โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย Mater Dei School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | MD |
ประเภท | โรงเรียนเอกชน |
คำขวัญ | SERVIAM
"ข้าฯ ยินดีรับใช้" |
อุปถัมภก | พระมารดาพระเจ้า (มาแตร์เดอี) |
สถาปนา | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 (96 ปี 310 วัน) |
ผู้ก่อตั้ง | คุณแม่มารี เบอร์นาร์ด มังแซล |
เขตการศึกษา | คณะอุร์สุลิน ประเทศไทย |
ผู้อำนวยการ | นางทีนามารี ผลาดิกานนท์ |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น |
สี | |
เพลง | เพลง Mater Dei |
เว็บไซต์ | www.materdei.ac.th |
"อบรมเสริมคนให้ครบ ประสบธรรมสูงส่ง ปัญญาแตกฉานมั่นคง เสริมส่งเป็นคนจนสมบูรณ์" |
โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย (อังกฤษ: Mater Dei School: MD) เป็นโรงเรียนเอกชนคาทอลิกสตรีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บน ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน ในสังกัดคณะอุร์สุลิน ประเทศไทย ก่อตั้งโดยคุณแม่มารี เบอร์นาร์ด มังแซล ในปี พ.ศ. 2471 ปัจจุบันเปิดสอนระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยเป็นโรงเรียนที่คณะอุร์สุลินก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย โดยคุณแม่มารี เบอร์นาร์ด มังแซล (Marie Bernard Mancel, G.S.U.) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากมหาธิการิณีที่โรม ให้ย้ายจากประเทศอินโดนีเซียมาเป็นอธิการิณีที่สยาม เป็นผู้จัดซื้อที่ดินและก่อตั้งโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2468 คุณแม่มารี เบอร์นาร์ด ได้เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อท่านเป็นอธิการิณีที่กรุงเทพฯ ได้ประมาณ 3 - 4 เดือน ท่านก็ได้พบที่ดินทำเลดีบนถนนเพลินจิตผืนนี้ ขนาดพื้นที่ 18 ไร่ ซึ่งมีบ้านหลังใหญ่ปลูกสร้างอยู่แล้ว จึงเห็นว่าเหมาะที่จะสร้างเป็นโรงเรียนได้ รวมถึงมุขนายกเรอเน-มารี-โฌแซ็ฟ แปโร ประมุขมิสซังกรุงเทพฯ ได้ให้การสนับสนุน คุณแม่จึงได้ตัดสินใจดำเนินการ
วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2470 คุณแม่มารี เบอร์นาร์ด ได้รับการอนุมัติให้ถวายโรงเรียนใหม่ที่สร้างขึ้นนี้แด่พระมารดาพระเจ้า และให้ใช้ชื่อโรงเรียนเป็นภาษาละตินว่า "มาแตร์เดอี" (Mater Dei แปลว่า พระมารดาพระเจ้า = Mother of God) ช่วงปลายปี ทุกอย่างเริ่มเป็นไปได้อย่างราบรื่นและชัดเจนขึ้น เนื่องจากคณะอุร์สุลินได้รับเงินกู้จาก Paris Foreign Missions ที่ฮ่องกง การเตรียมการของโรงเรียนจึงเป็นรูปธรรมขึ้น เมื่อซื้อที่ดินได้แล้ว จึงสร้างอาคารเพิ่มขึ้นหลังหนึ่งทำด้วยไม้สักทั้งหลังเพื่อเป็นอาคารเรียน โดยใช้เวลาสร้างทั้งหมด 7 เดือนเต็ม จากนั้นมาแมร์เทเรซาและผู้ช่วยอีกจำนวนหนึ่ง จึงเริ่มต้นทำความสะอาด จัดเตรียมห้องเรียน ห้องนอน ห้องครัว จัดพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นอารามและวัดเล็ก
ส่วนอีกด้านหนึ่งที่สำคัญของการจัดตั้งโรงเรียน มาแมร์ราฟาเอล และมาแมร์มารี เดอ ลูร์ด ได้เตรียมหลักสูตรภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส รวมทั้งเตรียมการเรียนการสอนภาษาไทยด้วย เพราะสมัยนั้นทุกโรงเรียนจะต้องมีการจัดสอนภาษาไทยอย่างน้อยวันละหนึ่งคาบทุกวัน ประกอบกับกระทรวงธรรมการผู้รับผิดชอบดูแลการศึกษาในสมัยนั้นค่อนข้างให้อิสระในการดำเนินกิจการของโรงเรียน มีการอนุญาตให้ครูใหญ่และครูเป็นชาวต่างประเทศได้ โดยมีข้อแม้เพียงข้อเดียวคือ ครูใหญ่ต้องรู้ภาษาไทย เมื่อมาแมร์ราฟาเอลสอบภาษาไทยผ่านแล้ว ท่านจึงมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเป็นครูใหญ่ได้
ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2471 คณะอุร์สุลินได้รับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการให้เปิดโรงเรียนสำหรับเด็กผู้หญิงได้ ต่อมาในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกันได้มีการเสกอาคารโรงเรียนใหม่ และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ นักเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยจำนวน 45 คน มาเรียนเป็นวันแรก[1]
โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยเมื่อแรกเปิดรับนักเรียนสองแผนก คือ แผนกภาษาอังกฤษและแผนกภาษาฝรั่งเศส มีทั้งนักเรียนไปกลับและนักเรียนประจำ
แม้จะเป็นโรงเรียนสำหรับเด็กผู้หญิงแต่ในชั้นอนุบาลถึงประถม 2 โรงเรียนได้เปิดรับนักเรียนชายด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงเข้าศึกษาในระดับอนุบาล มีเลขประจำตัวเลขที่ 273 และในอีก 2 ปีถัดมา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรก็ทรงเข้าศึกษาเป็นนักเรียนอนุบาลโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ทรงได้รับเลขประจำตัว 449[2]
จากช่วงแรกแห่งการบุกเบิกจนถึงวันนี้ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยเต็มไปด้วยพระพรแห่งชีวิตและการเติบโตภายใต้ความเป็นผู้นำของซิสเตอร์อุร์สุลินหลายท่าน ที่บรรดาศิษย์สำนึกในพระคุณอยู่เสมอ อาทิ
- มาแมร์ราฟาแอล ผู้ที่เป็นที่รักและเคารพ
- มาแมร์เทเรซา ผู้นำระบบมอนเตสซอรี่จากประเทศอังกฤษเข้ามาจัดอนุบาลที่มาแตร์เดอีฯ
- มาแมร์ซาเวียร์ ครูใหญ่ท่านที่สองของโรงเรียน ซึ่งมีผลงานภาพวาดของท่านหลายภาพที่งดงามประทับที่อาคารเรียนประถมศึกษา
มาแมร์เซนต์จอห์น มาแมร์เจมมะ มาแมร์เซลีน มาแมร์เดโอดาต้า มาแมร์สตานีสลาส และอีกหลายๆ ท่านทีได้สร้างชื่อเสียงแก่มาแตร์เดอีวิทยาลัย โดยการสร้างศิษย์ที่มีคุณภาพ คุณธรรม และปลูกฝังเซอร์เวียมในจิตใจของศิษย์ทุกท่าน
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
[แก้]คติพจน์ของนักเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย คือ คำว่า เซอร์เวียม โดยมีสัญลักษณ์ ดังนี้
- เซอร์เวียม เป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนคณะอุร์สุลินทั่วโลก เนื่องจากคำว่า URSA ในภาษาละตินแปลว่า หมี จึงใช้ดาวหมีซึ่งประกอบด้วยดวงดาวเล็กๆ 7 ดวง เป็นเครื่องหมายถึงนักบุญอุร์สุลา
- กางเขน เป็นเครื่องหมายที่หมายถึงการรับใช้มวลมนุษย์และสละได้แม้ชีวิตด้วยความรัก
- อักษรละติน "Serviam" เป็นภาษาละตินแปลว่า "ข้าพเจ้าจะรับใช้" เซอร์เวียม เป็นจุดรวมของความมุ่งหวังที่คณะอุร์สุลินมีต่อศิษย์ทุกคน คือ ต้องการปลูกฝังให้ศิษย์พัฒนาตนเองเต็มศักยภาพเพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ไม่มีความเห็นแก่ตัว พร้อมที่จะรับใช้เพื่อนมนุษย์ตามสถานภาพที่สามารถจะกระทำได้
เพลงประจำโรงเรียน
[แก้]- เพลง Mater Dei
- เพลง Serviam
- เพลง มาร์ชมาแตร์เดอี
หลักสูตร
[แก้]ระดับอนุบาล
[แก้]ระดับประถมศึกษา
[แก้]ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
[แก้]ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
[แก้]ทางโรงเรียนได้เปิดสอนแผนการเรียนทั้งหมด 6 แผนการเรียน ได้แก่
- วิทย์-คณิต
- ศิลป์-คำนวณ
- ศิลป์-ภาษาฝรั่งเศส
- ศิลป์-ภาษาจีน
- ศิลป์-ดนตรี
- ศิลป์-ญี่ปุ่น
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]ราชวงศ์
[แก้]- พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
- พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์
- หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา
- เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ นัดดาของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย
- ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์ รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- หม่อมราชวงศ์สุจิตคุณ สารสิน ธิดาคนสุดท้องของ หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์ศรีคำรุ้ง ยุคล รัตนกุล ธิดาของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
การเมืองและราชการ
[แก้]- คุณหญิงชโลบล จารุรัตน์ คู่สมรสของ พล.ต.อ.เสริม จารุรัตน์ อดีตหัวหน้านายตำรวจราชสำนัก
- ท่านผู้หญิงวิวรรณ เศรษฐบุตร ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
- ศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา กีระนันทน์ อดีตนายกสภาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนายกสภามหาวิทยาลัยหญิงคนแรกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตอธิการบดีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอธิการบดีหญิงคนแรกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย และ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ธุรกิจ
[แก้]- คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี คู่สมรสของเจริญ สิริวัฒนภักดี
- หม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร ประธานกรรมการบริษัทเชลล์ (ประเทศไทย)
- ปรมา ไรวา ธิดาของประเวศวุฒิ ไรวา เกษสุดา ไรวา กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอส แอนด์ พี
- วทานิกา ปทมสิงห์ ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งและนักออกแบบแฟชั่นแบรนด์ วทานิกา
ศิลปิน นักแสดง นักดนตรี
[แก้]- อมรา อัศวนนท์ รองอันดับที่ 4 นางสาวไทย ประจำปี พ.ศ.2496 และนางสาวไทยท่านแรก ที่เข้าร่วมการประกวดนางงามจักรวาลปี1954
- ธัญญาเรศ เองตระกูล นักแสดง
- บุษกร ตันติภนา นักแสดง
- ศรีพรรณ ชื่นชมบูรณ์ นักแสดง
- ชีรณัฐ ยูสานนท์ นักแสดง/นักร้อง
- เก็จมณี วรรธนะสิน นักแสดง
- จรีนา สิริสิงห นักแสดง
- วิสา สารสาส นักแสดง
- ญารินดา บุนนาค นักแสดง
- ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ นักแสดง
- แพรวเพชร กาญจน์เกียรติคุณ อดีตนักร้องค่ายอาร์เอส
- อมตา จิตตะเสนีย์ ช่างแต่งหน้า
- พิยดา จุฑารัตนกุล นักแสดง
- พิตต้า ณ พัทลุง นักแสดง
- อรรถวดี จิรมณีกุล นักร้อง
- มาริสา สุโกศล นักร้อง
- กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์ แอนเดอร์สัน พิธีกร, ผู้ประกาศข่าว
- ณิชารีย์ กิจวิริยะธนโชติ นักร้อง
- เต็มฟ้า กฤษณายุธ นักแสดง
- เขมิกา สุขประสงค์ดี นักแสดง
- ณัฐชา เดอซูซ่า (จีน่า เดอซูซ่า) นักร้องค่ายเอ็มบีโอ
- กรภัทร์ นิลประภา (เคท) สมาชิกวง BNK48[3]
- รัตน์ฟ้า ไชยชื่นจิตต์ นักแสดง
- พัณณิณ ชาญมนูญ นักแสดง
- เพลินพิชญา โกมลารชุน (จูเน่) สมาชิกวง BNK48 รุ่นที่ 2[4]
- ภัทรานิษฐ์ ลิ้มปติยากร นักแสดง
- แพรรุจิรา โกมลารชุน (แพรวา) นักร้อง
- นภัสธนันท์ นิมจิรวัฒน์ นักแสดงเด็ก
- ปรินดา คุ้มธรรมพินิจ ผู้ประกาศข่าว
โรงเรียนในเครือ
[แก้]- โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย (Mater Dei School Alunmi)
- โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย (Regina Coeli College)
- โรงเรียนกุหลาบวัฒนา (Regina Rosarii college)
- โรงเรียนวาสุเทวี (Regina Mundi College)
- โรงเรียนปิยมาตย์ (Piyamart School)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-14. สืบค้นเมื่อ 2018-12-02.
- ↑ http://ratchaburidio.or.th/main/news/116-article/good-article/1342-remember-our-king
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-11. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-08. สืบค้นเมื่อ 2019-11-08.