สถานีลุมพินี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
MRT Station Icon - Lumphini.svgลุมพินี
Lumphini
MRT (Bangkok) logo.svg
Lumphini Station concourse level.jpg
ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
สาย สายเฉลิมรัชมงคล 
 สายสีเทา 
 สายสีฟ้า 
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
รถไฟฟ้าสายสีเทา และรถไฟฟ้าสายสีฟ้า (โครงการ)
ถนนพระรามที่ 4
เขต/อำเภอเขตปทุมวัน, เขตสาทร
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
รูปแบบชานชาลาด้านข้าง (ชานชาลาต่างระดับ)
จำนวนชานชาลา2
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีMRT BL25.svg
ทางออก3
บันไดเลื่อน14
ลิฟต์3
เวลาให้บริการ06.00 - 24.00น.
ประวัติ
เปิดให้บริการ3 กรกฎาคม 2547
ที่ตั้ง
แผนที่จากเว็บไซต์บีอีเอ็ม

สถานีลุมพินี (อังกฤษ: Lumphini Station, รหัส BL25) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกวิทยุ เยื้องกับสวนลุมพินี ในอนาคต จะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา และรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ที่สถานีลุมพินี

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนพระรามที่ 4 บริเวณทิศตะวันออกของสี่แยกวิทยุ จุดบรรจบของถนนวิทยุ และถนนสาทรเหนือ-ใต้ ด้านข้างสะพานลอยไทย-เบลเยี่ยม ในพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน และแขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ ย่านที่เรียกกันว่า "ลุมพินี" หมายถึงย่านบริเวณด้านตะวันออกของสวนลุมพินีต่อเนื่องไปยังย่านบ่อนไก่ และมีสนามมวยเวทีลุมพินีซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป แต่ผู้ที่โดยสารรถไฟฟ้ามายังสวนลุมพินีอาจเกิดความสับสนบ้าง เนื่องจากพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นจุดหมายตาที่สำคัญของสวนลุมพินีนั้นได้ประดิษฐานอยู่ที่สี่แยกศาลาแดง อันเป็นที่ตั้งของสถานีสีลม

แผนผังสถานี[แก้]

G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, อาคารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง, สวนลุมพินี
B1
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-2, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, อุโมงค์เชื่อม วัน แบงค็อก (กำลังก่อสร้าง)
B2
ชานชาลา
ชานชาลา 2  สายเฉลิมรัชมงคล  มุ่งหน้า สถานีท่าพระ (ผ่าน สถานีบางซื่อ)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
B4
ชานชาลา
ชานชาลา 1  สายเฉลิมรัชมงคล  มุ่งหน้า สถานีหลักสอง
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย

รายละเอียดสถานี[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

"ดอกบัว" สัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สัญลักษณ์รูปดอกบัว สื่อถึงสวนลุมพินี ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานี และตั้งชื่อตามสวนลุมพินีวัน สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ในประเทศเนปาล โดยใช้สีเขียวเพื่อบ่งบอกถึงพื้นที่สวนสาธารณะ[1]

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 20 เมตร ยาว 172 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 26 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาต่างระดับ (Station with Stack Platform) เนื่องจากถนนพระรามที่ 4 ขาออกมีท่อส่งน้ำของการประปานครหลวง ทำให้ต้องสร้างอุโมงค์ซ้อนกัน

ทางเข้า-ออกสถานี[แก้]

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]

ทางเข้า-ออกที่ 2 หน้าอาคารคิวเฮ้าส์ลุมพินี ริมถนนสาทรใต้

แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • 1 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • 2 ชั้นชานชาลา หมายเลข 2 มุ่งหน้าสถานีคลองเตย และสถานีปลายทางท่าพระ (ผ่านบางซื่อ)
  • 3 ชั้นห้องเครื่อง
  • 4 ชั้นชานชาลา หมายเลข 1 มุ่งหน้าสถานีสีลม และสถานีปลายทางหลักสอง

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกที่ 2 และ 3

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายเฉลิมรัชมงคล
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ - ศุกร์ 05:56 00:02
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:58 00:02
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ - ศุกร์ 05:53 23:35
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:55 23:35
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง - 22:49

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

  • ถนนพระรามที่ 4 สาย 4 13 14 22 45 46 47 74 115 141 507

จุดเชื่อมต่อการเดินทางในอนาคต[แก้]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

แผนผังบริเวณสถานี

สถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย[แก้]

อาคารสำนักงาน[แก้]

โรงแรม[แก้]

  • โรงแรมสุโขทัย
  • โรงแรมซัมเมอร์เซ็ท ปาร์ค สวนพลู
  • โรงแรมบันยัน ทรี กรุงเทพฯ
  • โรงแรมพินนาเคิล ลุมพินี
  • โรงแรมไอบิส สาทร
  • โรงแรมโซ แบงค็อก
  • โรงแรมเอทัส ลุมพินี
  • โรงแรมริทส์ คาร์ลตัน วัน แบงค็อก
  • โรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก

ศูนย์การค้า[แก้]

  • ไลฟ์เซ็นเตอร์
  • เดอะ คอมมอนส์ ศาลาแดง
  • เดอะ ช้อปเปส แอท วัน แบงค็อก

อ้างอิง[แก้]

  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′32″N 100°32′45″E / 13.725575°N 100.545861°E / 13.725575; 100.545861

สถานีใกล้เคียง[แก้]

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีคลองเตย
มุ่งหน้า สถานีท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
   สายเฉลิมรัชมงคล    สถานีสีลม
มุ่งหน้า สถานีหลักสอง
สถานีงามดูพลี
มุ่งหน้า สถานีวัชรพล
   สายสีเทา 
เชื่อมต่อที่ สถานีลุมพินี
(โครงการ)
  สถานีสวนพลู
มุ่งหน้า สถานีท่าพระ
สถานีเพลินจิต
มุ่งหน้า
สถานีประชาสงเคราะห์
   สายสีฟ้า 
เชื่อมต่อที่ สถานีลุมพินี
(โครงการ)
  สถานีสวนพลู
มุ่งหน้า สถานีช่องนนทรี