ข้ามไปเนื้อหา

นายกรัฐมนตรีไทย

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นายกรัฐมนตรีของไทย)

นายกรัฐมนตรี
แห่งราชอาณาจักรไทย
ตราประจำตำแหน่ง
ธงประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
แพทองธาร ชินวัตร
ตั้งแต่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567
รัฐบาลไทย
สำนักนายกรัฐมนตรี
การเรียกขานท่านนายกรัฐมนตรี
(ไม่เป็นทางการ)
ฯพณฯ
(ทางการ)
ท่านผู้นำ
(การทูตระหว่างประเทศ)
สมาชิกของคณะรัฐมนตรีไทย
สภาความมั่นคงแห่งชาติ
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
จวนบ้านพิษณุโลก
ที่ว่าการทำเนียบรัฐบาล
ผู้เสนอชื่อสภาผู้แทนราษฎร
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระ4 ปี
(รวมกันไม่เกิน 8 ปี)
ตราสารจัดตั้งพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
ตำแหน่งก่อนหน้าประธานคณะกรรมการราษฎร
ผู้ประเดิมตำแหน่งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
สถาปนา28 มิถุนายน พ.ศ. 2475; 92 ปีก่อน (2475-06-28)
รองรองนายกรัฐมนตรีไทย
เงินตอบแทน125,590 บาท[1][2]
เว็บไซต์thaigov.go.th

นายกรัฐมนตรีไทย เป็นประธานคณะรัฐมนตรี และทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาล[3] โดยมีจุดกำเนิดมาจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนปัจจุบันคือ แพทองธาร ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย ได้รับการลงมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567

โดยปกติแล้วนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยจะมีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งโดยหลักแล้วถือว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการแต่งตั้งทางอ้อมโดยประชาชน แต่บทเฉพาะกาลมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาในช่วงปี พ.ศ. 2562 – 2567

ประวัติ

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีขึ้นภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เรียกว่า "ประธานคณะกรรมการราษฎร" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475[4] อย่างไรก็ตาม มีการวิจารณ์อย่างหนักว่าชื่อตำแหน่งดังกล่าวเหมือนกับตำแหน่งประธานคณะกรรมการราษฎรแห่งสหภาพโซเวียต[5] ส่งผลให้ในเวลาต่อมา ก็เปลี่ยนมาเรียกว่า "นายกรัฐมนตรี" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 [6] โดยมีตราประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตราราชสีห์คชสีห์รักษารัฐธรรมนูญ และเป็นตราประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติที่มาของนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุว่านายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกของสภาผู้แทนราษฎร และมีบทเฉพาะกาลให้วุฒิสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (วาระปี 2562–67) มีส่วนเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย

การปฏิบัติหน้าที่

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้กำหนดวาระของนายกรัฐมนตรีว่า นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง"[7]

นายกรัฐมนตรีอาจพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตตินี้ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปไว้ด้วย เมื่อเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหลีกหนีการอภิปราย เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้เสียงครบ หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง และมีผลให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงทั้งคณะด้วย

การรักษาราชการแทน

ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 41 กำหนดให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการ ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคนให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน[8] และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 168 ได้กำหนดเพิ่มเติมว่า หากคณะรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือลาออกทั้งคณะ ให้ปลัดกระทรวงปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐมนตรีว่าการและให้ปลัดกระทรวงคัดเลือกกันเองให้คนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี

สถานที่ปฏิบัติงานและบ้านพัก

นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยปฏิบัติหน้าที่ ณ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 27 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา

สำหรับบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย คือ บ้านพิษณุโลก ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกประจำราชสำนักสยามชาวอิตาลี มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน

รองนายกรัฐมนตรี

รองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ในการกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย รวมทั้งเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (เรียงตามลำดับรองนายกรัฐมนตรีดังนี้)

ตำแหน่ง รายชื่อ พรรคการเมือง เริ่มดำรงตำแหน่ง ตำแหน่งที่สอง กระทรวงที่กำกับดูแล
รองนายกรัฐมนตรี ภูมิธรรม เวชยชัย พรรคเพื่อไทย 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (ครม. 63)
3 กันยายน พ.ศ. 2567 (ครม. 64)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 63)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม. 64)
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ พรรคเพื่อไทย 27 เมษายน พ.ศ. 2567 (ครม. 63)
3 กันยายน พ.ศ. 2567 (ครม. 64)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 63)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 64)
อนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (ครม. 62)
1 กันยายน พ.ศ. 2566 (ครม. 63)
3 กันยายน พ.ศ. 2567 (ครม. 64)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ครม. 62)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 63)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 64)
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค พรรครวมไทยสร้างชาติ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (ครม. 63)
3 กันยายน พ.ศ. 2567 (ครม. 64)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ครม. 63)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ครม. 64)
พิชัย ชุณหวชิร พรรคเพื่อไทย 27 เมษายน พ.ศ. 2567 (ครม. 63)
3 กันยายน พ.ศ. 2567 (ครม. 64)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 63)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 64)
ประเสริฐ จันทรรวงทอง พรรคเพื่อไทย 3 กันยายน พ.ศ. 2567 (ครม. 64) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ครม. 63)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ครม. 64)

รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย

อดีตนายกรัฐมนตรีไทยที่ยังมีชีวิตอยู่

ปัจจุบันมีอดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งสิ้น 12 คน มีรายชื่อดังต่อไปนี้

ส่วนราชการในบังคับบัญชา

ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545

เชิงอรรถ

อ้างอิง

  1. พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538/บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการการเมือง, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
  2. พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554/บัญชีอัตราตำแหน่งและเงินเดือนข้าราชการการเมือง, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
  3. อภิชาติ คุณวัฒน์บัณฑิต,ประวัติสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, เอกสารวิชาการส่วนบุคคล:สถาบันพระปกเกล้า
  4. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
  5. ไทยรัฐ. ก่อนจะได้เรียก รัฐมนตรี 23 เมษายน 2562
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
  7. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เก็บถาวร 2017-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2562
  8. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
  9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐
  10. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๐/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมและกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
  11. ประกาศ คสช. ดึง 'บีโอไอ' ขึ้นตรงนายกรัฐมนตรี
  12. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๖/๒๕๖๐ เรื่อง การจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๒๖๑ ง พิเศษ หน้า ๑๖ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
  13. คำสั่งหัวหน้ำคณะรักษำควำมสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง กลไกในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสำมัคคีปรองดอง
  14. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๖๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๘ ตอน ๑๑ ก พิเศษ หน้า ๖ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น