ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน"

พิกัด: 13°44′50″N 100°31′31″E / 13.747180°N 100.525384°E / 13.747180; 100.525384
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
บรรทัด 74: บรรทัด 74:


<br />
<br />
== '''ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์''' ==
ชมรมอาสาพัฒนาฯ วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ได้ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณกลางปีการศึกษา 2516 โดยมีนักศึกษาช่างยนต์ชั้นปีที่ 2 กลุ่มหนึ่งซึ่งประกอบด้วยห้อง 1, 2, 3 รอบเช้า และห้อง 13, 14 รอบบ่าย รวมประมาณ 20-30 คน ได้อาสาออกไปช่วยครูซ่อมแซมบ้านในระหว่างปิดภาคเรียนเทอมกลาง ทำงานอยู่ประมา
4-5 วัน โดยมีหัวหน้ากลุ่มนักศึกษาอยู่หลายคน เช่น นายชัยพร พรพนมเวศน์, นายสุรชัย เลี้ยงหทัยธรรม, นายชำนิ อู่ข้าวอู่น้ำ, นายสมบูรณ์ แซ่โค้ว, นายณรงค์ ศรีมาลา, นายพิชัย แซ่ตั้ง, นายประวิช อัชฌาสุทธิคุณ เป็นต้น
ซึ่งหัวหน้ากลุ่มเหล่านี้ได้นัดแนะกับเพื่อน ๆ ที่มีใจอาสาสมัคร ทำงานพัฒนาชิ้นแรก คือหมู่บ้านอาคารสงเคราะห์ทหารเรือ วัดครุฑ ตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบ้านช่างหล่อ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ อาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล อยู่ โดยได้ช่วยกันปรับพื้นถนนเก่าให้เป็นพื้นแผ่นคอนกรีต ขนาด 24"x24"x2" ปูเป็นแผ่นคู่ยาวประมาณ 350 เมตร พร้อมทั้งขุดลอกคลองระบายน้ำ ทำงานกันแม้ฝนจะตกแดดจะออก จนได้รับคำชมเชยจากบรรดานายทหารเรือเจ้าของอาคารเหล่านั้น ทำให้นายทหารผู้หนึ่งได้กล่าวว่า "ถ้านักเรียนส่วนใหญ่ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมเช่นนี้ บ้านเมืองก็จะเจริญไปนานแล้ว เพราะเด็กในวัยนี้กำลังอยากจะสร้างสรรและอยากเด่นถ้าแนะนำได้ถูกทาง"
จากคำพูดประโยคนี้ ทำให้อาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล และนักศึกษามีความรู้สึกและปรารถนาที่จะเห็นวิทยาลัยของเรามีชมรมอาสาพัฒนาขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มใจ จากนักศึกษาชุดนั้น
ดังนั้น อาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล จึงได้นำเรื่องการขอจัดตั้งชมรมอาสาพัฒนา เข้าไปเสนอ'''อาจารย์อรรณพ ประชัยณรงค์''' (ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างกลปทุมวันในขณะนั้น) ซึ่งได้รับการสนับสนุนและยินดีที่จะช่วยหาเงินเป็นทุนสำหรับชมรม และแล้วชมรมอาสาพัฒนาวิทยาลัยช่างกลปทุมวันก็ได้กำเนิดขึ้นและเริ่มเปิดรับสมาชิกเฉพาะชั้นปีที่ 2 และ 3 ทุกแผนกช่าง พร้อมกับได้ฟอร์มงานเลือกคณะกรรมการบริหารชมรม โดยมีนายชัยพร พรพนมเวศน์ เป็นประธานชมรม
จนกระทั่งเปิดภาคเรียนการศึกษาใหม่ ปี 2517 พี่ชายของอาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล ได้จดหมายบอกมาว่าขอให้ไปช่วยกันพัฒนาที่จังหวัดชัยภูมิ เมื่อกรรมการชมรมได้ไปทำการสำรวจและลงมติเห็นควรที่จะไปทำการพัฒนาโรงเรียนบ้านโสตลับ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ เมื่อติดต่อประสานงานกับทางจังหวัดชัยภูมิแล้ว ท่านผู้อำนวยการได้แต่งตั้งอาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล และอาจารย์กวี รัตนานุภาพ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม
หลังจากงานค่ายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 ด้วยเงินทุกโครงการประมาณหนึ่งหมื่นห้าพันบาท งานค่ายของชมรมอาสาพัฒนา วิทยาลัยช่างกลปทุมวันก็ได้กระทำอย่างต่อเนื่องมาทุกปี จนกระทั่งในปีการศึกษา 2523 ชมรมอาสาพัฒนาวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน โดยมีอาจารย์อาทร จันทวิมล เป็นผู้อำนวยการ
ได้ทำโครงการค่ายอาสาพัฒนาร่วมกับทางกองบัญชาการตำรวจตระเวณชายแดน
และ

'''ได้รับพระราชทานนามชื่อโรงเรียนที่สร้างจากองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีว่า
"โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์"'''
เป็นต้นมา

โดยกองบัญชาการตำรวจตระเวณชายแดนได้ให้ความสนับสนุนในเรื่องรถยนต์ที่ใช้ติดต่อประสานงานและการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานค่ายในปี2530ได้ออกค่ายเพื่อสร้างโรงเรียนช่างกลปทุมวันอนุสรณ์8ที่ตำบลนาดอน,จังหวัดนครพนม(http://www.scout23.net/index.php/8)
จวบจนปี พ.ศ. 2544 ชมรมอาสาพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีช่างกลปทุมวันได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) โดยได้ดำเนินการออกค่าย ณ จ.อุบลราชธานี ด้วยเงินทุนทีใช้ในโครงการประมาณ 1,200,000 บาท แต่งานค่ายอาสาพัฒนาในปัจจุบันยังคงยึดแนวทางอุดมการณ์ของนักอาสาพัฒนารุ่นพี่ ๆ
ไว้แนบแน่นในอันที่จะช่วยเหลือพัฒนาการศึกษาของเยาวชนและสังคมไทยในถิ่นทุรกันดารให้มีความเจริญสืบต่อไป

.......ปัจจุบันทางชมรมอาสาฯช่างกลปทุมวันได้เปลี่ยนโครงสร้างอาคารเรียนเป็นโครงเหล็ก เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้เอาไว้ ที่ผ่านมาชาวอาสาฯได้ไปสร้างโรงเรียนที่ จ.ประจวบคิรีขันต์ เป็นโรงเรียนช่างกลปทุมวันอนุสรน์ที่ ๑๙

==โครงการจัดตั้งวิทยาเขตพิจิตร==
==โครงการจัดตั้งวิทยาเขตพิจิตร==
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา มินยง อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถาบันฯ ได้วางแนวทางการขยายพื้นที่การศึกษา สู่ภูมิภาคต่างๆ ภายในประเทศ จึงได้ทำความร่วมมือกับจังหวัดพิจิตรที่มีความสนใจที่จะจัดการศึกษาของจังหวัดไปสู่ระดับอุดมศึกษาเช่นกัน โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสาขาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของในพื้นที่ สำหรับโครงการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน วิทยาเขตพิจิตร ต้องใช้ระยะเวลา 4-5 ปีในการจัดตั้งบนเนื้อที่กว่า 600ไร่ พร้อมด้วยงบประมาณกว่า 900 ล้าน คาดน่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2559 เพื่อรองรับการเปิดการค้าเสรี AEC ในปี 2558 เริ่มต้นรับนักศึกษารุ่นแรก 650-700 คน ในปีการศึกษา 2559เน้นสร้างบัณฑิตคุณภาพ มีความรู้คู่กับนักปฏิบัติ เพื่อป้อนตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา มินยง อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถาบันฯ ได้วางแนวทางการขยายพื้นที่การศึกษา สู่ภูมิภาคต่างๆ ภายในประเทศ จึงได้ทำความร่วมมือกับจังหวัดพิจิตรที่มีความสนใจที่จะจัดการศึกษาของจังหวัดไปสู่ระดับอุดมศึกษาเช่นกัน โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสาขาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของในพื้นที่ สำหรับโครงการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน วิทยาเขตพิจิตร ต้องใช้ระยะเวลา 4-5 ปีในการจัดตั้งบนเนื้อที่กว่า 600ไร่ พร้อมด้วยงบประมาณกว่า 900 ล้าน คาดน่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2559 เพื่อรองรับการเปิดการค้าเสรี AEC ในปี 2558 เริ่มต้นรับนักศึกษารุ่นแรก 650-700 คน ในปีการศึกษา 2559เน้นสร้างบัณฑิตคุณภาพ มีความรู้คู่กับนักปฏิบัติ เพื่อป้อนตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:56, 11 ธันวาคม 2561

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
ไฟล์:PITLOGO.png
ชื่อย่อสทป. / PIT
คติพจน์รักเรียน เพียรงาน สร้างสรรค์สังคม
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา1 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (91 ปี)
นายกสภาฯว่าที่ร้อยตรี จรูญ ชูลาภ
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร.เสถียร ธัญญศรีรัตน์
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร.เสถียร ธัญญศรีรัตน์
ที่ตั้ง
สี████ สีเหลือง สีเลือดหมู
เว็บไซต์www.pit.ac.th

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (อังกฤษ: Pathumwan Institute of Technology; ชื่อย่อ: สปท. - PIT) เป็นสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ยกฐานะขึ้นมาจาก "วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน" เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลัก โดยมุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษาด้านอาชีวศึกษาเข้ามาศึกษาต่อเฉพาะทางในระดับปริญญา

ประวัติ

โรงเรียนช่างกลแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ในนาม "โรงเรียนอาชีพช่างกล" ณ ตึกพระคลังข้างที่ ตรอกกัปตันบุช ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยคณะนายทหารเรือ นำโดย น.อ. พระประกอบกลกิจ ร.น. และพลเรือตรีสงบ จรูญพร ร.น. กับเรือเอกทิพย์ ประสานสุข ร.น. เป็นผู้ช่วยเหลือในการก่อกำเนิดโรงเรียน ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้ปลูกฝังอาชีพช่างให้กับเยาวชนไทย อีกสองปีต่อมาคือในปี พ.ศ. 2477 โรงเรียนอาชีพช่างกลจึงย้ายไปตั้งแทนที่กรมแผนที่ทหารบก ซึ่งได้ย้ายไปจากบริเวณท่าเรือ โรงเรียนราชินีล่าง จนปีต่อมาได้โอนโรงเรียนอาชีพช่างกลมาอยู่ในสังกัดกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พร้อมชื่อโรงเรียนใหม่ว่า โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล ในปี พ.ศ. 2480 ได้มีการดำเนินการเช่าที่ดินตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เดิม มีเนื้อที่ประมาณ 18 ไร่ ได้จัดสร้างอาคารเรียน 1 หลัง โรงฝึกงานอีก 8 หลัง แล้วย้ายโรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกลมาอยู่ที่โรงเรียนใหม่นี้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2482 ตั้งชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "ช่างกลปทุมวัน"

ไฟล์:Institution2.jpeg

ในระหว่างเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ทหารญี่ปุ่นประมาณร้อยนาย ได้เข้ายึดโรงเรียนช่างกลปทุมวัน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2485 เวลา 19.00 น. ปีการศึกษา 2484 ทางโรงเรียนจึงได้อพยพนักเรียนไปอาศัยเรียนที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ จนจบปีการศึกษา 2484 ต่อมาในวันที่ 4 มิถุนายน 2485 ได้ย้ายไปทำการสอนที่เชิงสะพานเฉลิมโลก ประตูน้ำปทุมวัน ซึ่งเป็นโรงเรียนการช่างอินทราชัยในขณะนั้น และในระหว่างเกิดสงครามนั้น โรงเรียนช่างกลปทุมวันได้ส่งนักเรียนแผนกช่างยนต์ปีสุดท้ายจำนวน 32 คนและคุณครูอีกสองท่านไปช่วยงานด้านการซ่อมพาหนะที่แนวหน้ากองทัพสนามภาคพายัพของกระทรวงกลาโหม เมื่อสงครามสงบ กองทัพทหารสหประชาชาติ ได้เข้ายึดโรงเรียนช่างกลปทุมวันคืนจากญี่ปุ่นได้ นักเรียนจึงได้กลับมาเรียนที่ช่างกลปทุมวันดังเดิม

ในปี พ.ศ. 2511 โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ได้อยู่ในการพัฒนาอาชีวศึกษา ตามแผนโครงการเงินกู้เพื่อปรับปรุงโรงงาน เครื่องมือ เครื่องจักร และส่งครูอาจารย์ฝึกงานและดูงานต่างประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน เปิดสอนหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในปี พ.ศ. 2533 เริ่มเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) และ พ.ศ. 2537 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิศวกรรมศาสตร์ (ป.วศ.) สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ในปี พ.ศ. 2540 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ว่า "ปทุมวัน" (ที่ รล. 0003/12644 สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง กทม. 10200 24 กรกฎาคม 2540. เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ว่า "ปทุมวัน")

ต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ได้ยกฐานะเป็นสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. 2541 และเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) เป็นครั้งแรกในปีเดียวกัน


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระราชทานพระราโชวาทแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษา2558-2560

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปยังห้องประชุมสวัสดิวัตน์

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2558-2560 โอกาสนี้

พระราชทานพระราโชวาทความว่า


"ปริญญาที่บัณฑิตได้รับนี้ เป็นสิ่งที่มีความหมายทั้งสำหรับบัณฑิต

สำหรับครอบครัววงศ์ตระกูลของบัณฑิต สำหรับสถาบันการศึกษาแห่งนี้ และสำหรับชาติบ้านเมือง กล่าวคือ

สำหรับบัณฑิตเองนั้น ปริญญาเป็นเครื่องรับรองว่า แต่ละคนมีความรู้ความสามารถตามวิชาที่สำเร็จการศึกษา

อันเป็นผลจากความอุตสาหะพากเพียรในการเล่าเรียนมาโดยตลอด สำหรับครอบครัววงศ์ตระกูลของบัณฑิต

ปริญญาเป็นสิ่งที่ทุกคนจะภาคภูมิใจได้เต็มที่ ว่าสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้มีคุณสมบัติพร้อมที่จะสร้างตัวสร้างฐานะ

สร้างเกียรติยศและความเจริญมั่นคงให้แก่วงศ์ตระกูล สำหรับสถาบันการศึกษา ตลอดถึงครูบาอาจารย์ ปริญญาที่ประสาทแก่บัณฑิต

เป็นเครื่องหมายแห่งความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน สำหรับชาติบ้านเมือง

ปริญญาเป็นเครื่องแสดงว่าบ้านเมืองมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ สามารถเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์ความรุ่งเรืองก้าวหน้า

และความผาสุกมั่นคงได้สืบไป จึงขอให้บัณฑิตทุกคน สำนึกตระหนักถึงความหมายของปริญญา

แล้วตั้งใจและประพฤติตนปฏิบัติงานให้สมคุณค่าของความหมายนั้น"


ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์

ชมรมอาสาพัฒนาฯ วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ได้ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณกลางปีการศึกษา 2516 โดยมีนักศึกษาช่างยนต์ชั้นปีที่ 2 กลุ่มหนึ่งซึ่งประกอบด้วยห้อง 1, 2, 3 รอบเช้า และห้อง 13, 14 รอบบ่าย รวมประมาณ 20-30 คน ได้อาสาออกไปช่วยครูซ่อมแซมบ้านในระหว่างปิดภาคเรียนเทอมกลาง ทำงานอยู่ประมา 4-5 วัน โดยมีหัวหน้ากลุ่มนักศึกษาอยู่หลายคน เช่น นายชัยพร พรพนมเวศน์, นายสุรชัย เลี้ยงหทัยธรรม, นายชำนิ อู่ข้าวอู่น้ำ, นายสมบูรณ์ แซ่โค้ว, นายณรงค์ ศรีมาลา, นายพิชัย แซ่ตั้ง, นายประวิช อัชฌาสุทธิคุณ เป็นต้น ซึ่งหัวหน้ากลุ่มเหล่านี้ได้นัดแนะกับเพื่อน ๆ ที่มีใจอาสาสมัคร ทำงานพัฒนาชิ้นแรก คือหมู่บ้านอาคารสงเคราะห์ทหารเรือ วัดครุฑ ตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบ้านช่างหล่อ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ อาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล อยู่ โดยได้ช่วยกันปรับพื้นถนนเก่าให้เป็นพื้นแผ่นคอนกรีต ขนาด 24"x24"x2" ปูเป็นแผ่นคู่ยาวประมาณ 350 เมตร พร้อมทั้งขุดลอกคลองระบายน้ำ ทำงานกันแม้ฝนจะตกแดดจะออก จนได้รับคำชมเชยจากบรรดานายทหารเรือเจ้าของอาคารเหล่านั้น ทำให้นายทหารผู้หนึ่งได้กล่าวว่า "ถ้านักเรียนส่วนใหญ่ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมเช่นนี้ บ้านเมืองก็จะเจริญไปนานแล้ว เพราะเด็กในวัยนี้กำลังอยากจะสร้างสรรและอยากเด่นถ้าแนะนำได้ถูกทาง"

  จากคำพูดประโยคนี้ ทำให้อาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล และนักศึกษามีความรู้สึกและปรารถนาที่จะเห็นวิทยาลัยของเรามีชมรมอาสาพัฒนาขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มใจ จากนักศึกษาชุดนั้น
  ดังนั้น อาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล จึงได้นำเรื่องการขอจัดตั้งชมรมอาสาพัฒนา เข้าไปเสนออาจารย์อรรณพ ประชัยณรงค์ (ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างกลปทุมวันในขณะนั้น) ซึ่งได้รับการสนับสนุนและยินดีที่จะช่วยหาเงินเป็นทุนสำหรับชมรม และแล้วชมรมอาสาพัฒนาวิทยาลัยช่างกลปทุมวันก็ได้กำเนิดขึ้นและเริ่มเปิดรับสมาชิกเฉพาะชั้นปีที่ 2 และ 3 ทุกแผนกช่าง พร้อมกับได้ฟอร์มงานเลือกคณะกรรมการบริหารชมรม โดยมีนายชัยพร พรพนมเวศน์ เป็นประธานชมรม
      จนกระทั่งเปิดภาคเรียนการศึกษาใหม่ ปี 2517 พี่ชายของอาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล ได้จดหมายบอกมาว่าขอให้ไปช่วยกันพัฒนาที่จังหวัดชัยภูมิ เมื่อกรรมการชมรมได้ไปทำการสำรวจและลงมติเห็นควรที่จะไปทำการพัฒนาโรงเรียนบ้านโสตลับ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ เมื่อติดต่อประสานงานกับทางจังหวัดชัยภูมิแล้ว ท่านผู้อำนวยการได้แต่งตั้งอาจารย์สนาน ศุขวัฒนะกุล และอาจารย์กวี รัตนานุภาพ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม
      หลังจากงานค่ายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 ด้วยเงินทุกโครงการประมาณหนึ่งหมื่นห้าพันบาท งานค่ายของชมรมอาสาพัฒนา วิทยาลัยช่างกลปทุมวันก็ได้กระทำอย่างต่อเนื่องมาทุกปี จนกระทั่งในปีการศึกษา 2523 ชมรมอาสาพัฒนาวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน โดยมีอาจารย์อาทร จันทวิมล เป็นผู้อำนวยการ 

ได้ทำโครงการค่ายอาสาพัฒนาร่วมกับทางกองบัญชาการตำรวจตระเวณชายแดน และ

ได้รับพระราชทานนามชื่อโรงเรียนที่สร้างจากองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์"

เป็นต้นมา 

โดยกองบัญชาการตำรวจตระเวณชายแดนได้ให้ความสนับสนุนในเรื่องรถยนต์ที่ใช้ติดต่อประสานงานและการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานค่ายในปี2530ได้ออกค่ายเพื่อสร้างโรงเรียนช่างกลปทุมวันอนุสรณ์8ที่ตำบลนาดอน,จังหวัดนครพนม(http://www.scout23.net/index.php/8)

     จวบจนปี พ.ศ. 2544 ชมรมอาสาพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีช่างกลปทุมวันได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) โดยได้ดำเนินการออกค่าย ณ  จ.อุบลราชธานี ด้วยเงินทุนทีใช้ในโครงการประมาณ 1,200,000 บาท แต่งานค่ายอาสาพัฒนาในปัจจุบันยังคงยึดแนวทางอุดมการณ์ของนักอาสาพัฒนารุ่นพี่ ๆ 

ไว้แนบแน่นในอันที่จะช่วยเหลือพัฒนาการศึกษาของเยาวชนและสังคมไทยในถิ่นทุรกันดารให้มีความเจริญสืบต่อไป

.......ปัจจุบันทางชมรมอาสาฯช่างกลปทุมวันได้เปลี่ยนโครงสร้างอาคารเรียนเป็นโครงเหล็ก เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้เอาไว้ ที่ผ่านมาชาวอาสาฯได้ไปสร้างโรงเรียนที่ จ.ประจวบคิรีขันต์ เป็นโรงเรียนช่างกลปทุมวันอนุสรน์ที่ ๑๙

