พระมหากษัตริย์กัมพูชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
ព្រះមហាក្សត្រនៃព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា
อยู่ในราชสมบัติ
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี
ตั้งแต่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2004
รายละเอียด
พระราชอิสริยยศพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี เป็นเจ้าชีวิตเหนือหัว
กษัตริย์องค์แรกพระนางโสมา
สถาปนาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1
ที่ประทับ
ผู้แต่งตั้งกรมปรึกษาราชบัลลังก์
เว็บไซต์norodomsihamoni.org

พระมหากษัตริย์กัมพูชา (เขมร: ព្រះមហាក្សត្រកម្ពុជា พฺระมหากฺสตฺรกมฺพุชา; อังกฤษ: King of Cambodia) เรียกเต็มว่า พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (ព្រះមហាក្សត្រនៃព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระมหากฺสตฺรไนพฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศกัมพูชา มีพระราชอำนาจจำกัดในฐานะผู้นำเชิงสัญลักษณ์ซึ่งได้รับความเคารพจากสาธารณชน ทั้งทรงเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ เสถียรภาพ และสวัสดิภาพของชาวเขมร

นับแต่ ค.ศ. 1993 พระมหากษัตริย์กัมพูชาต้องทรงสืบสายโลหิตราชสกุลนโรดม (នរោត្តម นโรตฺตม) หรือราชสกุลสีสุวัตถิ์ (ស៊ីសុវតិ្ថ สีสุวตฺถิ) และมีพระชนมายุอย่างน้อย 30 พรรษา ซึ่งกรมปรึกษาราชบัลลังก์ (ក្រុមប្រឹក្សារាជបល្ល័ង្ กฺรุมบฺรึกฺสาราชบลฺลังฺ; Royal Council of the Throne) เลือกตั้งให้ขึ้นครองราชย์ จึงเป็นหนึ่งในไม่กี่ระบอบกษัตริย์ที่มีการเลือกตั้ง

บทบาท[แก้]

รัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 กำหนดให้บทบาทส่วนใหญ่ของพระมหากษัตริย์เป็นไปในทางพิธีการ โดยมาตรา 7 ระบุไว้ชัดเจนว่า "ให้ทรงปกเกล้า แต่ไม่ทรงปกครอง" (shall reign, but not govern)[1] และมาตรา 8 ว่า ให้ทรงเป็น "สัญลักษณ์แห่งความสามัคคีและความสืบเนื่องของชาติ" (symbol of national unity and continuity)[2]

รัฐธรรมนูญให้พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติพระราชกิจบางประการที่เกี่ยวเนื่องกับแผ่นดิน เช่น

  • มาตรา 119 ให้ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี[3]
  • มาตรา 82 ให้ทรงเปิดประชุมรัฐสภา (រដ្ឋសភា รฎฺฐสภา; National Assembly) ซึ่งเป็นสภาล่าง และพฤฒสภา (ព្រឹទ្ធសភា พฺรึทฺธสภา; Senate) ซึ่งเป็นสภาสูง[4]
  • มาตรา 23 ให้ทรงเป็นจอมทัพกัมพูชา[5]
  • มาตรา 20 ให้นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เพื่อกราบทูลเกี่ยวกับราชการบ้านเมือง[6]
  • มาตรา 26 และ 28 ให้ทรงลงพระนามาภิไธยในพระราชบัญญัติที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นและพระราชกฤษฎีกาที่ฝ่ายบริหารเสนอมา[7]
  • มาตรา 9 ให้มีพระราชอำนาจวินิจฉัยในขั้นสุดท้ายเพื่อให้สถาบันต่าง ๆ ของรัฐดำเนินต่อไปได้[8]
  • มาตรา 25 ให้ทรงรับตราตั้งทูต[9]
  • มาตรา 27 ให้มีพระราชอำนาจอภัยโทษและลดโทษ[10]
  • มาตรา 134 ให้ทรงเป็นประธานกรมปรึกษาสูงสุดในองค์เจ้ากรม (ឧត្តមក្រុមប្រឹក្សានៃអង្គចៅក្រម อุตฺตมกฺรุมบฺรึกฺสาไนองฺคเจากฺรม; Supreme Council of Magistracy) ซึ่งเป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุดของประเทศ[11]
  • มาตรา 100 และ 137 ให้ทรงแต่งตั้งสมาชิกสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ เช่น สมาชิกพฤฒสภา และสมาชิกกรมปรึกษาธรรมนูญ (ក្រុមប្រឹក្សាធម្មនុញ្ញ กฺรุมบฺรึกฺสาธมฺมนุญฺญ; Constitutional Council)[12]
  • มาตรา 29 ให้มีพระราชอำนาจพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[13]

นอกจากนี้ ยังทรงปฏิบัติพระราชกิจอย่างอื่นในฐานะประมุขแห่งรัฐ เช่น เป็นประธานงานที่สำคัญระดับชาติ[14] เป็นประธานพิธีกรรมทางศาสนาและประเพณีที่สำคัญ[15] สนับสนุนกิจกรรมทางมนุษยธรรมและการกุศล[16] ตลอดจนเป็นตัวแทนประเทศเมื่อเสด็จเยือนต่างประเทศ[17]

กระทรวงพระบรมราชวัง[แก้]

กระทรวงพระบรมราชวังมีหน้าที่ดูแลกิจการเกี่ยวกับพระราชสำนักและพระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล, ปัจจุบันได้อยู่ภายใต้การบริหารของสมเด็จกรมวัง กง ซัม ออล รัฐมนตรีประจำสำนักพระราชวัง มีหน้าที่หลักคือช่วยเหลือและถวายคำแนะนำแก่พระมหากษัตริย์ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพระมหากษัตริย์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Article 7, Chapter 2 in The Constitution of the Kingdom of Cambodia World Intellectual Property Organization
  2. Article 8, Chapter 2 in The Constitution of the Kingdom of Cambodia World Intellectual Property Organization
  3. Article 119, Chapter X in The Constitution of the Kingdom of Cambodia World Intellectual Property Organization
  4. Article 82 in Chaper VII and Article 106 in Chapter VIII The Constitution of the Kingdom of Cambodia World Intellectual Property Organization
  5. Article 23, Chapter 2 in The Constitution of the Kingdom of Cambodia World Intellectual Property Organization
  6. Article 20, Chapter 2 in The Constitution of the Kingdom of Cambodia World Intellectual Property Organization
  7. Article 26 and 28, Chapter 2 in The Constitution of the Kingdom of Cambodia
  8. Article 9, Chapter 2 in The Constitution of the Kingdom of Cambodia World Intellectual Property Organization
  9. Article 25, Chapter 2 in The Constitution of the Kingdom of Cambodia World Intellectual Property Organization
  10. Article 27, Chapter 2 in The Constitution of the Kingdom of Cambodia World Intellectual Property Organization
  11. Article 21, Chapter 2 and Article 134, Chapter XI in The Constitution of the Kingdom of Cambodia World Intellectual Property Organization
  12. Article 100, Chapter VIII and Article 137, Chapter XII in The Constitution of the Kingdom of Cambodia World Intellectual Property Organization
  13. Article 29, Chapter 2 in The Constitution of the Kingdom of Cambodia World Intellectual Property Organization
  14. "'Cambodian king, PM wrap up annual Water Festival' in Xinhuanet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-25. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  15. "'Cambodia marks beginning of farming season with royal ploughing ceremony' in Xinhuanet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-06. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  16. '$1 million royal gift for Kantha Bopha' in Khmer Times
  17. "'President Xi meets Cambodian king in Beijing' in GB Times". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-12. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.