สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามกีฬาแห่งชาติ
W1

National Stadium
สถานีมองจากศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′47.45″N 100°31′44.79″E / 13.7465139°N 100.5291083°E / 13.7465139; 100.5291083พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′47.45″N 100°31′44.79″E / 13.7465139°N 100.5291083°E / 13.7465139; 100.5291083
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
การเชื่อมต่อ
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีW1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 24 ปีก่อน (2542-12-05)
ผู้โดยสาร
25641,298,001
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง สายสีลม สยาม
มุ่งหน้า บางหว้า
การเชื่อมต่ออื่น
ท่าเรือก่อนหน้า เรือโดยสารคลองแสนแสบ ท่าเรือต่อไป
ท่าประตูน้ำ
มุ่งหน้า ท่าวัดศรีบุญเรือง
  สายประตูน้ำ - ผ่านฟ้าลีลาศ
เชื่อมต่อที่ ท่าสะพานหัวช้าง
  ท่าสะพานเจริญผล
มุ่งหน้า ท่าผ่านฟ้าลีลาศ
ที่ตั้ง
แผนที่
ชานชาลาสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2560
ลักษณะภายนอกของสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ

สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (อังกฤษ: National Stadium station; รหัส: W1) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลม ยกระดับเหนือถนนพระรามที่ 1 บริเวณหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนพระรามที่ 1 ด้านหน้าอาคารกีฬานิมิบุตรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสนามกีฬาแห่งชาติ ระหว่างทางแยกปทุมวัน (จุดบรรจบกับถนนพญาไท) กับทางแยกเจริญผล (จุดบรรจบกับถนนบรรทัดทอง) ในพื้นที่แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

สถานีสนามกีฬาแห่งชาติเป็นสถานีปลายทางด้านตะวันตกของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม และเป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสที่อยู่ใกล้พื้นที่เมืองเก่าของกรุงเทพมหานครมากที่สุด ผู้โดยสารจึงสามารถเดินทางด้วยรถแท็กซี่หรือรถประจำทางต่อไปยังย่านคลองถม, วรจักร, ตลาดโบ๊เบ๊, ภูเขาทอง และถนนราชดำเนิน ได้ในเวลาอันสั้น ยกเว้นช่วงเวลาเร่งด่วนโดยเฉพาะช่วงบ่ายถึงเย็นที่มีสภาพการจราจรติดขัด นอกจากนี้ยังสามารถเดินไปยังสะพานเฉลิมหล้า 56 (สะพานหัวช้าง) เพื่อใช้บริการเรือโดยสารคลองแสนแสบไปยังสะพานผ่านฟ้าหรือประตูน้ำได้อีกด้วย

ปัจจุบัน สถานีสนามกีฬาแห่งชาติยังคงเป็นสถานีปลายทางในเส้นทางบีทีเอสสายสีลมจนกว่าจะมีการก่อสร้างสถานียศเสขึ้น โดยการก่อสร้างสถานีดังกล่าวตามแผนแม่บทฯ พ.ศ. 2552 คือคงไว้เป็นสถานีสำหรับเชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มที่สถานียศเสเท่านั้น

แผนผังสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (สยาม)
ชานชาลา 4 สายสีลม สถานีปลายทาง
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ (มาบุญครอง) และ ห้างสรรพสินค้าโตคิว
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, สยามดิสคัฟเวอรี่
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, สนามกีฬาแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย)
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน, พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะจิตวิทยา และบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง ผู้โดยสารที่มาจากสถานีบางหว้าถึงแล้วจะต้องลงจากขบวนทั้งหมดที่ชานชาลา 4 จากนั้นขบวนรถจะกลับทิศบริเวณสุดรางด้านหน้าสนามศุภชลาศัย เพื่อมุ่งหน้ามารับผู้โดยสารที่ชานชาลา 3 ฝั่งตรงข้าม

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา

ทางเข้า-ออก[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ, สะพานเชื่อมต่ออาคาร และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า (สกายวอล์ก) ได้แก่

  • 1 ซอยเกษมสันต์ 2, พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน, สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน, โลตัส พระราม 1,ป้ายรถประจำทางไปสยาม (บันไดเลื่อน)
  • 2 ศาลาวชิราวุธ สนามกีฬาแห่งชาติ, สี่แยกเจริญผล, ป้ายรถประจำทางไปยศเส (ลิฟต์)
  • 3 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (สะพานเชื่อม)
  • 4 ลานชั้น 2 เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ (สะพานเชื่อม)
  • 5 สะพานวันสยาม เชื่อมต่อสี่แยกปทุมวัน
    • เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ ชั้น 2 และ 3 (สะพานเชื่อม)
    • หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, สะพานหัวช้าง และท่าเรือสะพานหัวช้าง
    • สยามสแควร์ ซอยกลาง-ซอย 2
    • สยามดิสคัฟเวอรี่ ชั้น M และ 1 (สะพานเชื่อม)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 หน้าศึกษาภัณฑ์พาณิชย์

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม[1]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า เต็มระยะ 05.30 00.13
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท 00.00

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

ถนนพระรามที่ 1 มุ่งหน้าทางแยกเจริญผล รถขสมก. สาย 11 15 47 73 93 204 508 รถเอกชน 48 113

ถนนพระรามที่ 1 มุ่งหน้าทางแยกปทุมวัน รถขสมก. สาย 15 47 73 204 508 รถเอกชน 48

ถนนพระรามที่ 1[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
11 (3) เขตประเวศ มาบุญครอง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
รถโดยสารประจำทาง อู่เมกาบางนา 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
15 (3) BRT ราชพฤกษ์ บางลําภู 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

47 (1) รถโดยสารประจำทาง ท่าเรือคลองเตย กรมที่ดิน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
73 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่สวนสยาม สะพานพระพุทธยอดฟ้า 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
ตลาดห้วยขวาง
93 (3) หมู่บ้านนักกีฬา เรือข้ามฟาก ท่าน้ำสี่พระยา 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

204 (2-52) (1) รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ท่านํ้าราชวงศ์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ตลาดห้วยขวาง
508 (2) รถโดยสารประจำทาง อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ท่าราชวรดิฐ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถเอกชน[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
11 (3-3) Handicapped/disabled access สวนหลวง ร.9 สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.เอ็กซา โลจิสติก
(เครือไทยสมายล์บัส)
40 (4-39) Handicapped/disabled access BTS เอกมัย รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
48 (3-11) Handicapped/disabled access ม.รามคำแหง 2 วัดโพธิ์
113 (1-44) Handicapped/disabled access มีนบุรี สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
163 (4-55) Handicapped/disabled access ศาลายา สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ บจก.ไทยสมายล์บัส
1-63 Handicapped/disabled access ปัฐวิกรณ์ สวนหลวงพระราม 8 บจก.ไทยสมายล์บัส
2-34 Handicapped/disabled access วงกลม: สถานีสามเสน ดินแดง บจก.ไทยสมายล์บัส

เรือโดยสารคลองแสนแสบ[แก้]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

ทางเดินลอยฟ้า (Skywalk) แยกปทุมวันไปยังศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์และสยามสแควร์

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน[แก้]

โรงแรม[แก้]

  • โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส
  • โรงแรมสยามแอทสยาม
  • โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ เอกซ์เพรส กรุงเทพ สยาม
  • โรงแรมไอบิสและเมอร์เคียว กรุงเทพ สยาม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.