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตพิจิตร

รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา มินยง อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถาบันฯ ได้วางแนวทางการขยายพื้นที่การศึกษา สู่ภูมิภาคต่างๆ ภายในประเทศ จึงได้ทำความร่วมมือกับจังหวัดพิจิตรที่มีความสนใจที่จะจัดการศึกษาของจังหวัดไปสู่ระดับอุดมศึกษาเช่นกัน โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสาขาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของในพื้นที่ สำหรับโครงการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน วิทยาเขตพิจิตร ต้องใช้ระยะเวลา 4-5 ปีในการจัดตั้งบนเนื้อที่กว่า 600ไร่ พร้อมด้วยงบประมาณกว่า 900 ล้าน คาดน่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2559 เพื่อรองรับการเปิดการค้าเสรี AEC ในปี 2558 เริ่มต้นรับนักศึกษารุ่นแรก 650-700 คน ในปีการศึกษา 2559เน้นสร้างบัณฑิตคุณภาพ มีความรู้คู่กับนักปฏิบัติ เพื่อป้อนตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง

หน่วยงาน

ได้เริ่มเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต(วศ.ด.) ในปีการศึกษา 2556 โดยเริ่มเปิดสาขาวิชาดังนี้

    • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
    • สาขาวิชาปิโตรเคมีและการจัดการสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง

รายนามผู้บริหาร

ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ

  • นาวาเอก พระประกอบกลกิจ ร.น. (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2478
  • เรือเอก หลวงสุรภัฎพิศิษฐ์ ร.น. (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2478
  • เรือโท สมบุญ กายสุต ร.น. (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2479
  • พลเรือโท พระวิจิตรนาวี (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2479
  • นาวาตรี หลวงกลกิจกำจร ร.น (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2483
  • นาวาตรี หลวงประจักรกิจ ร.น. (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2485
  • นาวาตรี หลวงประพรรดิ์จักรกิจ ร.น. (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2497
  • นายสิทธิผล พลาชีวิน (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2503
  • นายปัญญัติ สูญสิ้นภัย (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2504
  • นายพิชัย อังค์จันทร์เพ็ญ (อาจารย์ใหญ่) พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2508
  • นายอรรณพ ประชัยรณรงค์ (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2522
  • นายอาทร จันทวิมล (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2527
  • นายจรูญ ชูลาภ (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2530
  • นายสงวน บุญปิยทัศน์ (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2538
  • นายเดชา ศิริรัตน์ (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2539
  • นายวิจิตร ติจันทึก (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541
  • นายโชค อ่อนพรม (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543

อธิการบดี

ลำดับ ชื่อ-สกุล วาระ
1. อาจารย์ โชค อ่อนพรม พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543 (รักษาการ)
2. อาจารย์ สงวน บุญปิยทัศน์ พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2545
3. รองศาสตราจารย์ ดร. สุธีร์ อักษรกิตติ์ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ทองงอก 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
5. ดร.อาทร จันทวิมล 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551 (รักษาการ)
6. รองศาสตราจารย์สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551 - 31 มกราคม พ.ศ. 2552
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (รักษาการ)
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิศิษฏ์ ประทุมสุวรรณ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (รักษาการ)
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2553
8. อาจารย์ สมศักดิ์ เบญจาทิกุล พ.ศ. 2553 (รักษาการ)
9. ศาสตราจารย์ ดร.ถวิล พึ่งมา พ.ศ. 2553 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 (รักษาการ)
10. รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา มินยง 1 มีนาคม - 31 พฤษภาคม 2555 (รักษาราชการแทนอธิการบดี)

1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน

11. รองศาสตราจารย์ กฤษฏา ประศาสน์วุฒิ พ.ศ. 2559 (รักษาราชการแทนอธิการบดี)
12. รองศาสตราจารย์ ดร.เสถียร ธัญญศรีรัตน์ พ.ศ. 2560 (รักษาราชการแทนอธิการบดี

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แหล่งข้อมูลอื่น

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

13°44′50″N 100°31′31″E / 13.747180°N 100.525384°E / 13.747180; 100.525384

แม่แบบ:หน่วยงานในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน