ประธานาธิบดีเติร์กเมนิสถาน
ประธานาธิบดีและหัวหน้าคณะรัฐมนตรี แห่งเติร์กเมนิสถาน | |
---|---|
Türkmenistanyň prezidenti | |
ธงประจำตำแหน่ง | |
สมาชิกของ | • คณะรัฐมนตรี • คณะมนตรีความมั่นคงแห่งรัฐ |
จวน | ทำเนียบประธานาธิบดีโอกุซข่าน |
ที่ว่าการ | อาชกาบัต |
ผู้แต่งตั้ง | ผลโหวตยอดนิยมโดยตรง |
วาระ | 7 ปี สามารถต่อสมัยได้ |
สถาปนา | 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน) 27 ตุลาคม ค.ศ. 1991 (เติร์กเมนิสถาน) |
คนแรก | ซาปาร์มือรัต นือยาซอว์ |
ตำแหน่งที่มาแทน | ประธานสมัชชาเติร์กเมนิสถาน |
รอง | รองประธานาธิบดีเติร์กเมนิสถาน |
เงินตอบแทน | 10,800 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี[1] |
ประธานาธิบดีเติร์กเมนิสถาน (เติร์กเมน: Türkmenistanyň prezidenti) มีชื่อทางการว่า ประธานาธิบดีและหัวหน้าคณะรัฐมนตรีเติร์กเมนิสถาน เป็นตำแหน่งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของประเทศเติร์กเมนิสถาน ประธานาธิบดียังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเติร์กเมนิสถานกับประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งรัฐด้วย
ปัจจุบัน ผู้ดำรงตำแหน่งนี้คือเซร์ดาร์ เบร์ดือมูฮาเมดอว์ ประธานาธิบดีคนที่สามในประวัติศาสตร์ของประเทศนับตั้งแต่เป็นเอกราชหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 เขาดำรงตำแหน่งต่อจากกูร์บันกูลือ เบร์ดือมูฮาเมดอว์ พ่อของเขาที่ลงจากตำแหน่งใน ค.ศ. 2022 หลังดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 15 ปี ในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2022 เซร์ดาร์ได้รับคะแนนเสียง 72.97% ต่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งคนอื่นเก้าคน[2] ประเทศนี้ผ่านร่างปฏิรูปที่ยุบการจำกัดวาระของประธานาธิบดีและยกเลิกข้อจำกัดที่อายุต่ำกว่า 70 ปีใน ค.ศ. 2016 และขยายสมัยดำรงตำแหน่งจาก 5 ปีไปเป็น 7 ปี[3]
ความต้องการและการถอดถอนออกจากตำแหน่ง
[แก้]ความต้องการของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเติร์กเมนิสถานต้องเป็นไปตามเงื่อนไขนี้:[4]
- ต้องเกิดในประเทศเติร์กเมนิสถาน
- ต้องพูดภาษาเติร์กเมนได้อย่างเชี่ยวชาญ
- ต้องมีอายุอย่างน้อย 40 ปี
- ต้องอาศัยอยู่ในประเทศเติร์กเมนิสถานต่อเนื่องเป็นเวลา 15 ปี
- ต้องได้รับจ้าง
อำนาจของประธานาธิบดีเติร์กเมนิสถานอาจถูกยกเลิกตามรัฐธรรมนูญเติร์กเมน มาตรา 57 ในกรณีที่ประธานาธิบดี:
- ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากเจ็บไข้ได้ป่วย
- ละเมิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายมหาชน
- การอภิปรายไม่ไว้วางใจประธานาธิบดี
ถ้าประธานาธิบดีถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง ประธานสมัชชาจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรักษาการ โดยจะต้องมีการจัดการเลือกตั้งไม่นานกว่า 60 วันนับตั้งแต่วันถอดถอน
รายนาม
[แก้]ลำดับ | ชื่อ (เกิดและเสียชีวิต) |
ภาพ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | จำนวนปีและวันที่ดำรงตำแหน่ง | การเลือกตั้ง | พรรคการเมือง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ซาปาร์มือรัต นือยาซอว์ (ค.ศ. 1940–2006) |
2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 | 21 ธันวาคม ค.ศ. 2006 (เสียชีวิตในตำแหน่ง) |
16 ปี 49 วัน | 1990 | คอมมิวนิสต์ | |
1992 | ประชาธิปไตย | ||||||
- | กูร์บันกูลือ เบร์ดือมูฮาเมดอว์ (ค.ศ. 1957–) |
21 ธันวาคม ค.ศ. 2006 | 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 | 0 ปี 55 วัน | _ | ประชาธิปไตย | |
2 | 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 | 19 มีนาคม ค.ศ. 2022 | 15 ปี 33 วัน | 2007 2012 | |||
2017 | อิสระ | ||||||
3 | เซร์ดาร์ เบร์ดือมูฮาเมดอว์ (1981–) |
19 มีนาคม ค.ศ. 2022 | ดำรงตำแหน่ง | 2 ปี 261 วัน | 2022 | ประชาธิปไตย |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Зарплата для избранных". www.kommersant.ru. 9 October 2006.
- ↑ "Turkmenistan leader's son wins presidential election". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). Associated Press. 15 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2022. สืบค้นเมื่อ 15 March 2022.
- ↑ "The president of Turkmenistan wins re-election with 98% of the vote". The Economist. สืบค้นเมื่อ 2017-02-26.
- ↑ "Законодательство - «Туркменистан: золотой век»". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2012.