ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
Strategic Transformation Office (STO)
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561; 5 ปีก่อน (2561-11-26)
สำนักงานใหญ่59 อาคารสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ก.พ. (เดิม) ชั้น 4 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ชุติมา หาญเผชิญ[1], ผู้อำนวยการ
  • ดร. ศุภฤกษ์ ภู่พงศ์ศักดิ์, รองผู้อำนวยการ[2]
  • รานี อิฐรัตน์, ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดหน่วยงานสำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือ สำนักงาน ป.ย.ป. (อังกฤษ: Strategic Transformation Office) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2561 เรื่อง กลไกในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561[3] เพื่อกำกับดูแลและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 65 โดยถูกกำหนดให้มีการพิจารณาความจำเป็นและเหมาะสมเกี่ยวกับบทบาท อำนาจและหน้าที่เมื่อครบกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง[4] โดยในปัจจุบันยังทำหน้าที่เป็นฝ่ายธุรการให้แก่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[5]

บทบาทและภารกิจของสำนักงาน ป.ย.ป.

[แก้]

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2561 กำหนดให้สำนักงาน ป.ย.ป. มีอำนาจหน้าที่ดังนี้[6]

  1. เสนอแนะมาตรการและแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหา รวมถึงติดตามความก้าวหน้าของการดำเนิน งาน ตามมติของคณะกรรมการและคณะกรรมการ
  2. บูรณาการข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทและแผนการสร้างความสามัคคีปรองดอง
  3. ประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
  4. รับเรื่องร้องเรียนหรือร้องทุกข์จากประชาชนที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนการสร้างความสามัคคี ปรองดองของหน่วยงานของรัฐ
  5. จัดฝึกอบรมและประเมินผลหลักสูตรการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูป ประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ทุกระดับ
  6. เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
  7. ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

สำนักงาน ป.ย.ป. ยังมีบทบาทหลักในการติดตามผลการดำเนินงานของแต่ละกระทรวงต่าง ๆ ให้เกิดการทำงานอย่างประสานสอดคล้องเป็นเอกภาพภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. มติคณะรัฐมนตรี 14 กุมภาพันธ์ 2566
  2. สรุปมติ ครม.7 กุมภาพันธ์ 2566
  3. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2561
  4. 'วิษณุ' แจงตั้ง สนง.ป.ย.ป.มีอายุ 5 ปี ย้ำไม่ใช่เครื่องมือทางการเมือง
  5. "คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ เคาะหลักการ-งบฯ จัดกิจกรรมสำคัญ". บมจ.อสมท. สำนักข่าวไทย. 9 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "อำนาจหน้าที่ | สำนักงาน ป.ย.ป (sto.go.th)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-03. สืบค้นเมื่อ 2023-02-03.
  7. นายกฯ บี้ สำนักงาน ป.ย.ป. “ต้องรู้ทุกเรื่อง” ตามงานทุกกระทรวง