จตุรมิตรสามัคคี
![]() ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน ฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2564[1] | |
Native name | จตุรมิตร |
---|---|
กีฬา | ฟุตบอล |
ทีม | 4 |
พบกันครั้งแรก | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2507 |
พบกันครั้งล่าสุด | 9 พฤศจิกายน - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 |
พบกันครั้งต่อไป | พ.ศ. 2566 |
ถ่ายทอดสด | SiamSport (True Visions CH74) JaturamitrLIVE[2] ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (ครั้งที่ 16)[3] สทท.(ครั้งที่ 25,26,27)[4] ช่อง 3 แฟมิลี (ครั้งที่ 28) [5] ยูทูบไลฟ์ (ครั้งที่ 28) ทรูโฟร์ยู (ครั้งที่ 29) |
สนาม | สนามกีฬาแห่งชาติ |
รางวัล | ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[6] |
สถิติ | |
การพบกันทั้งหมด | 29 ครั้ง |
ชนะสูงสุด | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย |
![]() ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน ฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2564[7] | |
ประเทศ | ไทย |
---|---|
ก่อตั้ง | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2507 |
จำนวนทีม | 4 |
ถ้วยภายในประเทศ | ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[8] |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | โรงเรียนเทพศิรินทร์ (พ.ศ. 2562) |
ชนะเลิศมากที่สุด | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
หุ้นส่วนโทรทัศน์ | SiamSport (True Visions CH74) JaturamitrLIVE[9] ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (ครั้งที่ 16)[3] สทท.(ครั้งที่ 25,26,27)[10] ช่อง 3 แฟมิลี (ครั้งที่ 28) [11] ยูทูบไลฟ์ (ครั้งที่ 28) ทรูโฟร์ยู (ครั้งที่ 29) |
เว็บไซต์ | jaturamitr.com |
![]() |
การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี (อังกฤษ: Jaturamitr Samakkee) เป็นการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระดับมัธยมศึกษาระหว่างโรงเรียนชายล้วนเก่าแก่สี่โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ
ประวัติ[แก้]
การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคีเป็นความคิดริเริ่มของนายโปร่ง ส่งแสงเติม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กับนายอารีย์ เสมประสาท อาจารย์ใหญ่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ทั้งสองท่านได้มาขอความร่วมมือจากนายบุญอวบ บูรณะบุตร อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และนายบรรณา ชโนดม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนอัสสัมชัญ ให้ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่างสี่สถาบัน เพื่อเชื่อมความสามัคคีของครูอาจารย์และนักเรียนทุกฝ่าย ซึ่งอาจารย์ทั้งสี่มีความเห็นพ้องกัน[12]
การแข่งขันจตุรมิตรสามัคคีครั้งแรกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 ตุลาคมถึง 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของนักเรียนทั้งสี่โรงเรียน การแข่งขันครั้งต่อมาจัดขึ้นทุกปีจนถึงปี พ.ศ. 2528 ยกเว้นในปี พ.ศ. 2509–2510, 2515, 2517–2520 และ 2522–2523 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา การแข่งขันถูกจัดขึ้นทุก ๆ สองปี รายการนี้เป็นการแข่งขันฟุตบอลไทยที่ได้รับความนิยมและผู้เล่นที่โดดเด่นจากการแข่งขันนี้ยังคงเป็นผู็เล่นคนสำคัญในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ได้แก่ ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล และธีรเทพ วิโนทัย[13] งานนี้มีการออกอากาศเป็นประจำทางโทรทัศน์แห่งชาติ และการแข่งขันล่าสุด 3 รายการยังได้รับการถ่ายทอดผ่านวิดีโอสตรีมมิ่งสดพร้อมคะแนนสดที่เผยแพร่บนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ นอกจากการแข่งขันแล้ว ยังมีความพยายามอย่างมากในการสร้างการแสดงอย่างประณีตและการแปรอักษร
แม้ว่าความสามัคคีจะเป็นหัวใจสำคัญของการแข่งขันมาโดยตลอด (จตุรมิตร มาจากภาษาสันสกฤต จตุร + มิตร แปลว่า "สี่สหาย" และ สามัคคี (จากภาษาบาลีว่า สามัคคี) แปลว่า "ความกลมเกลียว" หรือ "ความกลมเกลียว") คำว่า จตุรมิตร มักถูกใช้เป็นวลีติดปากเพื่อเรียกนักเรียนหรือศิษย์เก่าของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งสี่แห่ง การแข่งขันระหว่างโรงเรียนได้เพิ่มความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันทีมคู่ปรับระหว่างสวนกุหลาบวิทยาลัยกับเทพศิรินทร์ และอัสสัมชัญกับกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สิ่งนี้นำไปสู่ความรุนแรงระหว่างโรงเรียนหลายกรณีในช่วงหลายสัปดาห์ของการแข่งขัน ขอบเขตของปัญหาคือต้องมีการแยกผู้ชมอย่างเข้มงวดและการบังคับใช้ความปลอดภัยในระหว่างการแข่งขัน[13]
การแข่งขันครั้งล่าสุดนับเป็นครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 9-16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ และโรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นผู็ชนะการแข่งขัน กำหนดจัดการแข่งขันครั้งที่ 30 ในปี พ.ศ. 2566 โดยโรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นเจ้าภาพ
การแข่งขัน[แก้]
การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคีมีขึ้นในปี พ.ศ. 2507 เป็นปีแรก โดยลำดับการแข่งขันและการเป็นเจ้าภาพ ดังนี้
ครั้งที่ | วันแข่ง | เจ้าภาพ | ผู้ชนะอันดับหนึ่ง |
---|---|---|---|
1 | 16 ตุลาคม ถึง 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 | สวนกุหลาบวิทยาลัย | สวนกุหลาบวิทยาลัย |
2 | 19 ตุลาคม ถึง 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 | เทพศิรินทร์ | เทพศิรินทร์ ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
ในปี พ.ศ. 2509 และ พ.ศ. 2510 งดการแข่งขัน เนื่องจากมีการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ และกีฬาแหลมทอง ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ส่งผลให้สนามศุภชลาศัยไม่ว่างให้จัดการแข่งขัน | |||
3 | 16 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 | อัสสัมชัญ | สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
4 | 21 ตุลาคม ถึง 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 | กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย | สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
5 | 21 พฤศจิกายน ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 | สวนกุหลาบวิทยาลัย | กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
6 | 22 ตุลาคม ถึง 30 ตุลาคม พ.ศ. 2514 | เทพศิรินทร์ | สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ เทพศิรินทร์ |
7 (ดูหมายเหตุด้านล่าง) |
20 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 | อัสสัมชัญ | ไม่มีการชิงชนะเลิศ[14] |
8 | 18 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517[15] | อัสสัมชัญ | เทพศิรินทร์ |
แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ และภาวะทางการเมืองไม่อำนวยให้จัดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี จึงว่างเว้นไประยะหนึ่ง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2520 และได้มีการฟื้นฟูการแข่งขันขึ้นในปีพ.ศ. 2521 เพื่อไม่ให้ฟุตบอลประเพณีรายการนี้หายไป | |||
การแข่งขันครั้งนี้ไม่นับรวมอยู่ในลำดับการแข่งขัน[16] | 24 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 | กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย แต่ในวันชิงชนะเลิศ ทั้ง 4 โรงเรียนได้ร่วมเป็นเจ้าภาพ โดยใช้สนามกีฬาจารุเสถียรเป็นสนามแข่งขัน | สวนกุหลาบวิทยาลัย |
9 | 28 พฤศจิกายน ถึง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2524 | สวนกุหลาบวิทยาลัย | สวนกุหลาบวิทยาลัย |
10 | 27 พฤศจิกายน ถึง 4 ธันวาคม พ.ศ. 2525 | เทพศิรินทร์ | สวนกุหลาบวิทยาลัย |
11 | 20 พฤศจิกายน ถึง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 | อัสสัมชัญ | สวนกุหลาบวิทยาลัย |
12 | 23 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2527 | กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย | สวนกุหลาบวิทยาลัย |
13 | 1 พฤศจิกายน ถึง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 | สวนกุหลาบวิทยาลัย | สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ อัสสัมชัญ[17] |
ต่อมาคณะกรรมการจัดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี ได้ตกลงกันว่าถ้ามีการแข่งขันทุกปีอาจทำให้สิ้นเปลือง แต่ถ้าเว้นปีไปก็เกรงว่าการแข่งขันฟุตบอลจะขาดช่วง จึงตกลงกันว่าให้มีการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคีปีเว้นปีโดยปีที่ไม่มีการแข่งขันให้จัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรเหย้า - เยือนขึ้น ซึ่งเป็นการแข่งขันโดยใช้สนามภายในโรงเรียนเท่านั้น | |||
14 | 19 ธันวาคม ถึง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2530 | เทพศิรินทร์ | สวนกุหลาบวิทยาลัย |
15 | 15 ธันวาคม ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2532 | อัสสัมชัญ | อัสสัมชัญ |
16 | 24 ธันวาคม ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2534 | กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย | กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
17 | 18 ธันวาคม ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2536 | สวนกุหลาบวิทยาลัย | อัสสัมชัญ[17] |
18 | 25 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 | เทพศิรินทร์ | สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ อัสสัมชัญ |
19 | 13 ธันวาคม ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2540 | อัสสัมชัญ | เทพศิรินทร์ ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
20 | 11 ธันวาคม ถึง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย | เทพศิรินทร์ ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย[18] |
21 | 17 พฤศจิกายน ถึง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 | สวนกุหลาบวิทยาลัย | สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
22 | 12 มกราคม ถึง 18 มกราคม พ.ศ. 2547 | เทพศิรินทร์ | กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
23 | 26 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม พ.ศ. 2548 | อัสสัมชัญ | อัสสัมชัญ ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
24 | 17 พฤศจิกายน ถึง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย | อัสสัมชัญ |
25 | 21 พฤศจิกายน ถึง 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 | สวนกุหลาบวิทยาลัย | กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
การแข่งขันครั้งที่ 26 เดิมได้กำหนดไว้ในวันที่ 19, 21, 23, และ 26 พฤศจิกายน 2554 แต่เกิดอุทกภัย จึงมีมติเลื่อนการแข่งขันไปเป็นปีพ.ศ. 2555 | |||
26 | 10 พฤศจิกายน ถึง 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 | เทพศิรินทร์ | สวนกุหลาบวิทยาลัย ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
27 | 15 พฤศจิกายน ถึง 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 | อัสสัมชัญ | อัสสัมชัญ ร่วมกับ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
การแข่งขันครั้งที่ 28 เดิมได้กำหนดไว้ในวันที่ 12, 14, 16, และ 19 พฤศจิกายน 2559[19] แต่เนื่องจากอยู่ระหว่างการถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงมีมติเลื่อนการแข่งขันออกไปอย่างไม่มีกำหนด [20] โดยเบื้องต้นกำหนดจัดการแข่งขันวันที่ 18,20,22 และ25 พฤศจิกายน 2560 [21] แต่ต่อมาได้มีการเลื่อนวันจัดการแข่งขันให้เร็วขึ้น 1 สัปดาห์ | |||
28 | 11 พฤศจิกายน ถึง 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 [22] | กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย | อัสสัมชัญ[23] |
การแข่งขันครั้งที่ 29 เดิมได้กำหนดไว้ในวันที่ 16, 18, 20, และ 23 พฤศจิกายน 2562[24] แต่เนื่องจากสนามศุภชลาศัยมีกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากการแข่งขันฟุตบอลและใช้สนามในช่วงเดียวกันกับช่วงเวลาเดิมของการแข่งขัน คือ องค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย มีพิธีสหบูชามิสซา เพื่อประชาสัตบุรุษ ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ณ สนามศุภชลาศัย[25][26] คณะกรรมการจัดการแข่งขันจึงมีมติเลื่อนการแข่งขันเร็วขึ้น 1 สัปดาห์ เป็นวันที่ 9, 11, 13 และ 16 พฤศจิกายน 2562[27] | |||
