โรงเรียนวัดแหลมฉบัง

พิกัด: 13°04′55″N 100°52′44″E / 13.0820661°N 100.8788252°E / 13.0820661; 100.8788252
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนวัดแหลมฉบัง
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ละติน: WAT LAEMCHABANG SCHOOL
Wat Laemchabang School
ตราประจำโรงเรียนวัดแหลมฉบัง (แหลมฉบังเก่า) จ.ชลบุรี
ตราประจำโรงเรียนวัดแหลมฉบัง (แหลมฉบังเก่า) จ.ชลบุรี
ที่ตั้ง
หมู่ที่ 3 บ้านแหลมฉบัง ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไทย 20230 ไทย
โทรศัพท์ 0-3849-4702
โทรสาร 0-3849-4702
พิกัด13°04′55″N 100°52′44″E / 13.0820661°N 100.8788252°E / 13.0820661; 100.8788252
ข้อมูล
ชื่ออื่นชื่อย่า
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
สถาปนา1 พฤษภาคม พ.ศ. 2472
ผู้ก่อตั้งชาวบ้านแหลมฉบัง และท่านเจ้าอาวาสวัดแหลมฉบัง
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขึ้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)
รหัส-
ผู้อำนวยการไทยนายวีรภัทร สงวนทรัพย์
ระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาตอนต้น
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ห้องเรียน11 ห้องเรียน
พื้นที่- ไร่ - งาน - ตารางวา
สีสีประจำโรงเรียน
เพลงเพลงโรงเรียน
เว็บไซต์http://data.bopp-obec.info/web/index.php?School_ID=1020080205

โรงเรียนวัดแหลมฉบัง - Wat Laemchabang School หมู่ที่ 3 บ้านแหลมฉบัง ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนวัดแหลมฉบัง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2472 โดยความร่วมมือระหว่างชาวบ้านและท่านเจ้าอาวาส พระอธิการลำดวน สุโข วัดแหลมฉบัง (เก่า) ในขณะนั้นโดยสร้างเป็นอาคารเรียนชั่วคราวในบริเวณวัด เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ได้รับจัดสรรงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี สร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ข.ใต้ถุนสูง จำนวน 4 ห้องเรียน และปี พ.ศ. 2510 ทางโรงเรียนได้รับจัดสรรอาคารเรียน แบบ 064 จำนวน 5 ห้องเรียน เนื่องจากโรงเรียนเปิดการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 (การศึกษาภาคบังคับ)

ในปี พ.ศ. 2535 ทางราชการได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดินบริเวณวัด โรงเรียน และหมู่บ้านแหลมฉบัง) เพื่อทำท่าเรือพาณิชย์ (ท่าเรือแหลมฉบัง สังกัด การท่าเรือแห่งประเทศไทย) พร้อมชดเชยงบประมาณค่าทดแทนค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างอาคารเรียนในที่แห่งใหม่ เป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น แบบ 2/2528 จำนวน 18 ห้องเรียน (ในเขตวัดแหลมฉบัง"แหลมฉบังใหม่") แต่ชาวบ้านแหลมฉบังไม่ยอมย้ายบุตรหลานไปเรียนในที่แห่งใหม่ และขอต่อรองกับทางราชการ เพื่อจะอยู่ในพื้นที่และที่ดินทำกินเดิมไปก่อน จนกว่าทางราชการจะใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวจริงทำให้โรงเรียนวัดแหลมฉบังเดิมต้องเปิดทำการเรียนการสอนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลโรงเรียน[แก้]

ข้อมูลอาคาร[แก้]

  • อาคารเรียน 004
  • อาคารเรียน ป.1ข

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°04′55″N 100°52′44″E / 13.0820661°N 100.8788252°E / 13.0820661; 100.8788252{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้