ข้ามไปเนื้อหา

มะเร็งปอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะเร็งปอด
(Lung cancer)
ชื่ออื่นLung carcinoma
การตรวจเอกซเรย์ทรวงอกแสดงเนื้องอกในปอด (ตามเครื่องหมายด้วยลูกศร)
สาขาวิชาวิทยามะเร็ง, วิทยาปอด
อาการCoughing (including coughing up blood), weight loss, shortness of breath, chest pains[1]
การตั้งต้น~70 ปี[2]
ประเภทSmall-cell lung carcinoma (SCLC), non-small-cell lung carcinoma (NSCLC)[3]
ปัจจัยเสี่ยง
วิธีวินิจฉัยMedical imaging, tissue biopsy[3][6]
การป้องกันNot smoking, avoiding asbestos exposure
การรักษาSurgery, chemotherapy, radiotherapy[3]
พยากรณ์โรคFive-year survival rate: 10 ถึง 20% (ประเทศส่วนใหญ่), 33% (ญี่ปุ่น), 27% (อิสราเอล), 25% (เกาหลีใต้)[7]
ความชุก3.3 ล้าน (2015)[8]
การเสียชีวิต1.8 ล้าน (2020)[7]

โรคมะเร็งปอด (อังกฤษ: lung cancer) เป็นโรคซึ่งมีการเจริญของเซลล์ในเนื้อเยื่อปอดอย่างควบคุมไม่ได้ การเจริญนี้นำไปสู่การแพร่กระจาย มีการรุกรานเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเคียงและแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะนอกปอด มะเร็งปอดส่วนใหญ่เป็นมะเร็งชนิดเยื่อบุ เจริญมาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายของผู้เสียชีวิต 1.3 ล้านรายทั่วโลกใน ค.ศ. 2004 และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากมะเร็งมากที่สุดทั้งในชายและหญิง อาการที่พบบ่อยที่สุดคืออาการเหนื่อย ไอ รวมถึงไอเป็นเลือด และน้ำหนักลด

มะเร็งปอดแบ่งชนิดหลักๆ ออกเป็นมะเร็งปอดชนิดสมอลล์เซลล์และชนิดไม่ใช่สมอลล์เซลล์ การจำแนกด้วยวิธีการนี้เนื่องจากวิธีการรักษาต่างกัน มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่สมอลล์เซลล์ (NSCLC) บางครั้งรักษาด้วยการผ่าตัด ในขณะที่มะเร็งปอดชนิดสมอลล์เซลล์ (SCLC) ส่วนใหญ่ตอบสนองดีต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัดและรังสีรักษา สาเหตุส่วนใหญ่ของมะเร็งปอดคือการสูบบุหรี่เป็นเวลานาน ส่วนมะเร็งปอดในผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ซึ่งนับเป็นผู้ป่วย 15% นั้นส่วนใหญ่เกิดจากหลายปัจจัย ประกอบด้วยปัจจัยทางพันธุกรรม ก๊าซเรดอน แร่ใยหิน และมลพิษทางอากาศ รวมถึงการสูบบุหรี่มือสองด้วย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไอ (รวมทั้งไอเป็นเลือด) , น้ำหนักลด และหายใจลำบาก อาจตรวจพบได้จากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกและการทำซีทีสแกน การยืนยันการวินิจฉัยทำโดยการตัดชิ้นเนื้อออกตรวจ ส่วนใหญ่ทำโดยส่องกล้องหลอดลมเพื่อเก็บชิ้นเนื้อหรือการเจาะชิ้นเนื้อโดยใช้ผลตรวจซีทีช่วยนำทาง การรักษาและพยากรณ์โรคขึ้นกับชนิดของเนื้อเยื่อมะเร็ง ระยะของโรค และระดับความสามารถของผู้ป่วย วิธีการรักษาที่อาจเป็นได้ได้แก่การผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษา อัตราการรอดชีวิตนั้นแตกต่างกันออกไปขึ้นกับระยะ สุขภาพโดยรวม และปัจจัยอื่นๆ ทั้งนี้อัตราการรอดชีวิตที่ห้าปีของผู้ป่วยมะเร็งปอดโดยรวมๆ อยู่ที่ 14%

มะเร็งปอดในผู้ไม่สูบบุหรี่[9]

(1) ฝุ่น PM 2.5 สำนักงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) ระบุว่า มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 เป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อฝุ่นดังกล่าวเข้าสู่ปอดแล้ว จะเกิดการอักเสบมีการกลายพันธุ์ของ DNA และ RNA [10] โดย PM 2.5 เป็นเหตุสำคัญของมะเร็งปอดชนิดที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR ซึ่งพบกว่า 50% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดชาวไทย โดยเฉพาะคนที่ไม่สูบบุหรี่[11]

(2) ควันท่อไอเสียรถยนต์

(3) ควัน และสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม และการก่อสร้าง

(4) ควันธูป

(5) ควันจากการเผา

(6) ควันบุหรี่ของคนใกล้ตัว (บุหรี่มือสอง)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Horn L, Lovly CM (2018). "Chapter 74: Neoplasms of the lung". ใน Jameson JL, Fauci AS, Kasper DL, Hauser SL, Longo DL, Loscalzo J (บ.ก.). Harrison's Principles of Internal Medicine (20th ed.). McGraw-Hill. ISBN 978-1259644030.
  2. "Surveillance, Epidemiology and End Results Program". National Cancer Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 5 March 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 Lu C, Onn A, Vaporciyan AA, และคณะ (2017). "Chapter 84: Cancer of the Lung". Holland-Frei Cancer Medicine (9th ed.). Wiley Blackwell. ISBN 9781119000846.
  4. Alberg AJ, Brock MV, Samet JM (2016). "Chapter 52: Epidemiology of lung cancer". Murray & Nadel's Textbook of Respiratory Medicine (6th ed.). Saunders Elsevier. ISBN 978-1-4557-3383-5.
  5. Ramada Rodilla JM, Calvo Cerrada B, Serra Pujadas C, Delclos GL, Benavides FG (June 2021). "Fiber burden and asbestos-related diseases: an umbrella review". Gaceta Sanitaria. 36 (2): 173–183. doi:10.1016/j.gaceta.2021.04.001. PMC 8882348. PMID 34120777.{{cite journal}}: CS1 maint: PMC embargo expired (ลิงก์)
  6. "Lung Carcinoma: Tumors of the Lungs". Merck Manual Professional Edition, Online edition. July 2020. สืบค้นเมื่อ 21 July 2021.
  7. 7.0 7.1 Sung H, Ferlay J, Siegel RL, Laversanne M, Soerjomataram I, Jemal A, Bray F (May 2021). "Global Cancer Statistics 2020: GLOBOCAN Estimates of Incidence and Mortality Worldwide for 36 Cancers in 185 Countries". CA: A Cancer Journal for Clinicians. 71 (3): 209–249. doi:10.3322/caac.21660. PMID 33538338.
  8. Vos T, Allen C, Arora M, Barber RM, Bhutta ZA, Brown A, และคณะ (GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence Collaborators) (October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
  9. ไทยรัฐ. 2566. "6 สาเหตุของโรคมะเร็งปอด ที่คนไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้". 14 ธันวาคม 2566 เวลา 16:03 น. (Online). https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2747667อ้างถึง โรงพยาบาลศิริราช (ม.ป.ป.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ม.ป.ป.)
  10. "ยังไม่ต้องสูบบุหรี่แค่สูด "ฝุ่น PM 2.5" ก็เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอด 100%". PPTVHD36.
  11. ไทยโพสต์. (2566). 'หมอชูชัย' ยกเหตุสูญเสีย 'หมอกฤตไท' จี้รัฐบาลนำร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด เข้าสภา. 8 ธันวาคม 2566 เวลา 7:47 น. (Online). https://www.thaipost.net/human-life-news/497814/

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก