ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิกัด: 13°44′08″N 100°31′31″E / 13.735567°N 100.525372°E / 13.735567; 100.525372
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Chulalongkorn University Demonstration School
ภาพซ้ายป้ายโรงเรียนของฝ่ายประถม ภาพขวาป้ายโรงเรียนของฝ่ายมัธยม
ที่ตั้ง
แผนที่
ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
ข้อมูล
ชื่ออื่นCUD
ประเภทโรงเรียนสาธิต
คำขวัญความรู้คู่คุณธรรม
ก่อตั้งพ.ศ. 2501; 66 ปีที่แล้ว (2501)
หน่วยงานทางการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ผู้อำนวยการฝ่ายประถมพัชรี วรจรัสรังสี
ผู้อำนวยการฝ่ายมัธยมพรพรหม ชัยฉัตรพรสุข
สีสีชมพู
เพลง
  • มาร์ชสาธิตจุฬา (ประถม)
  • เพลงประจำโรงเรียน (มัธยม)
ต้นไม้จามจุรี
เว็บไซต์

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีประวัติการก่อตั้งโรงเรียนสืบเนื่องมาจาก "โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ซึ่งเป็นโรงเรียนสาธิตสังกัดแผนกวิชาครุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อการฝึกหัดครู ชั้นประโยคครูมัธยม ครั้นต่อมาโรงเรียนมัธยมหอวังฯ ได้เปลี่ยนรูปงานเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แผนกวิชาครุศาสตร์จึงไม่มีโรงเรียนสำหรับฝึกหัดครูเป็นระยะเวลานานประมาณ 15 ปี

เมื่อแผนกวิชาครุศาสตร์ขยายงานเป็น คณะครุศาสตร์ โดยมีศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เป็นคณบดีคนแรก ท่านได้เล็งเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งโรงเรียนสาธิต เพื่อการฝึกหัดครูขั้นปริญญาขึ้นแทนโรงเรียนมัธยมหอวังฯ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นโดยให้ชื่อว่า "โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" และทำพิธีเปิดป้ายชื่อโรงเรียนเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2501

ประวัติโรงเรียน

[แก้]
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2501 โดยศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เพื่อให้เป็นสถานฝึกปฏิบัติ การทางการศึกษาและเป็นสถานที่ฝึกการปฏิบัติงานครูของคณะครุศาสตร์ก่อนที่นิสิตจะจบการศึกษา[1]

ปีการศึกษา 2501 โรงเรียนได้เปิดรับนักเรียนเป็นปีแรก โดยรับนักเรียนเข้าเรียนสองระดับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมปีที่ 5 ในระยะเริ่มแรกของการจัดตั้งโรงเรียนมีปัญหาเรื่องสถานที่เรียนเป็นอันมาก แต่ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัย ให้ใช้สถานที่ ที่สร้างเป็นที่ประกอบอาหารของหอพักนิสิต (ตอนนั้นหอพักยังไม่ได้สร้างแต่ได้สร้างส่วนที่เป็นครัวขึ้นก่อน) เป็นสถานที่เรียนทั้ง 2 ระดับติดต่อกัน ตลอดปีการศึกษา 2501

ปีการศึกษา 2502 มหาวิทยาลัยมีความจำเป็นต้องต่อเติมอาคารหอพัก ที่ยังคั่งค้างอยู่ให้แล้วเสร็จรวมทั้งส่วนที่เป็นครัว ซึ่งใช้เป็นที่เรียนขณะนั้นด้วย โรงเรียนจึงจำเป็นต้องใช้สถานที่ใหม่ โดยไปเรียนที่ คณะครุศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นกำลังก่อสร้างอาคารสถานที่เช่นเดียวกัน คณะเห็นว่าการดำเนินงานของโรงเรียนมีปัญหาและอุปสรรคมาก จึงขอให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือ ในที่สุดก็ได้บ้านพักอาจารย์หลังหนึ่ง ซึ่งเดิม เป็นที่พักของอาจารย์ชาวต่างประเทศที่รับราชการในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนั้นอาคารชำรุดมากต้องซ่อมแซม เมื่อแล้วเสร็จจึงเปิดเป็นอาคารเรียนขึ้น จากนั้นบ้านหลังนี้ก็กลายสภาพเป็นโรงเรียนเรื่อยมา (ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบูรณะและอนุรักษ์ไว้ ตั้งชื่อว่า "เรือนภะรตราชา")

ปี พ.ศ. 2512 คณะครุศาสตร์ ได้ปรับปรุงระบบงานใหม่ เพื่อให้โรงเรียนสาธิตทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติงานแก่อาจารย์ และนิสิตคณะครุศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น จึงได้แยก หน่วยงาน ออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายประถม และ ฝ่ายมัธยม มีอาจารย์ใหญ่ ทำหน้าที่ บริหารโรงเรียนแต่ละฝ่าย โดยมีแผนกวิชาประถมศึกษา และ แผนกวิชามัธยมศึกษา ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านวิชาการ ภายหลังที่ได้แยกงานบริหารโรงเรียนออกเป็น 2 ฝ่ายแล้ว ผู้ที่ทำหน้าที่อาจารย์ใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไปตามวาระของการบริหารงานในโรงเรียน

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

[แก้]
  • ตราประจำโรงเรียน ตราประจำโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ พระเกี้ยว
  • สีประจำโรงเรียน สีประจำโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ สีชมพู
  • คำขวัญประจำโรงเรียน คำขวัญประจำโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ ความรู้ คู่คุณธรรม
  • เพลงประจำโรงเรียน เดิมโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เพลง มหาจุฬาลงกรณ์ เป็นเพลงประจำโรงเรียน จนกระทั่งปีพ.ศ. 2527 ได้มีการประกวดแต่งเพลงโรงเรียนขึ้น และใช้เพลงที่ชนะเลิศเป็นเพลงประจำโรงเรียนมาจนถึงปัจจุบัน
    • เพลงประจำฝ่ายประถมคือ มาร์ชสาธิตจุฬาฯ ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย ระพินทร บรรจงศิลป์[2]
    • เพลงประจำฝ่ายมัธยมคือ สาธิตจุฬาฯ ประพันธ์คำร้องโดย ชามานันท์ สุจริตกุล และทำนองโดย พฤทธิธร สุมิตร[3]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ราชวงศ์

[แก้]

การเมืองและงานราชการ

[แก้]

สถาปนิก นักออกแบบ

[แก้]

นักวิชาการ นักวิจัย นักวิชาชีพ

[แก้]

นักธุรกิจ ผู้บริหาร

[แก้]

ศิลปิน ผู้กำกับ นักแสดง นักดนตรี

[แก้]

สื่อสารมวลชน

[แก้]

นักกีฬา

[แก้]

นักเรียนทุน

[แก้]
  • ชวิน โอภาสวงศ์ (รุ่น 46) นักเรียนทุนอานันทมหิดล แผนกวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2558 ไปศึกษา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ธนกฤต พงพิทักษ์เมธา (รุ่น 46) นักเรียนทุนโครงการเยาวชน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2559 ไปศึกษาสาขาประสาทวิทยา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ธาวิต แสงวีระพันธุ์ศิริ (รุ่น 47) นักเรียนทุนอานันทมหิดล แผนกวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2559 ไปศึกษา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ชานน ธนิตกุล (รุ่น 49) นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง ประจำปี 2557
  • ต่อพงศ์ นิธยานนท์ (รุ่น 49) นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง ประจำปี 2557
  • ชนุตม์ ศิริโสภณศิลป์ (รุ่น 49) นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง ประจำปี 2557
  • ณัฐ ตู้จินดา (รุ่น 49) นักเรียนทุนอานันทมหิดล แผนกวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2561 ไปศึกษาสาขา Materials Science and Engineering ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ศุภลาภินี ภักดีฉนวน (รุ่น 54) นักเรียนทุนกระทรวงการต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2562 ไปศึกษาสาขา East Asia Studies ณ สหราชอาณาจักร

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ร้อยเรื่องราว 100ปี จุฬาฯ ตอน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่มาของการฝึกสอน". มติชน. 14 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 21/6/2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. "มาร์ชสาธิตจุฬา ฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-09. สืบค้นเมื่อ 2020-11-01.
  3. เพลงประจำโรงเรียนสาธิตจุฬาฯฝ่ายมัธยม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′08″N 100°31′31″E / 13.735567°N 100.525372°E / 13.735567; 100.525372