นันทิยา น้อยจันทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นันทิยา น้อยจันทร์
รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
29 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ก่อนหน้ารองศาสตราจารย์ ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์
คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ดำรงตำแหน่ง
24 มกราคม พ.ศ. 2560 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
ก่อนหน้าอาจารย์ ดร.อารยา ลี
ถัดไปผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 (59 ปี)
จังหวัดสุพรรณบุรี
คู่สมรสสุรเดช น้อยจันทร์

รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา น้อยจันทร์ (สกุลเดิม เกิดวิชัย) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ประวัติ[แก้]

รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา น้อยจันทร์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ที่บ้านย่านซื่อ ตำบลบ้านช้าง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายบุญธรรม กับนางลออ เกิดวิชัย มีพี่น้อง 8 คน คือ[1]

ชีวิตครอบครัว[แก้]

รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา น้อยจันทร์ สมรสกับ ดร.สุรเดช น้อยจันทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 โดยมีบุตร-ธิดา 3 คน คือ[2]

  • นายวันจักร น้อยจันทร์
  • นางสาวภัคจิรา น้อยจันทร์
  • นายคุณานนท์ น้อยจันทร์

การศึกษา[แก้]

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2529 ต่อมาสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีใบที่ 2 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในปี พ.ศ. 2532 และในปีเดียวกันนี้ ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2550

การรับราชการ[แก้]

เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่ง อาจารย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนบ้านหนองม่วงวิทยาคาร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2529[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ย้ายมารับราชการในตำแหน่ง อาจารย์ 1 ระดับ 4 วิทยาลัยครูนครสวรรค์ จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 ย้ายมารับราชการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในตำแหน่งรองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ พร้อมทั้งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2563 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา[4] จนถึงปัจจุบัน

รางวัล[แก้]

  • เกียรติบัตรและโล่เกียรติคุณ คณาจารย์แห่งชาติทางครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ พ.ศ. 2557
  • เกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติครุฑทองคำ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น พ.ศ. 2561[5]
  • ประกาศเกียรติคุณและเข็มเสมาคุณูปการ ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2562[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน นายฤๅเดช เกิดวิชัย เก็บถาวร 2020-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  2. ตรวจราชการโรงเรียนวัดสุบรรณาราม เมืองนครสวรรค์ เก็บถาวร 2020-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จังหวัดนครสวรรค์
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างบริโภคนิสัยกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 11 บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทามีมติอนุมัติแต่งตั้ง 7 รองอธิการบดี[ลิงก์เสีย]
  5. คณะครุศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา น้อยจันทร์ คณบดีคณะครุศาสตร์ ซึ่งได้รับคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2561 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  6. แสดงความยินดีกับ รศ.ดร. นันทิยา น้อยจันทร์ ที่ได้รับรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2561 และรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2562 บริษัท เอ็ดดูเคชั่นแนลเทคโนโลยี (เอ็ด – เทค) จำกัด และ บริษัท เอ็ดเทค ครีเอชั่น จำกัด
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๒๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๖๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๗๗, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