รายชื่อภัยพิบัติในประเทศไทย
ข้อมูลต่อไปนี้เป็นรายชื่อเหตุการณ์ภัยพิบัติทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและด้วยมนุษย์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย (ตัวเลขนี้อาจเป็นการประมาณ)
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ[แก้]

เหตุการณ์ | วันที่ | สถานที่ | จำนวนผู้เสียชีวิต | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
พายุไต้ฝุ่นเว้ | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2495 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2495 | จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดสมุทรปราการ | N/A | |
พายุโซนร้อนแฮเรียต | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2505 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2505 | 14 จังหวัด | 935 | |
พายุโซนร้อนรูท | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 | อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี | 138[1] | |
อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2526 | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2526 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 | 42 จังหวัด | 49 | |
พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) | 4 พฤศจิกายน 2532 - 10 พฤศจิกายน 2532 | 4 จังหวัด | 602 | |
อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2538 | 6 สิงหาคม 2538 - 15 พฤศจิกายน 2538 | 68 จังหวัด | 260 | |
พายุไต้ฝุ่นลินดา | 30 ตุลาคม 2540 - 10 พฤศจิกายน 2540 | 5 จังหวัด | 9 | |
อุทกภัยที่อำเภอหาดใหญ่ พ.ศ. 2543 | 21 - 23 พฤศจิกายน 2543 | อำเภอหาดใหญ่ | 35 | |
อุทกภัยและดินโคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ | 10-18 สิงหาคม 2544 | อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ | 131 (สูญหายอีก 5 คน) | |
อุทกภัยจากพายุจันทู | 13-17 มิถุนายน 2547 | ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 2[2] | |
อุทกภัยจากพายุไต้ฝุ่นช้างสารที่อ่อนกำลังลงแล้วพัดผ่านประเทศไทย | 27 สิงหาคม - 16 ตุลาคม 2549 | 47 จังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา | 314[3] | |
อุทกภัยและโคลนถล่ม 5 จังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง พ.ศ. 2549 | 22 พฤษภาคม 2549 - 23 พฤษาคม 2549 | 5 จังหวัด | 87 | |
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 | 26 ธันวาคม 2547 | จังหวัดในภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน โดยเฉพาะภูเก็ต พังงา และกระบี่ | 5,395 (สูญหายอีก 2,817 คน) | |
อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553 | ตุลาคม - ธันวาคม 2553 | จังหวัดในภาคเหนือและภาคใต้ โดยเฉพาะนครราชสีมาและหาดใหญ่ | 260 | |
อุทกภัยและดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2554 | 23 มีนาคม 2554 - 31 มีนาคม 2554 | 7 จังหวัด | 64 | |
อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 | 25 กรกฎาคม 2554 – 16 มกราคม 2555 | 77 จังหวัด | 815 | |
อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2555 | 28 พฤษภาคม 2555 – 20 กันยายน 2555 | 26 จังหวัด | 6 | |
แผ่นดินไหวในอำเภอแม่ลาว พ.ศ. 2557 | 5 พฤษภาคม 2557 | เชียงราย | 2 | |
พายุโซนร้อนปาบึก (พ.ศ. 2562) | 31 ธันวาคม 2561 - 8 มกราคม 2562 | 18 จังหวัด | 8 | |
