สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
อธิบดีศาลฎีกา | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2455 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2461 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ |
ถัดไป | เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) |
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2435 – 2437 |
ถัดไป | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร |
ประสูติ | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2408 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 (69 ปี) เกาะปีนัง สเตรตส์เซตเทิลเมนต์ |
ภรรยา | หม่อมพระราชทาน หม่อมราชวงศ์เสงี่ยม สวัสดิวัตน์ พระชายา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี ชายา หม่อมเจ้าฉวีวิลัย สวัสดิวัตน์ หม่อม หม่อมลมุล สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา หม่อมหุ่น สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา หม่อมศรี สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา หม่อมสุดใจ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา หม่อมเร่ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา หม่อมลัภ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา หม่อมพงษ์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา |
พระบุตร | 48 พระองค์ |
ราชสกุล | สวัสดิวัตน์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา |
ลายพระอภิไธย |
มหาอำมาตย์เอก พลตรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (22 ธันวาคม พ.ศ. 2408 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ร่วมพระชนนีกับสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระราชบิดาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นพระองค์แรก นอกจากนี้ยังทรงเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาในระหว่าง พ.ศ. 2455-2461 ทรงเป็นต้นราชสกุลสวัสดิวัตน์[1]
พระประวัติ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 60 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 5 ค่ำ ปีฉลูสัปตศก จ.ศ. 1227 ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2408 เมื่อแรกประสูติพระองค์มีพระอิสริยยศที่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานคาถาพระราชทานพระนามเป็นภาษามคธ ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ได้แปลไว้ว่า[2]
"กุมารน้อยของเรานี้ จงมีชื่อว่า สวัสดิโสภณ ขอบุตรของเราผู้เกิดแต่เปี่ยมผู้มารดา จงบรรลุความเจริญฯ ขอบุตรนี้จงมีอายุยืน ไม่มีอุปัทวทุกข มั่งคั่ง มีโภคสมบัติ มีทรัพย์มาก มีความสุข เป็นเสรีภาพ มีอำนาจโดยลำพังตัว ขอพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์นี้ และเทพเจ้าเป็นต้นผู้รักษารัฐมณฑล จงอภิบาลกุมารน้อยของเรานั้น ในกาลทุกเมื่อ ขอบุตรของเรานั้น พึงเป็นผู้มีเดช มีกำลังมาก มีฤทธานุภาพใหญ่ มีปัญญา และปรีชาในประโยชน์อย่างใด พึงรักษาตระกูลให้สำเร็จประโยชน์อย่างนั้น เทอญ "
พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้ายที่ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา โดยมีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดา ได้แก่
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
- สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
- สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
- สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (สา ปุสฺสเทโว) เป็นพระศีลาจารย์ และพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม ศกนั้น จึงทรงย้ายไปประทับ ณ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร[3] แล้วลาผนวชในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2432[4]
พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ทรงเป็นเจ้านายไทยพระองค์แรก ๆ ที่ได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษากฎหมายจากเบลเลียลคอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด แล้วเสด็จกลับมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมพระองค์แรกตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435[5] ทรงปรับปรุงกิจการศาลแบบเก่า ถึงปี พ.ศ. 2437 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปราชการในยุโรป[6]เพื่อถวายอภิบาลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (ร.6) ที่เสด็จไปศึกษา ณ สหราชอาณาจักรและในยุโรป ตลอดจนปฏิบัติราชการทางการทูตในยุโรปนานถึง 4 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2436 - 2440 นับว่ามีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นช่วงระยะเวลาเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2466 ทรงรับตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาพระองค์ที่ 3 ระหว่างวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2455 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2461
