สุนีย์ สินธุเดชะ
สุนีย์ สินธุเดชะ | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 7 มกราคม พ.ศ. 2479 อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | อาจารย์,นักพูด,พิธีกร,นักแสดง,อธิการบดี,นักการเมือง |
คู่สมรส | พล.อ.ต.ประเทศ สินธุเดชะ |
บุตร | ดร.นิธินาถ เตลาน |
รองศาสตราจารย์ สุนีย์ สินธุเดชะ นายกสภามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต อดีตอาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "อาจารย์แม่" หรือที่นักเรียนในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม และอนุบาลเรียกว่า "คุณยาย"[1] และอดีตรองหัวหน้าพรรคถิ่นไทย[2]
ประวัติ[แก้]
รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2479 เป็นชาวจังหวัดตาก สมรสกับ พลอากาศตรี ประเทศ สินธุเดชะ มีบุตรสาวคนเดียว คือ ดร.นิธินาถ สินธุเดชะ เตลาน
รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ เริ่มเข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา - มัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนสตรีผดุงปัญญา จังหวัดตาก สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต และครุศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นักเรียนทุนกระทรวงศึกษาธิการ) [3] หลังจบการศึกษาจึงเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาจึงย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นอาจารย์พิเศษ โรงเรียนผู้บังคับหมวดทหารอากาศ สถาบันจิตวิทยาและความมั่นคง มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล (มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชในปัจจุบัน) วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ และอีกหลายสถาบัน
หลังเกษียณอายุราชการแล้ว รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ ได้เข้ามารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2554 และนายกสภามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555[4]
งานการเมือง[แก้]
อาจารย์สุนีย์ เคยร่วมงานการเมืองกับ ดร.พิจิตต รัตตกุล โดยเข้ารับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคถิ่นไทย ในปี พ.ศ. 2543 ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้ลาออกจากพรรคถิ่นไทย จึงได้ลดบทบาททางการเมืองลงไป
การพูด[แก้]
อาจารย์แม่นั้นมีชื่อเสียงมาจากการโต้วาทีที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยในช่วง 14 ตุลาและ 6 ตุลากับการโต้วาทีกับนักศึกษา โดยมีการโต้ที่เด็ดขาด เฉียบแหลม สามารถตอบโต้ได้ทุกคำค้านของฝ่ายค้าน หยิบประเด็นใดมาก็สามารถโต้ได้หมด โดยอาจารย์แม่เคยเป็นนักพูดประจำรายการทีวีวาที เป็นแขกรับเชิญยุคแรกกับรายการจันทร์กะพริบ รายการสี่ทุ่มสแควร์ และมักถูกเชิญให้ไปเป็นกรรมการตัดสินการพูดโต้วาทีหลายครั้ง เมื่ออาจารย์แม่มีอายุมากขึ้นก็เริ่มรับงานน้อยลงวางมือทั้งงานพูดและงานบริหาร
ผลงานภาพยนตร์[แก้]
- พ.ศ. 2538 - บินแหลก
- พ.ศ. 2542 - แตก 4 รัก โลภ โกรธ เลว (รับเชิญ)
ผลงานละคร[แก้]
- พ.ศ. 2535 - ดอกไม้ของนายแย้ (ช่อง 3)
ผลงานพิธีกร[แก้]
- ทีวีวาที
- จั๊กจั่นบันเทิง คู่กับ ชาญณรงค์ ขันทีท้าว
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2533 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2530 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2528 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ลูกยุคโลกาภิวัฒน์, หน้า 28-31. "แม่บ้านสราญ" โดย รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ. นิตยสารสราญ: ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กันยายน 2540
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค นโยบายพรรค ข้อบังคับพรรค และกรรมการบริหารพรรคถิ่นไทย
- ↑ "ข้อมูลจากโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภาษา IES". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.
- ↑ สารนายกสภามหาวิทยาลัย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๓, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2479
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอแม่ระมาด
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- รองศาสตราจารย์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- พรรคถิ่นไทย
- นักพูด
- คอลัมนิสต์
- หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา