ภาษาในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่กลุ่มภาษาในประเทศไทย

ภาษาในประเทศไทย มีผู้พูดหลายภาษาด้วยกัน โดยภาษาไทยภาคกลางเป็นภาษาที่มีผู้ใช้มากสุดควบคู่เป็นภาษาราชการ นอกจากนั้นยังมีภาษาถิ่นย่อย และภาษาอื่น ๆ อีกหลายตระกูลภาษา โดยรวม มีผู้ใช้ภาษาราว 71 ภาษาในประเทศไทย [1]

สำหรับภาษาตระกูลไทยนั้น ยังมีภาษาถิ่นย่อยหลัก เช่น ภาษาไทยภาคกลาง (รวมภาษาไทยโคราช), ภาษาไทยถิ่นใต้, ไทยอีสาน และ คำเมือง เป็นต้น ขณะเดียวกันก็มีภาษาจีนอีกหลายถิ่นย่อย เช่น จีนแต้จิ๋ว จีนกลาง จีนแคะ ภาษาจีนกวางตุ้ง

าษาที่พูดในประเทศไทย แยกตามตระกูลภาษา[แก้]

  1. ตระกูลภาษาขร้า-ไท : 90 % หรือ 55,000,000 คน
  2. ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก : 3% หรือ 2,000,000 คน
  3. ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน : 2% หรือ 1,009,500 คน
  4. ภาษาตระกูลทิเบต-พม่า : 1% หรือ 533,500 คน
  5. ภาษาม้ง-เมี่ยน : 0.2% หรือ 100,000 คน

ภาษาจาก 5 ตระกูลภาษาที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทย[2]

ขร้า-ไท ออสโตรเอเชียติก จีน-ทิเบต ออสโตรนีเชียน ม้ง-เมี่ยน
กะเลิง กะซอง กฺ๋อง มลายูปัตตานี ม้ง
ไทยถิ่นเหนือ กูย กะเหรี่ยง มอแกน/มอแกลน เมี่ยน
ไทดำ ขมุ กะชีน อูรักลาโว้ย
ญ้อ เขมรถิ่นไทย จีน
เขิน ชอง จีนฮ่อ
ไทยมาตรฐาน สะโอจ บีซู
ไทยโคราช มานิ พม่า
ตากใบ ซำเร ล่าหู่
ไทเลย โซ่ (ทะวืง) ลีซอ
ไทลื้อ โส้ อาข่า
ไทหย่า ญัฮกุร อึมปี้
ไทใหญ่ เยอ
ไทยถิ่นใต้ บรู
ผู้ไท ปลัง
พวน ปะหล่อง
ยอง มอญ
โย้ย มัลร-ปรัย
ลาวครั่ง มลาบรี
ลาวแง้ว ละเม็ต
ลาวตี้ ละว้า
ลาวเวียง ว้า
ลาวหล่ม เวียดนาม
ไทยถิ่นอีสาน
แสก

ภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้ภาษา[แก้]

ตารางต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงภาษาราชการของไทยและภาษาอื่น ๆ ที่มีผู้ใช้มากกว่า 400,000 คน ที่รัฐบาลไทยรายงานต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination) เมื่อปี 2554[2] ที่ส่วนใหญ่จะใช้แผนที่ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnolinguistic) ของประเทศไทย[3]

จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากรเมื่อปี พ.ศ. 2543 พบว่าสี่ภาษาที่มีผู้ใช้มากที่สุดมาจากตระกูลภาษาขร้า-ไทอันได้แก่ ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยถิ่นใต้ และไม่มีตัวเลือกสำหรับภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ แม้แต่ภาษาลาวก็ยังถูกจัดให้เป็นไทย[4] นอกจากนี้การแสดงออกทางเชื้อชาติของชาติพันธุ์ว่าเป็นลาวถือเป็นสิ่งต้องห้าม และชนกลุ่มนี้ได้ถือสัญชาติไทยมาราวร้อยปีแล้ว[5][6] สาเหตุก็เป็นเพราะสยามอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีวัฒนธรรมร่วมกับลาว เนื่องจากสงครามระหว่างสยามกับฝรั่งเศสในปี 2429 ที่คุกคามเอาดินแดนลาวซึ่งเป็นประเทศราชของสยามไปเป็นอาณานิคม หลังจากนั้นสยามจึงมีการสร้างเอกลักษณ์เป็นรัฐชาติสมัยใหม่โดยการเปลี่ยนคนเชื้อสายลาวในไทยให้เป็นคนไทยลุ่มเจ้าพระยาหรือไทยสยามตามแนวคิดมหาอาณาจักรไทย (Greater Thai Empire) อย่างน้อยก็ช่วงปี 2445[7]

ประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 5 ขวบขึ้นไปแบ่งตามภาษา (สถิติของสหประชาชาติ 2543)[8]
ภาษา ตระกูลภาษา จำนวนผู้ใช้
ไทย ขร้า-ไท 52,325,037
เขมร ออสโตรเอเชียติก 1,291,024
มลายู ออสโตรนีเซียน 1,202,911
กะเหรี่ยง จีน-ทิเบต 317,968
จีน จีน-ทิเบต 231,350
ม้ง ม้ง-เมี่ยน 112,686
ล่าหู่ จีน-ทิเบต 70,058
พม่า จีน-ทิเบต 67,061
อาข่า จีน-ทิเบต 54,241
อังกฤษ อินโด-ยูโรเปียน 48,202
ไต ขร้า-ไท 44,004
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 38,565
ละว้า ออสโตรเอเชียติก 31,583
ลีซอ จีน-ทิเบต 25,037
เวียดนาม ออสโตรเอเชียติก 24,476
เย้า ม้ง-เมี่ยน 21,238
ขมุ ออสโตรเอเชียติก 6,246
อินเดีย อินโด-ยูโรเปียน 5,598
จีนฮ่อ จีน-ทิเบต 3,247
ถิ่น ออสโตรเอเชียติก 2,317
อื่น ๆ 33,481
ไม่ทราบ 325,134
รวม: 56,281,538

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Bradley, D. 2007. East and Southeast Asia. In C. Moseley (ed.), Encyclopedia of the world’s endangered languages, pp. 349–424. London: Routledge.
  • Bradley, D. 2007. Languages of Mainland South-East Asia. In O. Miyaoka, O. Sakiyama, and M. E. Krauss (eds.), The vanishing languages of the Pacific Rim, pp. 301–336. Oxford Linguistics. Oxford: Oxford University Press.
  • Ethnolinguistic Maps of Thailand. 2004. (in Thai). Office of the National Culture Commission, Bangkok.
  • Lebar, F. M., G. C. Hickey, and J. K. Musgrave. 1964. Ethnic groups of mainland Southeast Asia. New Haven: Human Relations Area Files Press (HRAF).
  • Luangthongkum, Theraphan. 2007. The Position of Non-Thai Languages in Thailand. In Lee Hock Guan & L. Suryadinata (Eds.), Language, nation and development in Southeast Asia (pp. 181-194). Singapore: ISEAS Publishing.
  • Matisoff, J. A. 1991. Endangered languages of Mainland Southeast Asia. In R. H. Robins and E. M. Uhlenbeck (eds.), Endangered languages, pp. 189–228. Oxford: Berg Publishers.
  • Matisoff, J. A., S. P. Baron, and J. B. Lowe. 1996. Languages and dialects of Tibeto-Burman. Sino-Tibetan Etymological Dictionary and Thesaurus Monograph Series 1 and 2. Berkeley: University of California Press.
  • Smalley, W. 1994. Linguistic Diversity and National Unity: Language Ecology in Thailand. Chicago: University of Chicago Press.
  • Suwilai Premsrirat. 2004. "Using GIS For Displaying An Ethnolinguistic Map of Thailand." In Papers from the Eleventh Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society, edited by Somsonge Burusphat. Tempe, Arizona, 599-617. Arizona State University, Program for Southeast Asian Studies.

อ้างอิง[แก้]

  1. "Thailand". Ethnologue.
  2. 2.0 2.1 2.2 International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination; Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention: Thailand (PDF) (ภาษาอังกฤษ และ ไทย). United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 28 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "CERD/C/THA/1-3" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. Ethnolinguistic Maps of Thailand (PDF). Office of the National Culture Commission. 2004. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
  4. Luangthongkum, Theraphan. (2007). The Position of Non-Thai Languages in Thailand. In Lee Hock Guan & L. Suryadinata (Eds.), Language, nation and development in Southeast Asia (pp. 181-194). Singapore: ISEAS Publishing.
  5. Breazeale, Kennon. (1975). The integration of the Lao states. PhD. dissertation, Oxford University.
  6. Grabowsky, Volker. (1996). The Thai census of 1904: Translation and analysis. In Journal of the Siam Society, 84(1): 49-85.
  7. Streckfuss, D. (1993). The mixed colonial legacy in Siam: Origins of Thai racialist thought, 1890-1910. In L. J. Sears (Ed.), Autonomous histories, particular truths: Essays in honor of John R. W. Smail (pp.123-154). Madison, Wisconsin: University of Wisconsin-Madison.
  8. Population by language, sex and urban/rural residence, UNSD Demographic Statistics, United Nations Statistics Division, UNdata, last update 5 July 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]