29 | 9 พฤศจิกายน ถึง 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[28] | สวนกุหลาบวิทยาลัย | เทพศิรินทร์[29][30] |
การแข่งขันครั้งที่ 30 เดิมได้กำหนดไว้ในวันที่ 13, 15, 17 และ 20 พฤศจิกายน 2564 ภายใต้ชื่องานตามแนวคิด “สร้างความดีสู่วิถีชีวิตใหม่” [31] แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยยังคงอยู่ในสภาวการณ์ที่น่าเป็นห่วง คณะกรรมการจัดการแข่งขันจึงมีมติเลื่อนการแข่งขันไปเป็นปี พ.ศ. 2565[32] ต่อมามีการกำหนดการจัดการแข่งขันในวันที่ 12,14,16,19 พฤศจิกายน 2565
[33] และต่อมาแถลงการณ์อีกครั้งเลื่อนการแข่งขันออกไปเป็นปีการศึกษา 2566 [34] [35] | |||
30 | พ.ศ. 2566 | เทพศิรินทร์ |
หมายเหตุ
ในหนังสือ "Unseen จตุรมิตร 48 ปี แห่งเกียรติภูมิ" ได้ระบุว่า การแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ 7 กำหนดการดังกล่าวเป็นวันที่กำหนดไว้ในสูจิบัตร แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา ก็ได้เลื่อนวันแข่งขันออกไปเป็นวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 เป็นการแข่งขันเพียงวันเดียวโดยไม่มีการชิงชนะเลิศ[36]
ในการแข่งขันจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ 12 เมื่อปี พ.ศ. 2527 นั้น ดำเนินการจัดการแข่งขันที่สนามกีฬา ไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง เนื่องจากสนามศุภชลาศัย ปิดซ่อมเพื่อกีฬาซีเกมส์ พ.ศ. 2528[17]
อันดับแชมป์[แก้]
โรงเรียน | จำนวนครั้งชนะเดี่ยว | จำนวนครั้งชนะร่วม | รวม |
---|---|---|---|
สวนกุหลาบวิทยาลัย | 6 | 7 | 13 |
กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย | 4 | 9 | 13 |
อัสสัมชัญ | 4 | 4 | 8 |
เทพศิรินทร์ | 2 | 4 | 6 |
หมายเหตุ นับเฉพาะผลการแข่งขันในปีที่นับครั้งในลำดับการแข่งขัน
จตุรมิตรสามัคคีอาวุโส[แก้]
การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคีอาวุโส เริ่มจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ. 2540 โดยมีจุดประสงค์เพื่อความสนุกสนาน สามัคคี เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 4 สถาบันเสมือนญาติมิตร และแสดงออกถึงความมีน้ำใจนักกีฬาของชาวจตุรมิตร อันเป็นแบบอย่างที่ดีในวงการกีฬาและสังคมไทย โดยแต่ละสถาบันจะผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ สถาบันละ 2 ปี
ประเพณีชาวจตุรมิตร[แก้]
ทุกๆวันสำคัญของราชการในทุกๆ ปี ชาวจตุรมิตรมีกิจกรรมที่สำคัญ จึงมีการนัดหมายกันทุกครั้ง และถือเป็นประเพณีที่ 4 สถาบันได้ร่วมใจกันปฏิบัติมาช้านาน กิจกรรมเหล่านั้นได้แก่
- วันที่ 3 มิถุนายน ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี[17]
- วันที่ 28 กรกฎาคม ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
- วันที่ 12 สิงหาคม ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- วันที่ 23 ตุลาคม ถวายบังคมเนื่องในวันปิยมหาราช
- วันที่ 25 พฤศจิกายน ถวายบังคมเนื่องในวันมหาธีรราชเจ้า
- วันที่ 10 ธันวาคม วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ[37]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30
- ↑ "JaturamitrLIVE การแข่งขันฟุตบอลประเพณี จตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 27". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-17. สืบค้นเมื่อ 2014-11-08.
- ↑ 3.0 3.1 จตุรมิตรฯครั้งที่ 16 นัดชิงฯ BCC vs AC สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2560.
- ↑ บอลจตุรมิตรยิ่งใหญ่! อสช.เปิดสนามสวนกุหลาบฯ 15 พ.ย.
- ↑ "ช่อง 13 ถ่ายทอดสดฟุตบอล จตุรมิตรสามัคคี 11-18 พ.ย." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-14. สืบค้นเมื่อ 2017-11-18.
- ↑ “50ปีสี่พี่น้องต่างปองรักกัน” ฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ 27 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30
- ↑ “50ปีสี่พี่น้องต่างปองรักกัน” ฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ 27 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "JaturamitrLIVE การแข่งขันฟุตบอลประเพณี จตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 27". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-17. สืบค้นเมื่อ 2014-11-08.