พายุเตี้ยนหมู่ | 23 กันยายน 2564 - 4 ตุลาคม 2564 | 31 จังหวัด | 9 | [4] |
พายุมู่หลัน | 1 สิงหาคม 2565 - 15 สิงหาคม 2565 | 5 จังหวัด | 2 | [5][6] |
พายุโนรู | 28 กันยายน 2565 - 4 ตุลาคม 2565 | 14 จังหวัด | 3 | [7] |
ภัยพิบัติที่เกิดจากอุบัติเหตุ[แก้]
- 21 สิงหาคม 1977: เหตุรถไฟชนกันที่ตลิ่งชัน พ.ศ. 2522 เสียชีวิต 51 ราย
- 27 เมษายน 1980:เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 231 ตกที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เสียชีวิต 44 ราย
- 16 พฤศจิกายน 1980: โรงงานผลิตจรวดกรมสรรพาวุธทหารบก เกิดระเบิดขึ้นมีผู้เสียชีวิต 38 ราย
- 15 เมษายน 1985:เหตุเดินอากาศไทยตกที่จังหวัดพังงา พ.ศ. 2528 ตกที่อำเภอท้ายเหมือง เสียชีวิต 11 ราย
- 8 พฤศจิกายน 1986: เหตุหัวรถจักรชนสถานีกรุงเทพ พ.ศ. 2529 เสียชีวิต 4 ราย
- 31 สิงหาคม 1987:เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 365 ตกที่จังหวัดภูเก็ต เสียชีวิต 83 ราย
- 16 ธันวาคม 1987: รถสิบล้อบรรทุกทราย ชนกับรถโดยสารประจำทางสาย 1067 วิ่งระหว่างแฮปปี้แลนด์ - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เหตุเกิดบนถนนร่มเกล้า เขตมีนบุรี มีผู้เสียชีวิต 21 รายนับเป็นอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงในกรุงเทพมหานคร[8]
- 31 พฤษภาคม 1988: เหตุการณ์รถบรรทุกหินชนรถไฟที่ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เสียชีวิต 26 คน
- 23 พฤษภาคม 1989: เหตุการณ์รถไฟตกเหวที่จังหวัดลำปาง พ.ศ. 2532 เสียชีวิต 8 ราย
- 24 กันยายน 1990: เหตุการณ์แก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พ.ศ. 2533 มีผู้เสียชีวิต 88 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก
- 15 กุมภาพันธ์ 1991: เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกเชื้อปะทุ (แก๊ป) พลิกคว่ำ ทำให้เชื้อปะทุระเบิด ที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีผู้เสียชีวิต 207 คน
- 2 มีนาคม 1991: สารเคมีระเบิดที่ท่าเรือคลองเตย กรุงเทพมหานคร มีผู้เสียชีวิต 60 คน และบาดเจ็บ 100 คน
- 26 พฤษภาคม 1991: เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004 ตกในอำเภอด่านช้าง สุพรรณบุรี เสียชีวิตทั้งลำ 223 คน
- 8 มีนาคม 1992: เกิดเรือชนกันครั้งใหญ่ที่อำเภอศรีราชา มีผู้เสียชีวิต 119 ราย
- 10 พฤษภาคม 1993: เหตุเพลิงไหม้โรงงานเคเดอร์ นครปฐม มีผู้เสียชีวิตเป็นคนงาน 188 คนและบาดเจ็บมากกว่า 500 คน สาเหตุเกิดจากความบกพร่องและไม่ได้มาตรฐานของสภาพโรงงาน
- 13 สิงหาคม 1993: เหตุโรงแรมรอยัลพลาซาถล่ม นครราชสีมา มีผู้เสียชีวิต 137 คนและบาดเจ็บ 227 คน เกิดจากการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับมาตรฐาน
- 14 มีนาคม 1995: เหตุโป๊ะล่มที่ท่าพรานนก ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หลังน้ำหนักเกินกำหนด มีผู้เสียชีวิต 29 คนและบาดเจ็บ 37 คน
- 23 กุมภาพันธ์ 1997: อาคารเพรสซิเด้นท์ ทาวเวอร์ เขตปทุมวัน เกิดเพลิงไหม้ มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 101 ราย
- 11 กรกฎาคม 1997: เหตุเพลิงไหม้โรงแรมรอยัล จอมเทียน รีสอร์ต พัทยา หาดจอมเทียน พัทยา ชลบุรี มีผู้เสียชีวิต 91 คนและบาดเจ็บ 53 คน
- 11 ธันวาคม 1998: การบินไทย เที่ยวบินที่ 261 ตกขณะกำลังลงจอดที่สนามบินสุราษฎร์ธานี ผู้เสียชีวิต 101 คนจาก 146 ผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่การบิน
- 19 กันยายน 1999: โพแทสเซียมคลอไรด์ระเบิดในโรงงานลำไยกระป๋องในเชียงใหม่ มีผู้เสียชีวิต 35 คน
- กุมภาพันธ์ 2000: เหตุกัมมันตรังสีรั่วไหลที่สมุทรปราการ เกิดจากสารกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60 ที่ถูกกำจัดโดยไม่ถูกวิธี มีผู้เสียชีวิต 3 คน และบาดเจ็บ 7 คน
- 6 มีนาคม 2000: แก๊สฟอสจีนรั่วที่โรงงานพอลีคาร์บอเนตในเทศบาลเมืองมาบตาพุด ระยอง มีผู้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บ 814 คน
- 3 มีนาคม 2001: การบินไทย เที่ยวบินที่ 114 มีผู้เสียชีวิต 1 ราย
- 25 ตุลาคม 2001: คลังแสงระเบิดที่อำเภอปากช่อง นครราชสีมา มีผู้เสียชีวิตเป็นเจ้าหน้าที่ 17 นายและประชาชน 1 คน บาดเจ็บมากกว่า 100 คน
- 16 กันยายน 2007: วัน-ทู-โก เที่ยวบินที่ 269 ตกที่สนามบินภูเก็ต มีผู้เสียชีวิต 90 คนจาก 130 คนบนเครื่องบิน
- 8 เมษายน 2008: การลักลอบค้ามนุษย์โดยขนส่งแรงงานชาวพม่าอย่างผิดกฎหมายที่ ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ ระนอง ส่งผลให้แรงงานชาวพม่าที่ลอบข้ามพรมแดนเสียชีวิต 54 คน[9]
- 1 มกราคม 2009: เหตุเพลิงไหม้ซานติก้าผับ มีผู้เสียชีวิต 67 คน
- 14 มีนาคม 2009: เหตุรถไฟชนรถโรงเรียนที่แยกบ้านหนองเเสง ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บสาหัส 5 ราย บาดเจ็บ 12 ราย[10]
- 27 ธันวาคม 2010: เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553 มีผู้เสียชีวิต 9 ราย
- 23 ตุลาคม 2013: รถทัวร์ตกเหวที่ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปางมีผู้เสียชีวิต 23 ราย[11]
- 24 มกราคม 2014: เหตุดอกไม้ไฟระเบิดที่อุทยานมังกรสวรรค์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี มีผู้เสียชีวิต 4 ราย
- 24 มีนาคม 2014: เหตุรถตกเหวที่อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก มีผู้เสียชีวิต 32 ราย
- 2 เมษายน 2014: เหตุระเบิดในร้านรับซื้อของเก่าในซอยลาดปลาเค้า 72 มีผู้เสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 20 ราย
- 11 สิงหาคม 2014: อาคารระหว่างก่อสร้างใน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีถล่ม มีผู้เสียชีวิต 14 คน[12]
- 13 มีนาคม 2016: เหตุการณ์ถังบรรจุสารเคมีดับเพลิงชนิดไพโรเจนที่ชั้นใต้ดินของอาคารเอสซีบีปาร์คเกิดระเบิด ทำให้สารรั่วไหล ส่งผลให้คนงานเข้ามาปรับปรุงระบบขาดอากาศหายใจ เหตุการณ์นี้มีเสียชีวิต 8 ราย บาดเจ็บ 7 ราย[13]
- 2 มกราคม 2017: เกิดเหตุรถตู้ชนรถกระบะที่ ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง มีผู้เสียชีวิต 25 ราย
- 20 มีนาคม 2017: เกิดเหตุรถทัวร์โดยสารไฟไหม้และพลิกคว่ำมีผู้เสียชีวิต 30 ราย ที่ อำเภอมวกเหล็ก[14]
- 5 กรกฎาคม 2018: เหตุเรือนักท่องเที่ยวล่ม ภูเก็ต มีผู้เสียชีวิตเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน 47 คน[15]
- 11 ตุลาคม 2020: เหตุการณ์รถไฟขนส่งสินค้าชนรถบัสคณะกฐิน อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา มีผู้เสียชีวิต 20 ราย บาดเจ็บ 40 ราย[16]
- 22 ตุลาคม 2020: เหตุการณ์ท่อส่งแก๊สระเบิดใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 10 ราย[17]
- 5 มิถุนายน 2021: เหตุโรงงานผลิตโฟมระเบิดในซอยกิ่งแก้ว 21 อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และต้องอพยพประชาชนในรัศมี 5 กิโลเมตรจากโรงงานออกจากพื้นที่[18][19]
- 5 สิงหาคม 2022 เหตุเพลิงไหม้เมาน์เทน บี บริเวณริมถนนสาย สุขุมวิทบางนา-ตราด หมู่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีผู้เสียชีวิต 24 ราย
- 18 ธันวาคม 2022 เรือหลวงสุโขทัย ล่มมีผู้เสียชีวิต 24 ราย ในวันเดียวกันเรือสินค้าชื่อเรืออนุภูมิ (ANUPHUM) บรรทุกตู้คอนเทรนเนอร์ล่มที่จังหวัดชุมพรมีผู้เสียชีวิต 1 ราย[20]
ภัยสงคราม[แก้]
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองประเทศไทยเคยประกาศภัยสงครามในปี พ.ศ. 2554[21]
- 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ถึง 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 - เกิดภัยสงครามสงครามระหว่างไทยกับกัมพูชา ทางการไทยมีผู้เสียชีวิต 19 ราย
ภัยมลพิษ[แก้]
กรีนพีซระบุว่ากรุงเทพมหานครมีระดับฝุ่นเกินเกณฑ์มาตรฐานใหม่ขององค์การอนามัยโลก 4.2 เท่า[22]ซึ่งส่งผลให้ประชากรป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ โรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง
ภัยโรคระบาด[แก้]
ในปี พ.ศ. 2528 ประเทศไทยมีการบันทึกการเสียชีวิตจากโรคระบาดอย่างเป็นทางการและเชื่อถือได้โดยมีผู้เสียชีวิต 40 รายจากโรคไข้หวัดใหญ่[23]
ในปี พ.ศ. 2545 - 2546 กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิต 2 ราย
ในปี พ.ศ. 2547 - 2549 โรคไข้หวัดนกระบาดในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตรวม 17 รายแบ่งเป็นเดือนมกราคมถึงตุลาคม พ.ศ. 2547 เสียชีวิต 12 ราย
เดือนกรกฏาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เสียชีวิต 2 ราย
เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2549 เสียชีวิต 3 ราย[24]
ในปี พ.ศ. 2552 การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตในปีนั้น 81 ราย[25]
เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2558 ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประเทศไทยพบผู้เป็นโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง 3 ราย
ใน เดือน มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึง 22 มกราคม พ.ศ. 2566 มีผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนที่เป็นทางการ 33,792 ราย และมีผู้เสียชีวิตภายหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 6 ราย[26]
วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 การระบาดของฝีดาษลิง พ.ศ. 2565 พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในไทยรายที่ 12
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พายุหมุนเขตร้อนในประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจากพายุดีเปรสชั่น "จันทู" ในเดือนมิถุนายน 2547
- ↑ รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า วันที่ 2 ธันวาคม 2549 เวลา 06.30 น.
- ↑ ฤทธิ์พายุ "เตี้ยนหมู่" ถล่ม33จังหวัด ชาวบ้าน 3 แสนครัวเรือน เดือดร้อน ดับ9ราย
- ↑ จังหวัดเชียงรายสรุปเหตุการณ์อุทกภัยจากพายุ มู่หลาน พร้อมเร่งหน่วยงานดำเนินการแก้ไขให้สถานการณ์กลับมาปกติดังเดิม
- ↑ ฤทธิ์ "พายุมู่หลาน" คลื่นใหญ่ซัดเรือประมงจมทะเลระนอง รอด 1 ดับ 1
- ↑ กรมป้องกันฯ เผย 14 จังหวัดยังจมน้ำจากอิทธิพลพายุ “โนรู” ยอดเสียชีวิต 3 ราย
- ↑ ย้อนรอยโศกนาฏกรรมสาย 1067 :: 16 ธันวาคม 2530
- ↑ "54 Burmese dead in trafficking horror". Phuket Gazette. April 10, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2013. สืบค้นเมื่อ September 29, 2018.
- ↑ "นร.บุรีรัมย์เหยื่อ "รถไฟ" ชน ตายเพิ่มเป็น 9 ศพ - ยังโคม่าอีก 5 ราย". ผู้จัดการออนไลน์. 16 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2009.
- ↑ คืบหน้าเหตุรถบัสตกเหวในจังหวัดลำปางตายแล้ว 23 ราย
- ↑ "Final building collapse death toll 14". Bangkok Post. Post Publishing PCL. 15 August 2014. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.
- ↑ "สรุปเหตุสลด 'เอสซีบีปาร์ค' คร่า8ศพ-เจ็บ7ราย". กรุงเทพธุรกิจ. Post Publishing PCL. 14 March 2016. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2021.
- ↑ แม่เหยื่อสลดรับศพลูกชาย แพทย์ระบุเหลืออีก 15 ศพยังพิสูจน์ไม่ได้
- ↑ "Last body of Phuket boat tragedy retrieved". The Nation (ภาษาอังกฤษ). 16 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-03. สืบค้นเมื่อ 10 August 2018.
- ↑ "จ่อทำบุญครบปี เหตุ รถไฟชนทัวร์กฐินดับ 20 ศพ ชาวบ้านเผยหวิดเกิดเหตุเดิมซ้ำซาก". ประชาชาติธุรกิจ. 14 พฤศจิกายน 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-25. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ท่อก๊าซ ปตท.ระเบิด ไฟลุกท่วม สมุทรปราการ เสียชีวิต 3 ราย". ประชาชาติธุรกิจ. 22 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2021.
- ↑ "ด่วน! จนท.ถอนกำลังหวั่นระเบิดซ้ำ สั่งอพยพรัศมี 5 กม. เหตุไฟไหม้โรงงานพลาสติก 'กิ่งแก้ว 21'". กรุงเทพธุรกิจ. 5 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2021.
- ↑ "ด่วน โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ ประกาศอพยพคนพ้นรัศมี 5 กม. หวั่นระเบิดซ้ำ". ไทยรํฐ. 5 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2021.
- ↑ จนท.นำเรือฝ่าคลื่นไปรับลูกเรือ-ศพ จากเรือน้ำมันที่ช่วยเหลือ-กลับคืนฝั่ง
- ↑ ประกาศให้พื้นที่อำเภอกันทรลักษณ์เป็นพื้นที่ภัยสงคราม
- ↑ ฝุ่น PM 2.5 : กรีนพีซชี้ กทม. มีระดับฝุ่นเกินเกณฑ์มาตรฐานใหม่ของ WHO 4.2 เท่า
- ↑ การระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่สำคัญของโลก
- ↑ สถิติภัยพิบัติย้อนหลัง10ปีของภัยแต่ละประเภทในประเทศไทย
- ↑ H1N1 FLU:สธ.เผยหวัด 09 คร่าชีวิตคนไทยอีก 16 ราย ยอดรวมเพิ่มเป็น 81 ราย
- ↑ ฉีดวัคซีนแล้วเสียชีวิต6ราย
- บันทึกเหตุการณ์ดินถล่ม เก็บถาวร 2020-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ดูเพิ่ม[แก้]
- รายชื่อของการสังหารหมู่ในประเทศไทย
- ยอดผู้เสียชีวิตจากยานพาหนะในประเทศไทยแบ่งตามปี
- อาชญากรรมในประเทศไทย
- ประวัติศาสตร์ไทยหลัง พ.ศ. 2544
![]() |
บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ |