คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Faculty of Science and Technology,
Suansunandha Rajabhat University
คติพจน์"มีความรู้ดี มีคุณธรรม นำชาติพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"
สถาปนาพ.ศ. 2480
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาณัติ ต๊ะปินตา
ที่อยู่
อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ (อาคาร 26)
เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก
แขวงดุสิต เขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร 10300
สี  สีเหลือง
เว็บไซต์sci.ssru.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (อังกฤษ: Faculty of Science and Technologys, Suansunandha Rajabhat University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท

ประวัติ[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แรกเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2480 จนถึง พ.ศ. 2560 รวมเวลา 80 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้เริ่มก่อตั้งจาก "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" ก่อนปี พ.ศ. 2491 วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สอนในระดับประถมและมัธยมศึกษา ในปี พ.ศ. 2501 ได้เปิดสอนเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสวนสุนันทา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) วิทยาศาสตร์จัดเป็นหมวดวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วย ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป

ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้เปลี่ยนฐานะเป็น "วิทยาลัยครูสวนสุนันทา" จัดเป็นคณะวิชาวิทยาศาสตร์ มีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้บริการอบรมครูประจำการวิชาวิทยาศาสตร์และเปิดสอนระดับปริญญาตรีสายครุศาสตร์ คณะวิชาวิทยาศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2527 คณะวิชาวิทยาศาสตร์จึงได้เปลี่ยนเป็น "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"

และปี พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยครูทั่วประเทศเป็นสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปิดสอน 2 สาขา คือ สาขาวิชาการศึกษา ที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2545 นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาได้ย้ายไปอยู่ในความรับผิดชอบของคณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเปิดสอนเฉพาะสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

จนต่อมาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ทำให้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเป็นคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดสอนในสาขาวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท[1]

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาคหกรรม
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์สารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหารและบริการ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาสถิตประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    • แขนงการจัดการฐานข้อมูล
    • แขนงสื่อประสม

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
-

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]