- ↑ บอลจตุรมิตรยิ่งใหญ่! อสช.เปิดสนามสวนกุหลาบฯ 15 พ.ย.
- ↑ "ช่อง 13 ถ่ายทอดสดฟุตบอล จตุรมิตรสามัคคี 11-18 พ.ย." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-14. สืบค้นเมื่อ 2017-11-18.
- ↑ ประวัติและความเป็นมา เก็บถาวร 2014-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 27 ตุลาคม 2552.
- ↑ 13.0 13.1 Kamonmaitrichit, Chatchawan; Loetwutthisakun, Raphiwat (1 November 2007). "จตุรมิตรสามัคคี ฤาชื่อจะเหลือเพียงตำนาน" [Jaturamitr Samakkee - soon to be a legend?]. MGR Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2018. สืบค้นเมื่อ 31 March 2018.
- ↑ จตุรมิตรครั้งที่ 7 ไม่มีการชิงชนะเลิศ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 2 ธันวาคม 2555.
- ↑ "จตุรมิตรครั้งที่ 7 ไม่มีการชิงชนะเลิศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-12-02.
- ↑ หลักฐานการมีอยู่ของการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ 8 พ.ศ. 2517
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 สูจิบัตรการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2562
- ↑ เด็กเทพนรกแตก : ตามหาเหล่าแข้งเทพศิรินทร์ ชุดแชมป์ร่วมจตุรมิตรครั้งสุดท้ายในตำนาน[ลิงก์เสีย] สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2560.
- ↑ เปิดหัวบอลจตุรมิตรสามัคคีอัสสัมชัญฟัดเทพศิรินทร์ 12 พ.ย. นี้[ลิงก์เสีย] สืบค้น 23 พฤศจิกายน 2559.
- ↑ จตุรมิตรสามัคคีเลื่อนเตะไปปี 61
- ↑ กำหนดจัดแข่งขันจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 28 (เดิม)
- ↑ กำหนดจัดแข่งขันจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 28 (ใหม่)
- ↑ อัสสัมชัญ คว้าแชมป์ฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 28 สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2560
- ↑ กำหนดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 29 (เดิม)
- ↑ ที่นั่ง มิสซาร่วมกับโป๊ปฟรังซิสในสนามศุภฯ เต็มทุกที่นั่งแล้ว
- ↑ โปรดเกล้าฯ สมเด็จพระสันตะปาปาเข้าเฝ้า 21 พ.ย.นี้
- ↑ การประชุมคณะกรรมการจัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 29 ณ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2562 มีมติเลื่อนการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ 29 เร็วขึ้น 1 สัปดาห์ (ใหม่)
- ↑ กำหนดจัดแข่งขันจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 29 "เราทำความดีด้วยหัวใจ" (กำหนดการใหม่)
- ↑ 45ปีที่รอคอย! ‘เทพศิรินทร์’ คว้าแชมป์เดี่ยวจตุรมิตรสามัคคี หลังสอย กรุงเทพคริสเตียน 2-0 สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2562
- ↑ เทพศิรินทร์ คว้าแชมป์เดี่ยวจตุรมิตรสามัคคี สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2562
- ↑ กำหนดจัดแข่งขันจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 "สร้างความดีสู่วิถีชีวิตใหม่"
- ↑ ประกาศเลื่อนการจัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 ไปเป็นปีการศึกษา 2565
- ↑ ฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 ประกาศกลับมาจัดการแข่งขัน 12-19 พ.ย.นี้ที่สนามศุภชลาศัย
- ↑ แถลงการณ์คณะกรรมการการจัดการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 เลื่อนการแข่งขันไปเป็นปีการศึกษา 2566
- ↑ เลื่อนจัด ‘จตุรมิตรสามัคคี’ ครั้งที่ 30 อีกรอบ เป็นปีการศึกษา 2566 ห่วงการรวมตัวทำ น.ร.ติดโควิด
- ↑ หนังสือ Unseen จตุรมิตร 48 ปี แห่งเกียรติภูมิ, หน้า 124
- ↑ วารสารการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 28 (พ.ศ. 2560)[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา |