สถานีชิดลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชิดลม
E1

Chit Lom
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′38.79″N 100°32′35.15″E / 13.7441083°N 100.5430972°E / 13.7441083; 100.5430972พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′38.79″N 100°32′35.15″E / 13.7441083°N 100.5430972°E / 13.7441083; 100.5430972
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีE1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 24 ปีก่อน (2542-12-05)
ผู้โดยสาร
25643,154,058
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
สยาม
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท เพลินจิต
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีชิดลม (อังกฤษ: Chit Lom station; รหัส: E1) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนเพลินจิตในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ที่ตั้ง[แก้]

สถานีตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของทางแยกชิดลม (จุดบรรจบถนนเพลินจิต ถนนชิดลม และถนนหลังสวน) ใกล้ทางแยกราชประสงค์ ในพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

พื้นที่โดยรอบสถานีชิดลมเป็นย่านการค้าที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ในเส้นทางต่อเนื่องจากย่านการค้าที่สยามสแควร์และทางแยกราชประสงค์ โดยมีทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า (skywalk) กว้าง 7.5 เมตร ยาว 513 เมตร เชื่อมสถานีชิดลมกับทางแยกราชประสงค์, ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และสถานีสยาม โดยบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนประมาณ 260 ล้านบาท เพื่อสร้างทางเชื่อมต่อโครงการเซ็นทรัลเวิลด์กับรถไฟฟ้าทั้ง 2 สถานี[1] เนื่องจากทางเดินนี้ได้เชื่อมต่อสถานีชิดลมกับเกษรพลาซ่า, อาคารมณียา เซ็นเตอร์, อาคารอัมรินทร์ พลาซ่า, เอราวัณ บางกอก, โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ, เซ็นทรัล เวิลด์ และดิออฟฟิศเซส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อรวมกับทางเข้า-ออกจุดอื่นแล้วจึงทำให้สถานีชิดลมมีทางเข้า-ออกมากถึง 9 จุด (ยังไม่รวมทางเดินใต้รางรถไฟฟ้าส่วนที่เชื่อมต่อโครงการเซ็นทรัลเวิลด์กับสถานีสยาม)

แผนผังสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (เพลินจิต)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (สยาม)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-9, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
เซ็นทรัล ชิดลม, มณียา เซ็นเตอร์
เอราวัณ แบงค็อก, เกษรวิลเลจ,
เซ็นทรัลเวิลด์ - ราชประสงค์ สกายวอล์ก
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย, การไฟฟ้านครหลวง

รูปแบบสถานี[แก้]

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา รวมทั้งมีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง โดยที่ชานชาลาที่ 2 (มุ่งหน้าสถานีปลายทางคูคต) จะมีแผงกั้นระดับสายตา เนื่องจากบริเวณดังกล่าวติดกับโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย

ทางเข้า-ออก[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ, สะพานเชื่อมต่ออาคาร และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า ได้แก่

  • 1 โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์
  • 2 อาคารภาณุนี อาคารมณียาเซ็นเตอร์ และโรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ (สะพานเชื่อม), เกษรอมรินทร์, ป้ายรถประจำทางไปแยกราชประสงค์
  • 3 ถนนชิดลม, การไฟฟ้านครหลวง สำนักชิดลม, ป้ายรถประจำทางไปแยกอโศก
  • 4 ถนนหลังสวน, อาคารเพลินจิตทาวเวอร์, โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย, ป้ายรถประจำทางไปสยาม, อาคารเมอร์คิวรี่ ทาวเวอร์ และเมอร์คิวรี่ วิลล์ (สะพานเชื่อม)
  • 5 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ชิดลม, เซ็นทรัล เอ็มบาสซี (สะพานเชื่อม)
  • 6 ราชประสงค์สกายวอล์ก ไปสถานีสยาม
    • เกษรอัมรินทร์ (สะพานเชื่อม-บันไดเลื่อน)
    • โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ ราชประสงค์, ป้ายรถประจำทางไปอโศก (บันไดเลื่อน)
    • โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ และเอราวัณ แบงค็อก (สะพานเชื่อม)
    • เกษรเซ็นเตอร์ (สะพานเชื่อม)
    • โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ
    • บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ราชดำริ (สะพานเชื่อม)
    • เดอะ มาร์เก็ต แบงค็อก (สะพานเชื่อม)
    • แพลทินัม แฟชัน มอลล์ (สะพานเชื่อม)
    • เซ็นทรัลเวิลด์
    • โรงพยาบาลตำรวจ
    • วัดปทุมวนาราม

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 1 ใกล้โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[2]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.31 00.03
E15 สำโรง 00.16
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.41 23.58
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 00.13

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

ถนนพระรามที่ 1 รถขสมก. สาย 2 25 501 508 511 รถเอกชน สาย 40 48

ถนนเพลินจิต[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2 3
(กปด.13)
สำโรง สนามหลวง รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
2 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
25 3
(กปด.33)
รถโดยสารประจำทาง อู่แพรกษาบ่อดิน สนามหลวง รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
25 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
501 2
(กปด.12)
รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี การขนส่งระบบราง สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
501 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน
508 3
(กปด.23)
รถโดยสารประจำทาง อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ สนามหลวง (ท่าราชวรดิฐ) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
511 Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)
511 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถเอกชน[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2 (3-1) Handicapped/disabled access ปากน้ำ เรือข้ามฟาก สะพานพุทธ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
40 (4-39) Handicapped/disabled access BTS เอกมัย รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
48 (3-11) Handicapped/disabled access ม.รามคำแหง 2 วัดโพธิ์
3-53 Handicapped/disabled access ARL หัวหมาก เสาชิงช้า บจก.ไทยสมายล์บัส
3-54 Handicapped/disabled access ตลาดพลู รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

จุดเชื่อมต่ออื่น ๆ[แก้]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน[แก้]

โรงแรม[แก้]

  • โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ กรุงเทพฯ
  • โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ ราชประสงค์
  • โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ
  • โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
  • โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์
  • โรงแรมอโนมา
  • โรงแรม โฮเต็ล มิวส์ แบงค็อก หลังสวน
  • โรงแรมสินธร มิดทาวน์ กรุงเทพฯ, วีนแยทท์ คอลเลคชัน
  • โรงแรมสินธร เคมปินสกี กรุงเทพ
  • โรงแรมคิมป์ตัน มาลัย กรุงเทพฯ
  • โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ
  • โรงแรมม็อกซี แบงค็อก ราชประสงค์
  • โรงแรมแฟร์ฟิลด์ บาย แมริออท แบงค็อก ราชประสงค์
  • โรงแรม เดอะ เบิร์คลีย์ ประตูน้ำ

เหตุการณ์สำคัญในอดีต[แก้]

  • เมื่อครั้งที่ก่อสร้างรถไฟฟ้า โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีได้ประท้วงที่ตั้งสถานีหน้าโรงเรียน เนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เพราะผู้โดยสารบนชั้นชานชาลาจะสามารถมองเห็นภายในโรงเรียนได้อย่างชัดเจน และเหตุผลด้านมลภาวะ ในภายหลังจึงมีการติดตั้งผนังกั้นบริเวณชั้นชานชาลาด้านทิศใต้ และย้ายจุดทางขึ้น-ลงสถานีฝั่งทิศใต้ไปอยู่หน้าศูนย์การค้าเมอร์คิวรีวิลล์ และโรงแรมเรเนซองส์เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยสถานียังคงอยู่หน้าโรงเรียนเช่นเดิม

อ้างอิง[แก้]

  1. "ผู้จัดการออนไลน์ 30 กันยายน 2547". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2007-10-24.
  2. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]