ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปัญจะ เกสรทอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
| death_place =
| death_place =
| party = [[พรรคชาติไทย|ชาติไทย]]
| party = [[พรรคชาติไทย|ชาติไทย]]
| spouse =
| spouse = กอบแก้ว เกสรทอง
| religion = [[พุทธ]]
| religion = [[พุทธ]]
| signature =
| signature =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:21, 14 พฤษภาคม 2558

นายปัญจะ เกสรทอง
ไฟล์:Panja.jpg
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2534
ก่อนหน้านายชวน หลีกภัย
ถัดไปนายอุกฤษ มงคลนาวิน
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 9 เมษายน พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542
นายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย
ก่อนหน้านายชุมพล ศิลปอาชา
ถัดไปนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 สิงหาคม พ.ศ. 2474 (92 ปี)
จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย
คู่สมรสกอบแก้ว เกสรทอง

นายปัญจะ เกสรทอง อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบูรณ์

ประวัติ

นายปัญจะ เกสรทอง เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2474 ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นบุตรของนายแป้น กับนางแตงโม เกสรทอง[1] จบระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนสตรีวิทยานุกูล อำเภอเมือง จบระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนเพชรพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปศาสตร์ จากสถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์ และดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน

นายปัญจะ เกสรทอง เคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบูรณ์ เคยดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างปี พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2534 ต่อมาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย (ครม.50) และตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (ครม.53) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ต่อมาในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกตำแหน่งหนึ่ง แทนนายชุมพล ศิลปอาชา ที่ลาออกจากตำแหน่ง[2]

นายปัญจะ เกสรทอง ได้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันจัดตั้งวิทยาลัยพลศึกษาเพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2514

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง