รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศไทย
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยทั้งสิ้น 5 แหล่ง[1] ประกอบด้วยแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แหล่ง และแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง
ที่ตั้ง[แก้]
สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก[แก้]
แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม[แก้]
- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (เฮกตาร์) |
ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.) |
หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา | ![]() |
พระนครศรีอยุธยา 14°20′52″N 100°33′38″E / 14.34778°N 100.56056°E |
วัฒนธรรม: (iii) |
289 | 2534/1991 | กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงแห่งที่สองของชาวสยามต่อจากสุโขทัย ถูกทำลายโดยกองทัพพม่าในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซากปรักหักพังสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ อาทิ ปรางค์ และอารามขนาดใหญ่แสดงถึงความงดงามและความเจริญรุ่งเรืองในอดีต | 576[2] |
เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร | สุโขทัยและกำแพงเพชร 17°0′26″N 99°47′23″E / 17.00722°N 99.78972°E |
วัฒนธรรม: (i), (iii) |
11,852 | 2534/1991 | สุโขทัยเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของชาวสยามในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 สิ่งก่อสร้างจำนวนมากแสดงถึงจุดเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมไทย ประกอบด้วยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร | 574[3] | |
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง | อุดรธานี 17°32′55″N 103°47′23″E / 17.54861°N 103.78972°E |
วัฒนธรรม: (iii) |
64 | 2535/1992 | เป็นที่ตั้งถิ่นฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมสังคมและเทคโนโลยีของมนุษย์ อาทิ การเกษตร การผลิต และการใช้โลหะ | 575[4] |
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ[แก้]
- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (เฮกตาร์) |
ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.) |
หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง | กาญจนบุรี ตาก และอุทัยธานี 15°20′N 98°55′E / 15.333°N 98.917°E |
ธรรมชาติ: (vii), (ix), (x) |
622,200 | 2534/1991 | ประกอบด้วยผืนป่าเกือบทุกประเภทที่มีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นบ้านของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ 77% (โดยเฉพาะช้างและเสือ) 50% ของนกขนาดใหญ่ และ 33% ของสัตว์มีกระดูกสันหลังบกที่พบในภูมิภาคนี้ | 591[5] | |
ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ | สระบุรี นครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ 14°20′N 102°3′E / 14.333°N 102.050°E |
ธรรมชาติ: (x) |
615,500 | 2548/2005 | เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์กว่า 800 ชนิด ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 112 สายพันธุ์ (รวมทั้งสัตว์น้ำสองสายพันธุ์) สัตว์ชนิดนก 392 สายพันธุ์ และสัตว์เลื้อยคลานกว่า 200 สายพันธุ์ มีระบบนิเวศป่าเขตร้อนที่สำคัญซึ่งสามารถเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อการอยู่รอดในระยะยาวของสัตว์สายพันธุ์เหล่านี้ | 590[6] |
สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น[แก้]
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานที่ที่ได้รับขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคต ทั้งสิ้น 7 แห่ง ดังนี้[7]
ความคืบหน้า[แก้]
![]() | เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 รัฐบาลไทยได้เสนอคณะกรรมการมรดกโลก ในการประชุมครั้งที่ 40 ที่เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี ให้พิจารณาการขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานขึ้นเป็นแหล่งมรดกโลก สืบเนื่องจากที่สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น) และคณะกรรมการมรดกโลกได้ให้การการยอมรับคุณค่าสากลที่โดดเด่น (outstanding universal value) ของผืนป่า อย่างไรก็ตามคณะกรรมการมรดกโลกตัดสินใจที่จะเลื่อนการขึ้นทะเบียนออกไป เนื่องด้วยวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นระหว่างการประชุมมรดกโลก และปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในผืนป่า รวมถึงข้อพิพาทเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนกับประเทศพม่า
ทั้งนี้ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (ไอโคมอส) ได้แจ้งให้ทางการไทยทราบเกี่ยวกับการเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของทางการไทย โดยมีข้อเสนอแนะให้ดำเนินการศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมของเสมาหินกับพุทธศาสนา เพื่อนำไปสู่ศักยภาพที่โดดเด่นของอุทยานฯ รวมทั้งหากเป็นไปได้ เสนอให้พิจารณาเกณฑ์และขอบเขตการขึ้นทะเบียนอุทยานฯ ที่ทางการไทยเสนอ[15]
ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ประเทศไทยได้นำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกอีกครั้งหนึ่ง แต่ผลประกฎว่า ผลการพิจารณา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่สนับสนุนไทยขึ้นมรดกโลก 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย จีน บราซิล คิวบา ส่วนบางประเทศเห็นว่าไม่ควรให้ไทย Defers อีกตามร่างข้อมติ เนื่องจากไทยทำงานมาเยอะแล้วทั้งเรื่องสิทธิมนุษยชน เช่น การออกกฎหมายใหม่ 2 ฉบับ เพื่อไม่ให้ไทยรู้สึกไม่ดี จึงขอให้ Refers แทนเพื่อทำข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมจำนวนมากกลับมาเสนอ และกลุ่มที่เห็นตามสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ไอยูซีเอ็น) เกี่ยวกับความกังวลเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่ คือ ออสเตรเลีย และนอร์เวย์ จึงให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาหาข้อสรุป โดยมี 6 ประเทศ จากในคณะกรรมการรัฐภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก 21 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย นอร์เวย์ คิวบา ตูนิเซีย และคูเวต ไปหารือในรายละเอียดร่วมกันแล้วกลับมาเสนอที่ประชุมใหม่อีกครั้ง โดยได้มีข้อมติในประเด็นกลุ่มป่าแก่งกระจานโดย ระบุว่ายังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกในครั้งนี้ โดยให้ประเทศไทยไปทำข้อมูลเพิ่มเติมอีก 3 ประเด็นคือ 1.ให้ดำเนินการเรื่องขอบเขต ระหว่างไทย และเมียนมา 2.ให้ไปทำข้อศึกษาเปรียบเทียบเรื่องขอบเขตพื้นที่ที่ลดลงว่ายังอยู่ภายใต้ข้อกำหนดตามระเบียบข้อที่ 10 ของการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 3. ให้ไปทำข้อห่วงกังวลเรื่องชุมชนในพื้นที่ โดยให้โอกาสเสนอป่าแก่งกระจาน ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอีกครั้งในระยะเวลา 3 ปีนับจากนี้
สถานที่ที่อาจเสนอขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น[แก้]
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท |
---|---|---|---|
แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน | พังงา ภูเก็ต และระนอง (ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะระนอง แหลมสน หมู่เกาะสุรินทร์ เขาลำปี-หาดท้ายเหมือง และสิรินาถ รวมเนื้อที่ราว 975.71 ตร.กม.[16]) |
ธรรมชาติ | |
ป่าชายเลนระนอง | ระนอง | ธรรมชาติ | |
กลุ่มสถาปัตยกรรมของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์[17] | กรุงเทพมหานคร | วัฒนธรรม | |
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารและเสาชิงช้า[18] | กรุงเทพมหานคร | วัฒนธรรม | |
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมแม่น้ำเจ้าพระยา[19] | กรุงเทพมหานคร | วัฒนธรรม | |
วัดราชนัดดารามและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง | กรุงเทพมหานคร | วัฒนธรรม | |
พระปฐมเจดีย์ | นครปฐม | วัฒนธรรม | |
ทางรถไฟสายมรณะ[20] | กาญจนบุรี | วัฒนธรรม | |
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และแหล่งวัฒนธรรมของน่าน | น่าน | วัฒนธรรม | |
แหล่งโบราณคดีเมืองเชียงแสน เมืองสุวรรณโคมคำประเทศลาว | เชียงราย | วัฒนธรรม | |
เส้นทางวัฒนธรรมไชยาถึงไทรบุรี | วัฒนธรรม | ||
เมืองเก่าสงขลา | สงขลา | วัฒนธรรม | |
เมืองเก่าภูเก็ต | ภูเก็ต | วัฒนธรรม |
สถานที่เคยเสนอขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น[แก้]
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | ปีที่เสนอขึ้นบัญชีฯ | ปีที่ถอนจากบัญชีฯ |
---|---|---|---|---|---|
เกาะรัตนโกสินทร์[21] | กรุงเทพมหานคร | วัฒนธรรม | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2539 | |
ตะรุเตา[22] | สตูล | ธรรมชาติ | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2534 | |
เส้นทางวัฒนธรรมพิมาย ปราสาทพนมรุ้งและปราสาทเมืองต่ำ[23] | บุรีรัมย์ นครราชสีมา และสุรินทร์ 15°13′N 102°29′E / 15.217°N 102.483°E |
วัฒนธรรม: (i), (ii), (iii), (iv), (vi) |
พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2562 |
ผลการดำเนินงานของประเทศไทยในองค์การยูเนสโก[แก้]
โครงการยูเนสโก | จำนวนรายการที่ขึ้นทะเบียน | จำนวนรายการที่ขึ้นทะเบียนร่วมกับรัฐอื่น |
---|---|---|
พื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve) | 4 | — |
แหล่งมรดกโลก (World Heritage Sites) | 5 | — |
ความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) | 5 | — |
เครือข่ายอุทยานธรณีโลก (Global Geoparks Network) | 1 | — |
เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์สากล (Creative Cities Network) | 4 | — |
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage Lists) | 2 | — |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "World Heritage Properties in Thailand". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
- ↑ "Historic City of Ayutthaya". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
- ↑ "Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
- ↑ "Ban Chiang Archaeological Site". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
- ↑ "Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
- ↑ "Dong Phayayen-Khao Yai Forest Complex". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
- ↑ "Tentative Lists: Thailand". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
- ↑ "Phuphrabat Historical Park". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 August 2012.
- ↑ "Kaeng Krachan Forest Complex". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 August 2012.
- ↑ "Wat Phra Mahathat Woramahawihan, Nakhon Si Thammarat". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 August 2012.
- ↑ "Monuments, Sites and Cultural Landscape of Chiang Mai, Capital of Lanna". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 10 April 2015.
- ↑ "Phra That Phanom, its related historic buildings and associated landscape". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 18 March 2017.
- ↑ "Ensemble of Phanom Rung, Muang Tam and Plai Bat Sanctuaries". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
- ↑ "The Ancient Town of Si Thep". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
- ↑ ICOMOS (2016a), Evaluations of Nominations of Cultural and Mixed Properties to the World Heritage List (WHC-16/40.COM/INF.8B1), http://whc.unesco.org/document/141702
- ↑ ส่วนมรดกโลกทางธรรมชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ↑ "เสนอ "วัดสุทัศน์-เสาชิงช้า" เข้าบัญชีมรดกโลกเบื้องต้น". Manager date=22 February 2015. Missing pipe in:
|work=
(help) - ↑ "เสนอ "วัดสุทัศน์-เสาชิงช้า" เข้าบัญชีมรดกโลกเบื้องต้น". Manager date=22 February 2015. Missing pipe in:
|work=
(help) - ↑ "กรมศิลป์ดัน "วัดสุทัศน์-รถไฟสายมรณะ" ขึ้นมรดกโลก". Manager date=19 July 2013. Missing pipe in:
|work=
(help) - ↑ "กรมศิลป์ดัน "วัดสุทัศน์-รถไฟสายมรณะ" ขึ้นมรดกโลก". Manager date=19 July 2013. Missing pipe in:
|work=
(help) - ↑ Rattanakosin Island
- ↑ Tarutao
- ↑ "Phimai, its Cultural Route and the Associated Temples of Phanomroong and Muangtam". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 August 2012.