โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี | |
---|---|
"สุวิชาโน ภวํ โหติ"
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ | |
เลขที่ 8 หมู่ 3 ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 ![]() โทรศัพท์ 038-119649 โทรสาร 038-119649 | |
พิกัด | 13°01′07″N 101°04′48″E / 13.0185883°N 101.0800452°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออังกฤษ | Suankularb Wittayalai Chon Buri School |
อักษรย่อ | ส.ก.ช. - S.K.C |
ประเภท | มัธยมศึกษา |
สังกัด | กระทรวงศึกษาธิการ |
สถาปนา | 5 มีนาคม พ.ศ. 2542 |
ผู้ก่อตั้ง | คุณวิกรม กรมดิษฐ์ |
ผู้อำนวยการ | ![]() |
ขนาดของชั้นเรียนเฉลี่ย | ม.1 - ม.6 |
ภาษา | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน |
ห้องเรียน | - ห้องเรียน - อาคารเรียน |
เนื้อที่ | 25 ไร่ - งาน - ตารางวา |
สี | ██████ ชมพู - ฟ้า |
เพลง | มาร์ชสวนกุหลาบวิทยาลัย |
เว็บไซต์ | www.suanchon.ac.th |
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี (ส.ก.ช.) (อังกฤษ: Suankularb Wittayalai Chon Buri School) S.K.C. ตั้งอยู่ที่เลขที่ 8 หมู่ 3 ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในกลุ่มโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยลำดับที่ 6 ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี (สวนชล) เป็นหนึ่งในสถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้ง 11 สวน โดยบริหารจัดการภายใต้ธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ ทั้งยังมีกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือ - เนตรนารี สวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ
เนื้อหา
ประวัติโรงเรียน[แก้]
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยคุณวิกรม กรมดิษฐ์ เป็นผู้บริจาคพื้นที่ 25 ไร่ และเริ่มวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542 โดยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้มอบหมายนายพูนทรัพย์ วัฒนไชย มาบริหารงานและต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรก ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
- ปีการศึกษา 2545 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ สร้างอาคารเรียนชั่วคราวมอบให้โรงเรียน 1 หลังให้ชื่ออาคารว่า อาคารจุลานนท์ 1 พร้อมสร้างสนามบาสเกตบอล 1 แห่ง
- ปีการศึกษา พ.ศ. 2546 สร้างอาคารเรียนชั่วคราวให้อีก 1 หลัง อาคารจุลานนท์2 สนามบาสเกตบอล 1 สนาม เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2547 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโรงเรียนมัธยม ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18
- ปีการศึกษา พ.ศ. 2547 พณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สร้างอาคารเรียนให้ชั่วคราวมอบให้โรงเรียน 1 หลัง ให้ชื่อว่า อาคารศึกษา พัฒนามูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
- ปีการศึกษา พ.ศ. 2554 วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554 นายวิทยา อรุณแสงฉาน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนที่ 2 ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
- ปีการศึกษา พ.ศ. 2557 วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 นายโกศล ดาราพิสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนที่ 3 ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
- ปีการศึกษา พ.ศ. 2559 วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559 นายวันชัย ทันสมัย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนที่ 4 ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
ผู้อำนวยการโรงเรียน[แก้]
ลำดับ | ภาพ | ชื่อ - นามสกุล | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
1 | - | นายพูนทรัพย์ วัฒนไชย (ผู้อำนวยการ) |
5 มีนาคม พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2553 | ผู้อำนวยการคนแรก | |
2 | - | นายวิทยา อรุณแสงฉาน (ผู้อำนวยการ) |
20 มกราคม พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2557 | - | |
3 | - | นายโกศล ดาราพิสุทธิ์ (ผู้อำนวยการ) |
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 | พ.ศ. 2559 | - | |
4 | - | นายวันชัย ทันสมัย (ผู้อำนวยการ) |
27 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | ปัจจุบัน | - |
ศูนย์รวมใจ[แก้]
- หลวงพ่อสวนกุหลาบ หลวงพ่อสวนกุหลาบพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานแก่โรงเรียนสวนกุหลาบ เพื่อเป็นศูนย์ดวงใจของชาวสวนกุหลาบทุกคนได้กราบไหว้ทุกเช้า-เย็น หรือเวลาผ่านเข้าออก
การพัฒนาโรงเรียน[แก้]
ปีการศึกษา 2542 เป็นการเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากที่โรงเรียนอื่นๆเปิดไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ มีจำนวนนัก เรียนทั้งหมด22คน โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนทุกอย่างเหมือน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และในปีแรกโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยส่งครูมาช่วยสอน3 วิชา และทางอมตะจ้างครูมาช่วยสอน สภาพโดยทั่วไปของโรงเรียน แห้งแล้ง เป็นป่าหญ้าคา ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา รวมถึงงบประมาณต่างๆก็ไม่มี ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากชุมชนบริเวณนี้ คอยอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ ปีการศึกษา 2543 เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 100 คน ปีการศึกษานี้ได้รับ ครูอัตราจ้างมาจำนวน 4 คน ส่วนอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งหมดจึงได้รับความอนุเคราะห์จากทางอมตะ และทางโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยรวมถึงชุมชนในบริเวณนี้ ทางอมตะและโรงงานช่วยสร้างโรงอาหารให้ 1 หลังปีการศึกษา 2544 เปิดรับนักเรียนชั้น ม. 1 จำนวน 160 คน ในปีการศึกษานี้ ได้ครูอัตราจ้างเพิ่มขึ้นอีก 8 อัตรา และทางโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ส่งครู มาช่วยสอน อีก 2 ท่าน และได้รับความร่วมมือจากท่านผู้ปกครองและชุมชนในการจัดทำห้องคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน ปีการศึกษา 2545 เปิดรับมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 4 ห้องเรียน และเป็นปีแรกที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สายการเรียน คือ วิทย์-คณิต และสายศิลป์ – ภาษา ในปีการศึกษาได้มีอาคารชั่วคราวเพิ่มขึ้น อีก 1 หลัง จำนวน 6 ห้องเรียนอาคารห้องสมุด และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ 1 หลัง และห้องน้ำหญิง จำนวน 6 ห้องโดยท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ บริจาคพร้อมโต๊ะ เก้าอี้ จากคุณสุรพล เตชะหรูวิจิตร ปีการศึกษา 2546 ท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มอบให้พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ พลโทเฉลียว อักษรดี พลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงษ์ สร้างอาคารเรียน 4 ห้อง พร้อมสนามบาสเกตบอล 1 สนาม ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้น ม.5 จำนวน 2 แผนการเรียน คือ วิทย์ – คณิต และศิลป์ – ภาษา ม.4 จำนวน 3 แผนการเรียน คือวิทย์ – คณิต และศิลป์ – ภาษา และอังกฤษ- สังคม รับนักเรียนชั้น ม. 1 จำนวน 3 ห้องเรียน สร้างห้องดนตรีไทย 1 ห้อง และสนามวอลเลย์ 2 สนาม ในปีการศึกษา นี้มีครูจำนวน 24 คน และนักเรียนจำนวน 564 คน ปีการศึกษา 2547 นายแพทย์ประสพ รัตนกร ได้มอบหมายให้ พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ประสานงานกับ พลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงษ์และนายพูนทรัพย์ วัฒนไชย ผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี เรื่องพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษได้ให้ความอนุเคราะห์บริจาคเงินจำนวน 1,000,000 บาทเพื่อสร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง 5 ห้องเรียน และนายแพทย์ประสพ รัตนกร ได้ให้ชื่ออาคารเรียนนี้ว่า “อาคารศึกษาพัฒนามูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” ต่อมาคณะผู้ปกครองนักเรียน ได้ให้ความอนุเคราะห์ร่วมจัดสร้างอาคารอเนกประสงค์ 1 เพื่ออำนวยความสะดวกทำกิจกรรมในร่มของนักเรียน พร้อมกันนี้ ได้จัดสร้างอ่างล้างหน้าจำนวน 24 อ่าง ให้กับนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี อีกด้วย ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับความอนุเคราะห์จาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยการประสานงานของผู้อำนวยการสมหมาย วัฒนคีรี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กับนายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเรื่องการสร้างอาคารอเนกประสงค์หลังเก่า ซึ่งโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้งบประมาณในการสร้างอาคารใหม่ จึงรื้ออาคารหลังเก่า แต่ด้วยความห่วงใย ที่ทราบว่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ยังไม่มีอาคารอเนกประสงค์เพียงพอที่จะรองรับการทำกิจกรรมให้กับนักเรียน จึงได้ขออาคารนี้ กับผู้รับเหมาให้กับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ซึ่งก่อนหน้านี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ขายให้กับผู้รับเหมาไปแล้วทั้งนี้ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้รับความอนุเคราะห์เรื่องการขนย้าย โครงการอเนกประสงค์และอิฐตัวหนอน จากพลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์กับพลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงศ์ ด้วยการนำทหารมาช่วยเหลือ ทำให้ภารกิจนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับงบในการสร้างอาคารเรียนถาวรจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 5,900,000 บาท ( ห้าล้านเก้าแสนบาทถ้วน)ในการสร้างอาคารเรียนถาวร 4 ชั้น 12 ห้องเรียน
สถาบันสวนกุหลาบ[แก้]
ปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีสถานศึกษาในเครือที่ใช้ชื่อ “สวนกุหลาบวิทยาลัย” ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยทั้งหมด 11 แห่ง มีการสร้างพันธกิจสำคัญร่วมกันขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ สร้างบรรทัดฐานการเรียนการสอนทั้ง 11 สวนไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°01′07″N 0°00′00″E / 13.0185883°N 0°E
|