สถานีสยาม
สยาม Siam รถไฟฟ้าบีทีเอส | |
---|---|
![]() สถานีสยาม มุมมองจากชั้น 4 สยามพารากอน | |
ข้อมูลสถานี | |
เส้นทาง | สายสุขุมวิท สายสีลม |
เชื่อมต่อ | รถโดยสารประจำทาง |
รูปแบบสถานี | ยกระดับ |
รูปแบบชานชาลา | เกาะกลาง |
จำนวนชานชาลา | 4 |
ถนน | พระรามที่ 1 |
เขต/อำเภอ | เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
ข้อมูลอื่น | |
เปิดใช้งาน | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 |
เวลาให้บริการ | 06.00 - 24.00 น. |
รหัส | ![]() |
ผู้รับผิดชอบ | บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร |
ผู้ให้บริการ | บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) |
ทางออก | 6 |
บันไดเลื่อน | 12 |
ลิฟต์ | 3 |
ปริมาณการเดินทาง | |
ผู้โดยสาร | 112,600[1] |
ที่ตั้ง | |
แผนที่จากเว็บไซต์รถไฟฟ้าบีทีเอส | |
![]() |
สถานีสยาม (อังกฤษ: Siam Station, รหัส CEN) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าจุดหลักในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางระหว่างสายสุขุมวิทและสายสีลม ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างศูนย์การค้ากลุ่มวันสยาม (สยามดิสคัฟเวอรี, สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอน) กับสยามสแควร์ ยกระดับเหนือถนนพระรามที่ 1 ในพื้นที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง[แก้]
ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 1 ระหว่างทางแยกปทุมวัน (จุดบรรจบถนนพระรามที่ 1 และถนนพญาไท) กับทางแยกเฉลิมเผ่า (จุดบรรจบถนนพระรามที่ 1 และถนนอังรีดูนังต์) หน้าศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน สยามพารากอน และสยามเซ็นเตอร์ ในพื้นที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
แผนผังสถานี[แก้]
U4 ชานชาลา |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า สถานีคูคต |
สายสีลม ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา | ||
ชานชาลา 4 | สายสีลม มุ่งหน้า สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ | |
U3 ชานชาลา |
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ |
สายสีลม ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย | ||
ชานชาลา 3 | สายสีลม มุ่งหน้า สถานีบางหว้า | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-6, ศูนย์บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวบีทีเอส ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า สยามพารากอน, สยามเซ็นเตอร์, สยามสแควร์วัน, เซ็นทรัลเวิลด์ - ราชประสงค์ สกายวอล์ก สายสีส้ม สถานีประตูน้ำ (โครงการในปี พ.ศ. 2567) |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, สยามสแควร์ โรงภาพยนตร์สกาล่า, โรงแรมโนโวเทล, วัดปทุมวนาราม, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงพยาบาลตำรวจ, คณะเภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และ สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
- ข้อสังเกต
- ชานชาลาชั้นบน รถไฟฟ้าจะมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือและตะวันตก
- ชานชาลาชั้นล่าง รถไฟฟ้าจะมุ่งหน้าไปทางทิศใต้และตะวันออก
- ชานชาลาด้านสยามพารากอน จะเป็นทางวิ่งของสายสุขุมวิท
- ชานชาลาด้านสยามสแควร์ จะเป็นทางวิ่งของสายสีลม
เนื่องมาจากระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส มีศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับสถานีหมอชิตซึ่งเชื่อมต่อกับสายสุขุมวิทเท่านั้น ทำให้การให้บริการในสายสีลมจะต้องมีการป้อนขบวนรถเข้าสายสีลมโดยการสับรางก่อนเข้าสถานีสยามในช่วงเวลาก่อนช่วงเวลาเร่งด่วนของวันจันทร์-ศุกร์ ได้แก่ 07.00-08.00 น. และ 15.00-16.00 น. อยู่เสมอ โดยรถไฟฟ้าขบวนที่จะให้บริการในสายสีลม จะใช้ชานชาลาที่ 1 ของสถานีราชเทวี เป็นชานชาลาสุดท้ายในการส่งผู้โดยสารสำหรับสายสุขุมวิท และเมื่อเข้าสู่สถานีสยาม ขบวนรถจะสลับรางเข้าชานชาลาที่ 3 และให้บริการต่อไปในสายสีลมตามปกติ และเช่นกันรถไฟฟ้าที่จะให้บริการในสายสุขุมวิทโดยมาจากสายสีลม จะใช้ชานชาลาที่ 4 ของสถานีราชดำริ เป็นชานชาลาสุดท้ายในการส่งผู้โดยสารสำหรับสายสีลม และเมื่อเข้าสู่สถานีสยาม ขบวนรถจะสลับรางเข้าชานชาลาที่ 4 และให้บริการต่อไปในสายสุขุมวิทตามปกติ ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีเคหะฯ จะต้องลงจากขบวนรถทั้งหมดที่ชานชาลาที่ 3 แล้วรอรถขบวนถัดไปที่ชานชาลาที่ 1 ฝั่งตรงข้าม และผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ จะต้องลงจากขบวนรถทั้งหมดที่ชานชาลาที่ 4 แล้วรอรถขบวนถัดไปที่ชานชาลาที่ 2 ฝั่งตรงข้าม
รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นสถานีแห่งแรกในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่เป็นแบบชานชาลาเกาะกลาง (Central Platform) และมีรถไฟฟ้าวิ่งอยู่ 2 ข้าง (ปัจจุบันในเส้นทางนี้มีอีกสามแห่งคือ สถานีสำโรง สถานีห้าแยกลาดพร้าว และ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ของสายสุขุมวิท) ซึ่งการก่อสร้างยุ่งยากแต่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับการเปลี่ยนขบวนรถระหว่างสายสุขุมวิทและสายสีลม และเนื่องจากต้องรองรับผู้โดยสารมากเป็นพิเศษ จึงมีขนาดใหญ่กว่าขนาดสถานีมาตรฐาน กว้าง 21 เมตร ยาว 192 เมตร
ตัวสถานีมี 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้นจำหน่ายตั๋ว, ชานชาลาชั้นล่างสำหรับขบวนรถมุ่งหน้า สถานีชิดลม และ สถานีราชดำริ และชานชาลาชั้นบนสำหรับขบวนรถมุ่งหน้า สถานีราชเทวี และ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ซึ่งในปัจจุบันชั้นจำหน่ายตั๋วถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ทางออกที่ 3 ไปยังห้าง สยามพารากอน และทางออกที่ 4 ไปยังป้ายรถประจำทางหน้าศูนย์การค้า สยามสแควร์วัน สามารถเดินข้ามถนนถึงกันได้
สถานีสยามเป็นสถานีนำร่องในการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ซึ่งปัจจุบันได้ติดตั้งและเปิดใช้งานแล้วทุกชานชาลา [2]
โดยชั้นชานชาลาทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีการติดตั้งพัดลมเพดานขนาดใหญ่ (High Volume Low Speed : HVLS) เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนอากาศภายในสถานี
ทางเข้า-ออก[แก้]
ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ, สะพานเชื่อมต่ออาคาร และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า (Sky Walk) ได้แก่
- 1 ป้ายรถประจำทางไปราชประสงค์ (บันไดเลื่อน), สยามเซ็นเตอร์ ชั้น M และชั้น 1 (สะพานเชื่อม)
- 2 ป้ายรถประจำทางไปทางแยกปทุมวัน, สยามสแควร์ ซอย 3 และซอย 4 (บันไดเลื่อน)
- 3 พาร์คพารากอน (Parc Paragon), สยามพารากอน ชั้น M และ ชั้น G (สะพานเชื่อม-ฝั่ง The Jewel)
- 4 สยามสแควร์วัน, สยามสแควร์ซอย 5 และซอย 6, ธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์
- 5 สยามพารากอน ชั้น M (สะพานเชื่อม-ฝั่ง Star Dome), บางกอก ซีไลฟ์ โอเชียนเวิลด์, วัดปทุมวนาราม, ป้ายรถประจำทางไปราชประสงค์ (ลิฟต์)
- 6 สยามสแควร์ซอย 6 (ลิฟต์) , ถนนอังรีดูนังต์, เซ็นทรัลเวิลด์, ราชประสงค์ (ทางเดินเชื่อม)
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 5 หน้าทางเข้าบางกอก ซี ไลฟ์ โอเชียนเวิลด์ และทางออก 3 บริเวณลานพาร์คพารากอน
เวลาให้บริการ[แก้]
ทางเดินลอยฟ้า[แก้]
สถานีสยามมีทางเดินเชื่อมใต้รางรถไฟฟ้าหรือทางเดินลอยฟ้า (skywalk) ขนาดกว้าง 7.5 เมตร ยาว 513 เมตร เชื่อมต่อกับห้างเซ็นทรัลเวิลด์, ทางแยกราชประสงค์ และสถานีชิดลม โดยบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนประมาณ 260 ล้านบาท เพื่อสร้างทางเชื่อมต่อโครงการเซ็นทรัลเวิลด์กับรถไฟฟ้าทั้ง 2 สถานี[3] มีจุดเริ่มต้นจากสะพานลอยสามแยกเฉลิมเผ่า (ทางออกที่ 6 ของสถานีสยาม) เชื่อมต่อกับสยามพารากอน กับดิออฟฟิศเซส แอท เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลเวิลด์, เกษรพลาซ่า, โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ, เอราวัณ บางกอก, อาคารอัมรินทร์ พลาซ่าและอาคารมณียา เซ็นเตอร์ ทำให้ย่านการค้าบริเวณสถานีสยามเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกันกับทางแยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญของกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันมากขึ้น
รถโดยสารประจำทาง[แก้]
ถนนพระรามที่ 1 มุ่งหน้าทางแยกราชประสงค์ รถขสมก. สาย 15 16 25 54 73 73ก 79 204 501 508 รถเอกชน สาย 40 48
ถนนพระรามที่ 1 มุ่งหน้าทางแยกปทุมวัน รถขสมก. สาย 15 16 21 25 54 73 73ก 141 204 501 508 รถเอกชน สาย 40 48
ถนนพระรามที่ 1 | ||||
---|---|---|---|---|
สายที่ | ต้นทาง | ปลายทาง | หมายเหตุ | |
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) | ||||
15 | เดอะมอลล์ท่าพระ | บางลำพู | ||
16 | หมอชิต 2 | สุรวงศ์ | ||
21 | วัดคู่สร้าง | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | เดินรถฝั่งสยามสแควร์เท่านั้น | |
25 | ปากน้ำ | ท่าช้าง | ||
54 | ประตูน้ำ | ห้วยขวาง | วงกลม | |
73 | ห้วยขวาง | สะพานพระพุทธยอดฟ้า | ||
73ก | สวนสยาม | สะพานพระพุทธยอดฟ้า | ||
79 | พุทธมณฑลสาย 2 | ราชประสงค์ | เดินรถฝั่งสยามเซ็นเตอร์เท่านั้น | |
141 | แสมดำ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ทางด่วน - เดินรถฝั่งสยามสแควร์เท่านั้น | |
204 | ห้วยขวาง | ท่าน้ำราชวงศ์ | รถธรรมดา - เส้นทางผ่านถนนสุทธิสารวินิจฉัย-อนุสาวรีย์ชัยฯ | |
204 | ห้วยขวาง | ท่าน้ำราชวงศ์ | รถปรับอากาศ - เส้นทางผ่าน กทม.2 | |
501 | มีนบุรี | หัวลำโพง | ||
508 | ปากน้ำ | ท่าราชวรดิษฐ์ | ||
รถเอกชนร่วมบริการ | ||||
40 | แยกลำสาลี | เซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า | ||
48 | มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา | ท่าเตียน |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]
- สยามสแควร์
- สยามสแควร์วัน
- โรงภาพยนตร์สกาล่า
- คณะเภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และ สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วัดปทุมวนาราม
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- โรงพยาบาลตำรวจ
ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน[แก้]
โรงแรม[แก้]
มาตรการเวลาเร่งด่วน[แก้]
สถานีสยามมีมาตรการสำหรับเวลาเร่งด่วน ได้แก่เวลา 06:00 - 09:00 น. และ 17:00 - 22:00 น. ทางสถานีได้ประกาศข้อกำหนดให้ผู้โดยสารทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตามเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารในช่วงเวลาเร่งด่วนทั้งนี้อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อย ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 ประกอบพระราชบัญญัติ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 77 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา 62 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ [4] [5]
มาตรการเมื่อมีกิจกรรมที่ลานพาร์คพารากอน[แก้]
บริเวณชานชาลาที่ 1 (มุ่งหน้าไปเคหะฯ) เป็นจุดที่สามารถมองลงไปยังลานพาร์คพารากอนได้และที่บริเวณดังกล่าวมักจะมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปินและดาราอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ประชาชนบางส่วนเลือกที่จะไม่เข้าไปแออัดอยู่ในบริเวณดังกล่าว แต่เลือกที่จะเสียค่าโดยสารอัตราต่ำสุด (15 บาท) แล้วขึ้นไปยืนดูในบริเวณสถานีบริเวณชานชาลาที่ 1 แทน แต่เนื่องจากเป็นเวลาที่อยู่ในระหว่างรถไฟฟ้าเปิดให้บริการ บีทีเอสซีจึงใช้วิธีการนำรั้วกั้นมากันบริเวณปลายชานชาลาของสถานี และจัดเจ้าหน้าที่ให้ดูแลในบริเวณดังกล่าว ทั้งนี้ บีทีเอสซียังยึดกฎระเบียบของระบบด้วยการเก็บค่าปรับเกินเวลา (คิดจากอัตราค่าโดยสารสูงสุดคือ 44 บาท) สำหรับผู้ที่อยู่ในสถานีนานเกิน 120 นาทีเหมือนผู้โดยสารปกติทั่วไป ไม่ได้มีการเว้นให้เป็นกรณีพิเศษ[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1339485497&grpid=09&catid=no&subcatid=0000
- ↑ "BTS stations to get platform doors". Bangkok Post. 17 September 2012. สืบค้นเมื่อ 17 September 2012.
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์ 30 กันยายน 2547
- ↑ http://61.19.54.137/law/dpmlaw/main/content.php?page=show&category=5&id=1255
- ↑ http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538973876&Ntype=19
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สถานีสยาม |
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีสยาม
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′44″N 100°32′03″E / 13.745619°N 100.534228°E
สถานีใกล้เคียง[แก้]
สถานีก่อนหน้า | ขบวนรถไฟ | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
สถานีราชเทวี มุ่งหน้า สถานีคูคต |
สายสุขุมวิท | สถานีชิดลม มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ | ||
สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สถานีปลายทาง |
สายสีลม | สถานีราชดำริ มุ่งหน้า สถานีบางหว้า |
|
|
|
|