ในปี พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณในตำแหน่งนายกสภากรรมการร่างประมวลกฎหมาย และให้ทรงเป็นที่ปรึกษาพิเศษในการร่างพระราชบัญญัติ
เมื่อ พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสวัสดิวัดนวิศิษฎ์[7]
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เมื่อ พ.ศ. 2456[8] และทรงได้รับการโปรดเกล้าให้เลื่อนกรมเป็นกรมพระอีกครั้งในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ สยามมิศรราชมาตุลาธิบดี ศรีพัชรินทรโสรานุชาร์ย มานวธรรมศาสดรวิธาน นิรุกติปรติภานพิทยโกศล โศภนมิตรสุจริตอาร์ชวาศัย ศรีรัตนไตรยสรณาภิรัต ชเนตภูมิปะภัทปิยมานมนุญ สุนทรธรรมย์บพิตร์" ทรงศักดินา 15000[9] เนื่องด้วย พระองค์เป็นพระมาตุลา (น้า) อยู่แต่พระองค์เดียว สมควรจะยกย่องพระอิศริยยศให้ยิ่งขึ้น สนองพระคุณูปการ และความจงรักภักดีซึ่งได้มีมาแต่หนหลัง
ต่อมาในพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2468 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2469) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระเกียรติยศขึ้นเป็น " สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ฯ " เนื่องด้วยทรงมีอุปการคุณต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานเป็นพระมาตุลาธิบดี (น้า) อยู่แต่พระองค์เดียว[10]
สิ้นพระชนม์
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ สิ้นพระชนม์ใน ณ เกาะปีนัง เมื่อเวลา 4 นาฬิกา วันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้น 15 ค่ำ ปีกุน สัปตศก จ.ศ. 1297 ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 พระชันษาได้ 70 ปี หลังจากทรงพระประชวรเนื่องจากตกรถยนต์เมื่อเสด็จเมืองอิโปห์ และ มีอาการ เจ็บพระนาภี และ เส้นพระโลหิตในพระเศียรแตก[11] พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดปาตูลันจัง (วัดปิ่นบังอร) วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2478 เวลา 17:00 น. และ ได้ส่งพระอัฐิกลับกรุงเทพทางรถไฟ เพื่อประดิษฐาน ณ วัดราชาธิวาส เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2478
พระโอรส-ธิดา
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลสวัสดิวัตน์ มีพระชายาและหม่อม รวม 10 ท่าน ได้แก่
- หม่อมลมุล (สกุลเดิม พิศลยบุตร) ธิดาพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) กับ ปราง สมบัติศิริ (ทั้ง 3 เป็นพี่น้องกัน โดยหม่อมลมุลเป็นพี่สาวของหม่อมหุ่นและหม่อมศรีตามลำดับ)
- หม่อมหุ่น (สกุลเดิม พิศลยบุตร) ธิดาพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร)
- หม่อมศรี (สกุลเดิม พิศลยบุตร) ธิดาพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร)[12]
- หม่อมราชวงศ์เสงี่ยม ท.จ. (พ.ศ. 2443) (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์) หม่อมห้ามพระราชทาน ธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศศิสมิต) [13]
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี ป.จ. (พ.ศ. 2472) (พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงอาภาพรรณี คัคณางค์) พระชายา พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร กับหม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา
- หม่อมสุดใจ
- หม่อมเจ้าฉวีวิลัย (ราชสกุลเดิม คัคณางค์) ชายา พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร กับหม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา
- หม่อมเร่ (สกุลเดิม บุนนาค) ธิดาขุนอนุมานพลนิกร (พลอย บุนนาค) กับทรัพย์ (สกุลเดิม สิทธิโรจน์)
- หม่อมลัภ (สกุลเดิม บุนนาค) ธิดาขุนอนุมานพลนิกร (พลอย บุนนาค) กับทรัพย์ (สกุลเดิม สิทธิโรจน์)
- หม่อมพงษ์ (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์) ธิดาร้อยโท สามชัย บุณยรัตพันธุ์
โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 48 องค์ เป็นชาย 22 องค์ และหญิง 26 องค์
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. หม่อมเจ้าพิไชยสิทธิสวัสดิ์ | ที่ 1 ในหม่อมศรี | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2431 | 12 มีนาคม พ.ศ. 2433 | ||
2. หม่อมเจ้าหญิงทัศนีนงลักษณ์ | ที่ 1 ในหม่อมลมุล | 26 มีนาคม พ.ศ. 2432 | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 | ||
3. หม่อมเจ้าหญิงพนัสนิคม (แฝด) | ที่ 2 ในหม่อมศรี | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2434 | ในวันประสูติ | ||
4. หม่อมเจ้าหญิงพนมสารคาม (แฝด) | ที่ 3 ในหม่อมศรี | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2434 | ในวันประสูติ | ||
5. หม่อมเจ้าหญิงพิมพ์พักตร์ภาณี | ที่ 2 ในหม่อมลมุล | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2435 | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2477 | ||
6. หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ | ที่ 3 ในหม่อมลมุล | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2441 | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 | หม่อมเจริญ (เศวตะทัต) หม่อมโฉมฉาย (เสมรบุณย์) | |
7. หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ | หม่อมหุ่น | 5 เมษายน พ.ศ. 2442 | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2531 | หม่อมราชวงศ์หญิงเครือศรี (โศภางค์) | |
8. หม่อมเจ้าหญิงนงลักษณ์ทัศนีย์ | ที่ 4 ในหม่อมลมุล | 5 เมษายน พ.ศ. 2443 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2482 | หม่อมเจ้าลายฉลุทอง ทองใหญ่ | |
9. หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท | ที่ 1 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2443 | 22 เมษายน พ.ศ. 2510 | หม่อมเสมอ (สิงหเสนี) | |
10. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่มีพระนาม) | ที่ 2 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม | 22 กันยายน พ.ศ. 2444 | มิถุนายน พ.ศ. 2445 | ||
11. หม่อมเจ้าเสรีสวัสดิกมล | ที่ 1 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี | 6 กันยายน พ.ศ. 2445 | 7 มีนาคม พ.ศ. 2454 | ||
12. หม่อมเจ้าโสภณภราไดย | ที่ 2 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี | 8 มกราคม พ.ศ. 2446 | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมยุรฉัตร หม่อมแตงนวล (ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) หม่อมประเทือง | |
13. หม่อมเจ้าหญิง (สุด) | ที่ 3 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม | 22 มกราคม พ.ศ. 2446 | กรกฎาคม พ.ศ. 2447 | ||
14. หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี
(พ.ศ. 2468: สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี) |
ที่ 3 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2447 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | |
15. หม่อมเจ้าหญิง (ใหม่) | ที่ 4 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 | 17 มีนาคม พ.ศ. 2448 | ||
16. หม่อมเจ้าสวัสดีประดิษฐ์ | หม่อมสุดใจ | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2519 | หม่อมเจ้าหญิงดวงตา (จักรพันธุ์) หม่อมสอิ้ง หม่อมฉลวย (วิถียุธ) | |
17. หม่อมเจ้าหญิง (แดง) | ที่ 5 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี | 25 เมษายน พ.ศ. 2450 | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 | ||
18. หม่อมเจ้าพีรยศยุคล | ที่ 1 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย | 16 มกราคม พ.ศ. 2450 | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 | หม่อมเอสเตอร์ | |
19. หม่อมเจ้านนทิยาวัด | ที่ 6 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี | 25 เมษายน พ.ศ. 2452 | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | หม่อมเจ้าหญิงสุวภาพเพราพรรณ (วุฒิชัย) | |
20. หม่อมเจ้าหญิงรัสสาทิศ | ที่ 2 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2539 | หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร | |
21. หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ | ที่ 7 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี | 15 มกราคม พ.ศ. 2453 | 26 คุลาคม พ.ศ. 2512 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทรกานตมณี | |
22. หม่อมเจ้าหญิงผุสสดีวิลาส | ที่ 3 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2500 | ||
23. หม่อมเจ้าหญิงศกุนตลา
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) |
ที่ 1 ในหม่อมเร่ | 29 กันยายน พ.ศ. 2454 | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 | ราศี ปัทมะศังข์ | |
24. หม่อมเจ้าหญิงผ่องผัสมณี | ที่ 4 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2455 | 26 มีนาคม พ.ศ. 2526 | หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ | |
25. หม่อมเจ้ากอกษัตริย์ | ที่ 5 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย | 27 มกราคม พ.ศ. 2456 | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 | หม่อมเนลลี่ (วอง) | |
26. หม่อมเจ้า (บุญ) | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 | |||
27. หม่อมเจ้าหญิงอุษารดี | ที่ 2 ในหม่อมเร่ | 12 เมษายน พ.ศ. 2457 | 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 | ||
28. หม่อมเจ้าหญิงผ่องศรีวิลัย
(พระนามเดิม: เหมวิลัย) |
ที่ 6 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย | 23 เมษายน พ.ศ. 2458 | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 | ||
29. หม่อมเจ้าหญิงรอดรมาภัฎ | ที่ 8 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2460 | ||
30. หม่อมเจ้าลอลิไตย | ที่ 7 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย | 16 เมษายน พ.ศ. 2459 | พ.ศ. 2461 | ||
31. หม่อมเจ้าหญิงสุลัภวัลเลง | หม่อมลัภ | 7 กันยายน พ.ศ. 2459 | 17 กันยายน พ.ศ. 2540 | หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ | |
32. หม่อมเจ้าหญิงสุเลสลัลเวง
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) |
ที่ 3 ในหม่อมเร่ | 14 พฤศิกายน พ.ศ. 2459 | 14 เมษายน พ.ศ. 2542 | ประพันธ์ สิริกาญจน | |
33. หม่อมเจ้าหญิง (เล็ก) | มีนาคม พ.ศ. 2459 | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2460 | |||
34. หม่อมเจ้ายุธิษเฐียร | ที่ 9 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี | 9 มีนาคม พ.ศ. 2460 | 24 กันยายน พ.ศ. 2528 | หม่อมราชวงศ์หญิงภัทราตรีทศ (เทวกุล) | |
35. หม่อมเจ้าหญิงสีดาดำรวง | ที่ 8 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2461 | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533 | หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล | |
36. หม่อมเจ้าหญิงอมิตดา
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) |
ที่ 4 ในหม่อมเร่ | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 | 11 กันยายน พ.ศ. 2542 | นายแพทย์สภร ธรรมารักษ์ | |
37. หม่อมเจ้าหญิงมัทรีโสภนา
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) |
ที่ 9 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2462 | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 | ฟื้น ดุลยจินดา | |
38. หม่อมเจ้าณางค์กูลสวัสดิ์ | ที่ 10 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย | 12 มีนาคม พ.ศ. 2463 | 12 กันยายน พ.ศ. 2507 | ||
39. หม่อมเจ้าหญิงมโนหรา | ที่ 5 ในหม่อมเร่ | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2464 | 6 กันยายน พ.ศ. 2526 | ||
40. หม่อมเจ้าหญิงวิสาขานุจฉวี
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) |
ที่ 11 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ณ ประเทศญี่ปุ่น | โบชูกุ อุตากาวา | |
41. หม่อมเจ้าอำนอร์สวัสดิ์ | ที่ 6 ในหม่อมเร่ | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2466 | 7 มีนาคม พ.ศ. 2529 | หม่อมฉลวย (เอกรัตน์) | |
42. หม่อมเจ้าบุญทัดสวัสดี | ที่ 7 ในหม่อมเร่ | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2468 | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 | หม่อมจารุวัลย์ (ศัตรวาหา) | |
43. หม่อมเจ้านรรยราช | ที่ 8 ในหม่อมเร่ | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 | หม่อมแสงทอง (ดิศวนนท์) | |
44. หม่อมเจ้าปุสาณ | ที่ 9 ในหม่อมเร่ | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2472 | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 (94 ปี) | หม่อมนวลศรี (วีรบุตร) | |
45. หม่อมเจ้าพันฑูรย์ | ที่ 1 ในหม่อมพงษ์ | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 | 16 เมษายน พ.ศ. 2545 | ||
46. หม่อมเจ้าภากูล | ที่ 2 ในหม่อมพงษ์ | 1 กันยายน พ.ศ. 2474 | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2499 | หม่อมประชุมสินธุ์ (พันธ์พัฒน์) | |
47. หม่อมเจ้าหญิงเมรี | ที่ 10 ในหม่อมเร่ | 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | ||
48. หม่อมเจ้า (โต) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี |
พระนัดดา
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ มีพระนัดดารวม 69 คน ดังนี้
- หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงสนองศรี สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์หญิง (เล็ก) สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์เพิ่มศรี สวัสดิวัตน์
- หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 6 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์อุฑฑินวิศิษฎ์ สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์หญิงโพยมศรี สุขุม
- หม่อมราชวงศ์หญิงนภาศรี บุรณศิริ
- ท่านผู้หญิงนภกานต์ สุวรรณจินดา
- หม่อมราชวงศ์หญิงวิมลโพยม อนิรุทธเทวา
- หม่อมราชวงศ์หญิงปรียางค์ศรี วัฒนคุณ
- หม่อมเจ้าหญิงนงลักษณ์ทัศนีย์ ทองใหญ่ มีโอรส 3 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ (ไม่มีนาม) ทองใหญ่
- หม่อมราชวงศ์ทองใหญ่ ทองใหญ่
- หม่อมราชวงศ์ทองน้อย ทองใหญ่
- หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ มีธิดา 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงปิ่มสาย อัมระนันทน์
- หม่อมราชวงศ์หญิงสายสวัสดี สวัสดิวัตน์ ทอมสัน
- หม่อมราชวงศ์หญิงสมานสนิท กาญจนะวณิชย์
- หม่อมราชวงศ์หญิงสายสิงห์ ศิริบุตร
- หม่อมเจ้าโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 8 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์พรรธณภณ สวัสดิวัตน์ (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์ฉัตรโสภณ)
- หม่อมราชวงศ์เดชธาร สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์หญิงวรรณโสภา หวังแก้ว
- หม่อมราชวงศ์หญิงปรียาภา เดนท์
- หม่อมราชวงศ์เกียรติโสภณ สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์ลาภโสภณ สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์กุลโสภณ สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์มิตรโสภณ สวัสดิวัตน์
- หม่อมเจ้าสวัสดีประดิษฐ์ สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงปณิตา ฮอลล์
- หม่อมราชวงศ์หญิงนยนา กุญชร
- หม่อมราชวงศ์ประภัสสร สวัสดิวัตน์ (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์ศัสติประดิษฐ์)
- หม่อมราชวงศ์หญิงสุจิตรา เฟลส์
- หม่อมราชวงศ์วิทัศดีประดิษฐ์ สวัสดิวัตน์
- หม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงสุวนันท์ วัลยะเสวี
- หม่อมราชวงศ์หญิงรำพิอาภา เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์วุฒิสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์หญิงสุดานนท์ สินธวานนท์
- หม่อมราชวงศ์หญิงแพรวพรรณี สวัสดิวัตน์
- หม่อมเจ้าหญิงรัสสาทิศ กฤดากร มีโอรส 1 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์สาทิส กฤดากร
- หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงศศิพรรณ สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์หญิงเดือนเด่น กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์
- ศกุนตลา ปัทมะศังข์ มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
- รังสิมันต์ ปัทมะศังข์
- คุณหญิงรังสิมา หวั่งหลี
- เกวลี จำรัสโรมรัน
- หม่อมเจ้ากอกษัตริย์ สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์ฉวี Heng
- หม่อมราชวงศ์หญิงพาณีนาถ Yang
- หม่อมราชวงศ์ภาสมานพ สวัสดิวัตน์
- หม่อมเจ้าหญิงสุลัภวัลเลง วิสุทธิ มีโอรส 3 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์เกษมวิสุทธิ์ วิสุทธิ
- หม่อมราชวงศ์สุทธิสวัสดิ์ วิสุทธิ
- หม่อมราชวงศ์โสรัจจ์ วิสุทธิ
- สุเลสลัลเวง สิริกาญจน มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
- ประภัสสร เศรษฐบุตร
- สิริพันธ์ สิริกาญจน
- ประไพศิริ สิริกาญจน
- หม่อมเจ้าหญิงสีดาดำรวง ชุมพล มีโอรส 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ศักดิสาณ ชุมพล
- หม่อมราชวงศ์พฤทธิสาณ ชุมพล
- อมิตดา ธรรมารักษ์ มีธิดา 1 คน ได้แก่
- ฐานะพร ธรรมารักษ์
- มัทรีโสภนา ดุลยจินดา มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่
- ฉวีพันธุ์ ฮันตระกูล
- เกรียงศักดิ์ ดุลยจินดา
- วิสาขานุจฉวี อุตากาวา มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
- Ann Hunziker
- Jims Utagawa
- Steven Utagawa
- หม่อมเจ้าอำนอร์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์พันธุ์เทพสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์หญิงจิตติพัณณา สวัสดิวัตน์
- หม่อมเจ้าบุญทัดสวัสดี สวัสดิวัตน์ มีธิดา 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงสิริวัลย์ เกษมสันต์
- หม่อมราชวงศ์หญิงวัลย์วาณี สวัสดิวัตน์
- หม่อมเจ้านรรยราช สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ประเดิมสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์หญิงนรรยโสภาคย์ สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์หญิงจุฬาวิลาศ สวัสดิวัตน์
- หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงวไลวัฒนา สวัสดิ์-ชูโต
- หม่อมราชวงศ์สวัสดิวุฒิ สวัสดิวัตน์
- หม่อมเจ้าภากูล สวัสดิวัตน์ มีโอรส 1 คน ได้แก่
พระเกียรติยศ
[แก้]พระอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (22 ธันวาคม พ.ศ. 2408 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2469)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (15 มีนาคม พ.ศ. 2469 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2435 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[15]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[16] (กิตติมศักดิ์พิเศษ)[17]
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[18]
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2437 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[20]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))[20]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[20]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)[21]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[22]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[23]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[24]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]ประเทศ | ปีที่ได้รับ | เครื่องอิสริยาภรณ์ | แพรแถบ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ | พ.ศ. 2440 | เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม | [25] | |
อิตาลี | พ.ศ. 2441 | เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 1 | [26] | |
รัสเซีย | พ.ศ. 2449 | เครื่องราชอิสริยาภรณ์อเล็กซานเดอร์ เนฟสกี้ ชั้นที่ 1 |
พระยศ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกสยาม |
ชั้นยศ | นายพลตรี |
พระยศพลเรือน
[แก้]พระยศทหาร
[แก้]- นายพลตรี[29]
พระอนุสรณ์
[แก้]พระอนุสาวรีย์
[แก้]พระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ บริเวณ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ได้จัดสร้างพระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ในลักษณะประทับยืน บริเวณสระบัววิคตอเรีย ด้านหน้าสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ถนนพระราม1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร อันเป็นวังที่ประทับเดิมของพระองค์ท่าน
วังที่ประทับ
[แก้]วังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
1.วังปทุมวัน หรือ วังนอก รับพระราชทาน จากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระเชษฐภคินีของสมเด็จฯ ตั้งอยู่ริมคลองบางกะปิ (คลองแสนแสบ) เขตปทุมวัน ใกล้กับวังสระปทุม และวังวินด์เซอร์ ปัจจุบัน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ให้เช่า โดยเป็นที่ตั้งของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
2.วังถนนพระอาทิตย์ (เลขที่ 19 ถนนพระอาทิตย์ ) รับพระราชทาน จาก ร. 7 ปัจจุบัน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้เช่า โดยเป็นที่ตั้งของ ยูนิเซฟ และที่ทำการของสำนักงานองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations - FAO)
ราชตระกูล
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ |
พระชนก: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: เจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ | |||
พระชนนี: สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: หลวงอาสาสำแดง (แตง) |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: พระยาจินดารังสรรค์ (แก้วแขก) | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่ทราบ | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ท้าวสุจริตธำรง (นาค) |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: ไม่ทราบ | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่ทราบ |
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 138. 18 เมษายน 2458. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, คาถาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2472
- ↑ "ข่าวพระองค์เจ้า และหม่อมเจ้าทรงผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 6 (15): 124–5. 14 กรกฎาคม 2432. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข่าวลาผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 51 (15): 447. 23 มีนาคม 2432. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศตั้งตำแหน่งเสนาบดี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 (4): 28. 24 เมษายน ร.ศ. 111. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 (31): 236. 28 ตุลาคม ร.ศ. 113. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ในการพระราชทาน พระสุพรรณบัตร, เล่ม 15, ตอน 33, 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441, หน้า 341
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 30, ตอน ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456, หน้า 329
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนา เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 40, ตอน ง, 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466, หน้า 2600
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระอิสริยศเฉลิมพระอภิไธยและเลื่อนกรมพระราชวงศ์, เล่ม 42, ตอน 0 ก, 21 มีนาคม พ.ศ. 2468, หน้า 372
- ↑ สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ และ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาคที่ ๗) พิมพ์ในงานพระราชทานเพิงศพ เสวกโท พระอโศกมนตรี (เรียม เศวตเศรณี) ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔ หน้าที่ ๓๒ - ๓๓
- ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 6 (9): 81. 2 มิถุนายน พ.ศ. 2432.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "หม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม ท.จ. (พ.ศ. 2443) (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2020-09-01.
- ↑ "พระราชพิธี ศรีสัจปานกาล พระราชทานพระไชยวัฒน์ องค์เล็กและเครื่องราชอิสริยาภรณ์และตั้งองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 (26): 201. 25 กันยายน ร.ศ. 111. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1964. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ข่าวในพระราชสำนักนี้ รายพระนามและนามผู้ที่จะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (0 ง): 1829. 17 พฤศจิกายน ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "รายพระนามและนาม สมาชิกสมาชิกา เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า พระราชทานในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ง): 2283. 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-26. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานตรารัตนวราภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 2373. 10 มกราคม พ.ศ. 2457. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน (หน้า ๒๙๓๑)
- ↑ 20.0 20.1 20.2 "ส่งเหรียญดุษฎีมาลาออกไปพระราชทาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 (45): 384. 3 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 113. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 565. 6 พฤศจิกายน ร.ศ. 123. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (35): 1012. 29 พฤศจิกายน ร.ศ. 127. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 2410. 11 มกราคม ร.ศ. 129. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ง): 3120. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, [1]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานรานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๔, ตอน ๘, ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐, หน้า ๙๐
- ↑ "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29: 197. 28 เมษายน 2455. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30: 11. 6 เมษายน 2456. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเลื่อนพระเกียรติยศและเกียรติยศ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๓๗, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
- บรรณานุกรม
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตรื กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตรื กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 77-78. ISBN 978-974-417-594-6
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระองค์แรก | เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม (พ.ศ. 2435 — 2437) |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร | ||
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสิริธัชสังกาศ | ประธานศาลฎีกาไทย (พ.ศ. 2455 — 31 สิงหาคม พ.ศ. 2461) |
พระยาจักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ์ (ลออ ไกรฤกษ์) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2408
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2478
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมพระ
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- ราชสกุลสวัสดิวัตน์
- ประธานศาลฎีกาไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ผ)
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(พ)
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
- สมาชิกกองเสือป่า
- ชาวไทยที่เสียชีวิตในประเทศมาเลเซีย
- ผู้ลี้ภัยชาวไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์