ชำนิ ศักดิเศรษฐ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชำนิ ศักดิเศรษฐ์
ชำนิ ใน พ.ศ. 2555
ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 20 มกราคม พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน​ พ.ศ. 2540 – 17 กุมภาพันธ์​ พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้า
ถัดไป
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้า
ถัดไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 มีนาคม พ.ศ. 2490 (77 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2538-ปัจจุบัน)
คู่สมรสทรรศนา ศักดิเศรษฐ์

ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ (เกิด 3 มีนาคม พ.ศ. 2490) เป็นอดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์)[1] อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 สมัย เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ภาคใต้

ประวัติ[แก้]

ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2490 เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนทั้งหมด 5 คน ของนายกรึกและนางช้อย ศักดิเศรษฐ์ ชีวิตครอบครัว สมรสกับนางทรรศนา ศักดิเศรษฐ์ (นามสกุลเดิม ภาณุสุนทร) มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 1 คน [2]

การศึกษา[แก้]

ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2536 และได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปีเดียวกัน

ประวัติการทำงาน[แก้]

ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 7 สมัย ในปี พ.ศ. 2518, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544 (สังกัดพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย, พรรคเอกภาพ, พรรคพลังธรรม และพรรคประชาธิปัตย์) เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย และรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2533 และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2535-2537[3] และ พ.ศ. 2540-2544

ในปี พ.ศ. 2548 เขาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และในปี พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบสัดส่วน

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงา ขึ้นเป็นครั้งแรก นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ให้ทำหน้าที่ รองนายกรัฐมนตรีเงา ดูแลตรวจสอบ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และ สภาความมั่นคงแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตามข้อบังคับพรรค และ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2554 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่อีกครั้ง โดยนายชำนิได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และ นายจุติ ไกรฤกษ์

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายชำนิ ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 10[4] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 32 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] ต่อมาได้เลื่อนขึ้นมาแทนนางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ที่ลาออกไป ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566[6]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นายชำนิ ได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 18 [7]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 11 สมัย

ยศกองอาสารักษาดินแดน[แก้]

  • พ.ศ. 2536 ว่าที่นายกองเอก ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ได้รับพระราชทานยศแห่งกองอาสารักษาดินแดน เป็น นายกองเอก ชำนิ ศักดิเศรษฐ์[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2562
  2. ประวัตินายชำนิ ศักดิเศรษฐ์จากไทยรัฐ
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  5. เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
  6. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ พรรคประชาธิปัตย์)
  7. "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]