บัณฑิตวิทยาลัย
  • ISO 9001:2008 คณะวิทยาการจัดการ
  • ISO 9001:2008 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ISO 9001:2008 คณะเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
  • ISO 9001:2008 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ISO 9001:2008 คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • ISO 9001:2008 สถาบันวิจัยและพัฒนา

ปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ Public Sector Management Quality Award (PMQA) จาก ก.พ.ร.

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลก

  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้รับการจัดอันดับว่าเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุด 100 อันดับแรกวัดจากคะแนนโอเน็ต
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้รับการจัดอันดับว่าเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏอันดับที่ 1 ในปัจจุบัน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วโลก อ้างอิงจาก Ranking Web of Universities

เครือข่ายความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

กลุ่มประเทศ ASEAN

  • ประเทศสิงค์โปร์

- EASB East Asia Institute of Management จัดสรรค์ทุนเรียนฟรีสูงสุด ร้อยล่ะ 75 และส่งเสริมการไปฝึกงานต่างประเทศ

- Republic Polytechnic, Singapore 

  • ประเทศมาเลเซีย

- University of Malaya

- Universiti putra malaysia เผยแพร่งานวิชาการ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเพื่ออเตรียมความพร้อมสู่ ASEAN และแลกเปลี่ยนลงานวิชาการระหว่าง 2 ประเทศ

- Universiti sains malaysia มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย แลกเปลี่ยนอาจารย์ในการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์งานวิจัยระดับนานาชาติ มร.สส

  • ประเทศเวียดนาม
    Hue University

- Hue University

- Can Tho University

  • ประเทศฟิลิปปินส์

- Technological University of the Philippines

  • ประเทศลาว

- National University of Laos

  • ประเทศเมียนมาร์

- University of Information Technology

- Myanmar maritime university ด้านโลจิสติกส์

  • ประเทศกัมพูชา

- Build Bright University

- Royal University of Fine Arts

  • ประเทศอินโดนิเซีย

- STIE Ekuitas

สืบเนื่องจากโครงการความร่วมมือทางวิชาการในกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและมหาวิทยาลัยในอาเซียนอีก 9 ประเทศได้ตกลงกันไว้ในคราวประชุมครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2558 กรุงเทพฯ และครั้งที่2 พ.ศ. 2559 ที่สิงคโปร์ โดยจะมีครั้งที่ 3 ปลายปีนี้ที่พนมเปญ กัมพูชา ภายใต้ชื่อโครงการ Triple A (AAA: ASEAN Academic Aliance) ตามแนวคิดของนายกร ทัพพะรังสี นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนุนันทา

ในปีนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้ร่วมกับ East Asia School of Business เปิดหลักสูตรสองปริญญา Dual Degree ในสาขาวิชา International Business และ Hospitality and Hotel Management ซึ่งจะเรียนที่ประเทศไทยสองปี สิงคโปร์ 1 ปี และ UK 1 ปี ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องผ่านการสอบภาษอังกฤษ IELST คะแนนไม่ตำกว่า 6.0 EASB จะลดค่าเล่าเรียนให้ร้อยละ 75 พร้อมให้ทุนค่าใช้จ่ายด้านที่พักและอาหารหากนักศึกษามีผลการเรียนดี

กลุ่มประเทศเอเชีย

  • ประเทศจีน

- The university of saint joseph macau

- Tianjin University of Traditional Chinese Medicine ร่วมมือด้านแพทย์แผนจีนกับสวนสุนันทา ส่งนักศึกษาเรียนปีสุดท้ายที่จีน

- Yunnan normal university แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันของเอกอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ-นักศึกษาเอกภาษาจีน ไปเรียนที่จีน และนักศึกษาจีนมาเรียนที่สวนสุนันทา

- Guilin University of Aerospace Technology ร่วมมือในวิทยาลัยนานาชาติ

- Hegesen International Education Investment Co., Limited - Hong Kong ร่วมมือกันจัดสอบ HSK ผ่านระบบทุกเดือน

- Tianjin academy of fine arts

- Guangxi University

Guangxi University

- Leshan Vocational & Technical College

- Leshan normal university

- มหาวิทยาลัยหัวเฉียว ประเทศจีน

- Nanjing normal university

  • nanjing normal university
    ประเทศญี่ปุ่น

- Kyoto University of Education

Osaka Kyoiku University
Kyoto University of Education

- Osaka Kyoiku University

- Wafukai Medical Corporation ร่วมมือกันสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้สูงอายุ (โรงพยาบาลสวนสุนันทา)

- Asashikawa University แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ การศึกษาวิชาการ วัฒนธรรม ดนตรี และกีฬา การใช้ทรัพยากรด้านการศึกษาและร่วมมือกันวางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาร่วมกัน

- University of east asia (Japan)

- Okayama University การส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ศักยภาพด้านการศึกษา และแนวทางการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ตลอดจนการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยเพื่อส่งเสริมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก

  • ประเทศเกาหลี

- Gyeonggi English Village

- วัดธรรมเจติยาราม เมืองอันซาน เกาหลี

- สถาบันการผลิตภาพยนตร์ ดองอา ประเทศเกาหลี

- สถาบันศิลปะและมีเดีย ดง-อา (สาธารณรัฐเกาหลีใต้)

  • เขตปกครองใต้หวัน
    National Taipei University of Education

- Lunghwa University of Science and Technology

- National Taipei University of Education

- National Pingtung University วิจัยร่วมกันกับคณะครุศาสตร์

- Chia Nan University of Pharmacy and Science, Republic of China, Taiwan 

กลุ่มประเทศยุโรป

  • สาธารณรัฐเช็ก
    university of hradec králové - สาธารณรัฐเช็ก

- University of hradec králové

- Metropolitan University Prague

วิทยาลัยนานาชาติจัดสอบชิงทุนทุกปีไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่สาธารณรัฐเช็ก "โดยเสียค่าใช้จ่ายเท่าค่าเทอมที่สวนสุนันทาแต่ได้ไปเรียนไกลถึงยุโรป"

- University College of Business in Prague

  • ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

- BHMS - Business Hotel Management School Luzern Switzerland

  • ประเทศรัสเซีย
Kazan Federal University in Kazan, Russia

- Peter the Great St.Petersburg Polytechnic University ร่วมกันจัดการศึกษาร่วมกัน ทั้งด้านวิจัย การเรียนโดยการแลกเปลี่ยนอาจารย์

ของทั้ง 2 มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งให้ทุนเรียนฟรีทั้งหมด / วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัราชภัฏสวนสุนันทา

- kazan federal university

  • ประเทศฝรั่งเศส

- Oui Je Parle Français en Thaïlande

  • ประเทศอังกฤษ

- de montfort university leicester

de montfort university leicester

กลุ่มประเทศทวีปอเมริกา

  • ประเทศสหรัฐอเมริกา

- Indiana state university

indiana state university

- University of North Texas

University of North Texas

กลุ่มประเทศแอฟริกา

  • ประเทศโมร็อกโก

- Universite hassan 1 morocco

- University of hassan ii casablanca

กลุ่มประเทศโอเชียเนีย

  • ประเทศออสเตรเลีย
Deakin University

- Deakin University

- Logistics Bureau - Logistics and Supply Chain Management Consultants

- University of western sydney

university of western sydney

การเดินทาง

การเดินทางมาสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา(กรุงเทพฯ) สามารถเดินทางมาได้ด้วยกันหลายเส้นทาง ดังนี้

เส้นถนนสามเสน

(เกียกกาย ศรีย่าน วชิรพยาบาล สวนสุนันทา เทเวศร์ สนามหลวง)

สายรถเมล์ที่ผ่าน : 3 (หมอชิตใหม่ - คลองสาน), 9 (ท่าน้ำภาษีเจริญ - สถานีรถไฟสามเสน), 16 (อู่ศรีณรงค์ - สุรวงศ์), 30 (วัดเขมาภิตาราม - สายใต้เดิม), 32 (ปากเกร็ด - วัดโพธิ์), 33 (ปทุมธานี - สนามหลวง), 49 (หมอชิตใหม่ - หัวลำโพง), 64 (นนทบุรี - สนามหลวง), 65 (วัดปากน้ำนนทบุรี - สนามหลวง), 110 (พระราม7 - เทเวศร์), 505 (ปากเกร็ด - สวนลุมพินี), 524 (บางเขน - วัดโพธิ์)

เส้นถนนราชวิถี

(สะพานซังฮี้ สวนสุนันทา เขาดิน สวนจิตรลดา อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)

สายรถเมล์ที่ผ่านคือ : 18 (ท่าอิฐ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ), 28 (หมอชิตใหม่ - สายใต้ใหม่), 56 (วงกลมสะพานกรุงธน-บางลำภู), 108 (รัชโยธิน - เดอะมอลล์ท่าพระ), 125 (ศาลายา - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ), 515 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - มทร.ศาลายา), 539 (ศรีอยุธยา - อ้อมน้อย)

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT) : สถานีสิรินธร

เรือด่วนเจ้าพระยา : ท่าสะพานกรุงธน (ซังฮี้)

เส้นถนนนครราชสีมา

(ที่ทำการพรรคชาติไทย การเรือน สวนสุนันทา หลังสวนอัมพร ครุสภา)

สายรถเมล์ที่ผ่าน : 12 (ห้วยขวาง - เศรษฐการ)

เส้นแยกเทเวศน์

(ลงแยกเทเวศน์ เดินขึ้นมาทางทิศเหนือ หอสมุดแห่งชาติ สวนสุนันทา)

สายรถเมล์ที่ผ่าน : 23 (เทเวศร์ - สำโรง), 43 (โรงเรียนศึกษานารีวิทยา - เทเวศร์), 72 (ท่าเรือคลองเตย - เทเวศร์), 99 (เทเวศร์ - รามคำแหง), 516 (บางบัวทอง - เทเวศร์)

เรือด่วนเจ้าพระยา : ท่าเทเวศร์

บุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (นายฤๅเดช เกิดวิชัย)
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2547/D/113/011.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นายช่วงโชติ พันธุเวช (วาระแรก)
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/028/20.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นายช่วงโชติ พันธุเวช (วาระที่สอง)
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/187/34.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (นายฤๅเดช เกิดวิชัย)
  5. https://ssru.ac.th/news-detail.php?id=310 รศ.ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ รักษาราชการตำแหน่งอธิการบดีสวนสุนันทา มีผล 3 มี.ค. 63
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/288/T_0017.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (นางสาวชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์)