วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต
College of Communication Arts
Rangsit University
ชื่อย่อCA (ไม่เป็นทางการ)
สถาปนาพ.ศ. 2531
คณบดีอาจารย์ อนุสรณ์ ศรีแก้ว
ที่อยู่
อาคาร Digital Multimedia Complex (ตึก15)
มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถนนเอกประจิม ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
โทร 02-2997-2200 ต่อ 4460-8
วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์
สี███ สีน้ำเงิน
มาสคอต
นกพิราบ (ไม่เป็นทางการ)
สถานปฏิบัติ
เว็บไซต์ca.rsu.ac.th

วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นคณะวิชาในสาขาสื่อสารมวลชน ของมหาวิทยาลัยรังสิต

ประวัติ[แก้]

วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปีการศึกษา 2531 ตั้งแต่ครั้งยังเป็น วิทยาลัยรังสิต หลังจากที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัย ในขณะนั้น) ได้อนุญาตให้เปิดสอนใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และ สาขาวิชาสารนิเทศ โดยได้รับโอนนักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารการแสดง ของคณะศิลปศาสตร์ ร่วมกับการรับโอนนักศึกษาจากคณะต่างๆ เช่น คณะศิลปกรรม (คณะศิลปะและการออกแบบ ในปัจจุบัน) ที่สมัครใจเข้าศึกษาใน 2 สาขาวิชาดังกล่าว โดยในปีนั้น มีอาจารย์ประจำ 4 ท่าน และนักศึกษาประมาณ 100 คน จากนั้นในปีการศึกษา 2534 เปิดสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ และในปีการศึกษา 2535 เปิดสาขาวิชาการโฆษณา และสาขาวิชาการหนังสือพิมพ์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสาขาวารสารศาสตร์)

โดยมีวิธีการรับนักศึกษาแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ นักศึกษาที่ผ่านการสอบคัดเลือกจากทบวงมหาวิทยาลัย (สอบเอ็นทรานซ์) ส่วนหนึ่ง และมาจากที่วิทยาลัยรับสมัครเองอีกส่วนหนึ่ง ต่อมา ได้เปิดสอนเพิ่มขึ้นอีกเป็น 6 สาขาวิชา จากนั้น ในปีการศึกษา 2541 สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ (เดิมคือ สาขาวิชาสารนิเทศ) ได้โอนย้ายไปสังกัดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อมา ในปีการศึกษา 2542 คณะได้เปิดสอนหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตเป็นครั้งแรก ในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ และในปีการศึกษา 2545 คณะได้เปิดสอนหลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต หลักสูตรนานาชาติ นอกจากนั้น เมื่อไม่นานมานี้ คณะได้เปิดสอนหลักสูตรนิเทศศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตด้วย[1]

หลักสูตร[แก้]

ปัจจุบัน วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ดังนี้

  • นิเทศศาสตรบัณฑิต จำนวน 10 หลักสูตร
  1. สาขาวิชาวิทยุโทรทัศน์มัลติแพลตฟอร์ม
  2. สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
  3. สาขาวิชาการโฆษณาและสื่อสร้างสรรค์
  4. สาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล
  5. สาขาวิชาการสื่อสารการแสดง
  6. สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัลและแบรนดิ้ง
  7. สาขาวิชามัลติมีเดีย
  8. สาขาวิชานิเทศศาสตร์การกีฬา
  9. สาขาวิชาการเขียนบทการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์
  10. สาขาวิชาสร้างสรรค์คอนเทนต์ดิจิทัล
  • นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จำนวน 2 หลักสูตร
    • สาขาวิชานิเทศศาสตร์
    • สาขาวิชาการเขียนบทการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์
  • 'ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จำนวน 1 หลักสูตร
    • สาขาวิชานิเทศศาสตร์

คณะกรรมการบริหาร[แก้]