ข้ามไปเนื้อหา

พิชัย รัตตกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิชัย รัตตกุล
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2543 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(0 ปี 132 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ถัดไปอุทัย พิมพ์ใจชน
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 เมษายน พ.ศ. 2526 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
(7 ปี 223 วัน)
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ชาติชาย ชุณหะวัณ
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2543
(2 ปี 226 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(0 ปี 168 วัน)
นายกรัฐมนตรีเสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าชาติชาย ชุณหะวัณ
ถัดไปอุปดิศร์ ปาจรียางกูร
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน พ.ศ. 2525 – 26 มกราคม พ.ศ. 2534
(8 ปี 298 วัน)
ก่อนหน้าถนัด คอมันตร์
ถัดไปชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กันยายน พ.ศ. 2469
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (95 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2501–2565)
คู่สมรสคุณหญิง จรวย รัตตกุล (16 กันยายน พ.ศ. 2488–15 มิถุนายน พ.ศ. 2557)
บุตรพิจิตต รัตตกุล
อาณัฐชัย รัตตกุล
ลายมือชื่อ

พิชัย รัตตกุล (16 กันยายน พ.ศ. 2469 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[1]) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 4 อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย และเคยได้รับเลือกเป็นประธานสโมสรโรตารีสากล ระหว่างปี พ.ศ. 2545 – 2546

ประวัติ

[แก้]

พิชัย รัตตกุล เกิดวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2469 ที่จังหวัดพระนคร ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนซึ่งบรรพบุรุษได้เดินทางมาประเทศไทยเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเป็นบุตรของ นายพิศาลกับนางวิไล รัตตกุล
พิชัยเป็นบุตรคนโต จากพี่น้องทั้งหมด 9 คน ดังนี้

  • นาย พิชัย รัตตกุล
  • ร้อยตรี ไพโรจน์ รัตตกุล (สมรสกับ นางประพันธ์ศรี ลีลานุช)
  • นายแพทย์ ปราโมทย์ รัตตกุล
  • นางสาว ยุพิน รัตตกุล
  • นางสาว สุภาพรรณ รัตตกุล
  • นาง ยุพยงค์ รัตตกุล (สมรสกับ นาย Harry Studhalter)
  • คุณหญิง สุภัจฉรีย์ ภิรมย์ภักดี (สมรสกับ นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี)
  • นาง ยุพเรศ เที่ยงธรรม (สมรสกับ นายสุนัย เที่ยงธรรม)
  • นาย แสนดี รัตตกุล (สมรสกับ นางสุพรรณี เอี่ยมสกุลรัตน์)

นายพิชัยจบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน จากนั้นจึงไปศึกษาต่อด้านพาณิชยศาสตร์ที่โรงเรียนเซนต์สตีเฟ่น ที่ฮ่องกง หลังจบการศึกษาแล้วได้กลับมาดูแลธุรกิจของครอบครัว ก่อนจะเข้าสู่แวดวงการเมือง

ชีวิตครอบครัว สมรสกับ คุณหญิงจรวย รัตตกุล (สกุลเดิม ศิริบุญ) มีบุตรชาย 2 คนคือ ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร และ ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล บุตรสาว 1 คนคือ คุณหญิงพัชรี ว่องไพฑูรย์ (สมรสกับ ดร.วีระนนท์ ว่องไพฑูรย์)

นายพิชัยได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ โรงพยาบาลศิริราช หลังจากเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งปอด[2]ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

งานการเมือง

[แก้]

นายพิชัยเข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2501 และเป็นส.ส.ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาไม่นาน นายพิชัยได้เป็น 1 ใน 100 ของบุคคลที่ลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอม กิตติขจร และเป็น 1 ใน 4 สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ลงชื่อในคราวนั้น (อีก 3 คนคือ นายดำรง ลัทธพิพัฒน์, นายเทพ โชตินุชิต, นายชวลิต อภัยวงศ์) เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]

ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[4] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งอีกครั้ง[6] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[7] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

ได้เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ใน พ.ศ. 2525 หลังจากการครบวาระของ พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงนี้ได้ร่วมเป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งนายพิชัยได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีด้วย[8] ในปี พ.ศ. 2529 จากนั้นในรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายพิชัยและพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลในวาระแรก และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี[9] แต่ในวาระที่ 2 ของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายพิชัยและพรรคประชาธิปัตย์ได้ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลเนื่องจากมีเสียงสนับสนุนรัฐบาลในสภา ฯ เป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดสภาพการเป็นเผด็จการรัฐสภา

ในวาระของการเป็นหัวหน้าพรรคของนายพิชัยนั้น ได้มีเหตุการณ์ความแตกแยกในพรรคเกิดขึ้น เมื่อ "กลุ่ม 10 มกรา" ที่นำโดยนายวีระ มุสิกพงศ์ ได้ลาออกจากพรรคไป เนื่องจากความขัดแย้งกันในแต่งตั้งหัวหน้าพรรค

จากนั้น เมื่อ นายชวน หลีกภัยเป็นหัวหน้าพรรคและเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 นายพิชัยได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกิจการเกี่ยวกับต่างประเทศและรับผิดชอบการจัดมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ 1998 และได้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาด้วย[10] หลังจากนี้ไม่นาน นายพิชัยได้วางมือจากการเมืองเนื่องจากมีอายุที่มากแล้ว จนได้รับฉายาว่า "คุณปู่" แต่ยังมีตำแหน่งเป็นสภาที่ปรึกษาของพรรคประชาธิปัตย์อยู่

ในแวดวงสังคม นายพิชัย มีตำแหน่งเป็นประธานสโมสรโรตารีในประเทศ และเป็นคนไทยคนแรก ที่ได้ดำรงตำแหน่ง ประธานสโมสรโรตารีสากลในระหว่าง พ.ศ. 2545 – 2546

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
  •  นิการากัว :
    • พ.ศ. 2543 - เครื่องอิสริยาภรณ์ตระกูลโฆเซ เด มาร์โคเลตา ชั้น กราน ครูซ[15]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "'พิชัย รัตตกุล' อดีตประธานรัฐสภา-หัวหน้าปชป. ถึงแก่อนิจกรรม สิริอายุ 96 ปี". Matichon. February 28, 2022. สืบค้นเมื่อ February 28, 2022.
  2. "สิ้น พิชัย รัตตกุล อดีตประธานรัฐสภา-หัวหน้าพรรค ปชป.เสียชีวิตในวัย 96 ปี". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2022-02-28.
  3. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  5. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายพิชัย รัตตกุล)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2021-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑, ๑๑ กันยายน ๒๕๔๓
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2021-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๘, ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


ก่อนหน้า พิชัย รัตตกุล ถัดไป
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประธานรัฐสภา
(ประธานสภาผู้แทนราษฏร)

(30 มิถุนายน – 9 พฤศจิกายน 2543)
อุทัย พิมพ์ใจชน
พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร
พลเอก เสริม ณ นคร
พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์
ทองหยด จิตตวีระ

รองนายกรัฐมนตรี
(30 เมษายน 2526 – 9 ธันวาคม 2533)
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์
โกศล ไกรฤกษ์
พลเอก มานะ รัตนโกเศศ
พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก
สมัคร สุนทรเวช
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
วีรพงษ์ รามางกูร
สุวิทย์ คุณกิตติ
รองนายกรัฐมนตรี
(14 พฤศจิกายน 2540 – 28 มิถุนายน 2543)
สุทัศน์ เงินหมื่น
พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(21 เมษายน – 6 ตุลาคม 2519)
อุปดิศร์ ปาจรียางกูร
พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(พ.ศ. 2525 – 2534)
ชวน หลีกภัย