สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ | |
---|---|
Office of the Public Sector Development Commission | |
สำนักงาน ก.พ.ร. | |
ที่ทำการ | |
59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 | |
ภาพรวม | |
งบประมาณ | 314.5558 ล้านบาท (พ.ศ. 2562)[1] |
ผู้บริหารหลัก | ปกรณ์ นิลประพันธ์, เลขาธิการ อ้อนฟ้า เวชชาชีวะ[2], รองเลขาธิการ สุนทรี สุภาสงวน[3], รองเลขาธิการ อารีย์พันธ์ เจริญสุข, รองเลขาธิการ ณรงค์ บุญโญ[4], รองเลขาธิการ |
ต้นสังกัด | สำนักนายกรัฐมนตรี |
เว็บไซต์ | |
opdc.go.th |
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นส่วนราชการไทยประเภทกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ริเริ่ม ผลักดัน และเสนอแนะนโยบายต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ และการพัฒนาระบบราชการ ผ่านกลไกต่าง ๆ (ก.พ.ร. อ.ก.พ.ร. คตป.) เพื่อให้เกิด การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ตามมาตรา 3/1 ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 หน่วยงานทั้งของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
ประวัติ[แก้]
การริเริ่ม ผลักดัน และเสนอแนะนโยบายต่อคณะรัฐมนตรี ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ และการพัฒนาระบบราชการ ผ่านกลไกต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ตามมาตรา 3/1 ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 โดย “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” นั้น เป็นหลักในการพัฒนาระบบราชการ ที่เริ่มจากแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการ จากระบบเดิมที่มีรัฐบาลและระบบราชการเป็นตัวนำ มาเป็นการบริหารราชการที่ต้องประกอบด้วยกลไก 3 ส่วนที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนบ้านเมือง ได้แก่ ภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม
ในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ นั้น จะต้องหาความสมดุลและความพอดีของกลไกทั้ง 3 ส่วนด้วย จึงทำให้การบริหารกิจการบ้านเมืองในปัจจุบัน จึงเปลี่ยนจากคำว่า “Government” ไปสู่ “Governance” และเมื่อเป็น Governance แล้ว ก็ต้องเป็น Governance ที่ดีด้วย ทั้งในมุมมองของภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ซึ่งกลไกทั้ง 3 ส่วนนั้นต่างก็มองการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ “ดี” ที่แตกต่างกันไปตามปรัชญาและมุมมองของตน
ดังนั้น จึงได้มีการนำแนวความคิดเรื่องการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ในมุมมองต่าง ๆ มาใส่ไว้ในกฎหมายแม่บทของการปฏิรูประบบราชการ นั่นคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 3/1 และถ่ายทอดออกมาเป็น พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 โดยนำแนวคิดเรื่องการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในพระราชบัญญัติดังกล่าว มาขยายความและลงรายละเอียดในมาตราต่าง ๆ ของพระราชกฤษฎีกาฯ เป็นหลักเกณฑ์ให้ส่วนราชการดำเนินการ นอกจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 แล้วในการดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ.ร. ยังได้ยึดหลักและแนวทางตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546 - 2550 ควบคู่กันไปด้วย
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 นาย พงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล รักษาราชการแทนมีอำนาจเทียบเท่าเลขาธิการ และเนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนตำแหน่งรักษาราชการแทน นาย พงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุลจึงมีอำนาจเทียบเท่าเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ประกอบกับมี คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 18/2558 เรื่อง การให้กรรมการหรือคณะกรรมการตามกฎหมายบางฉบับปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้[5]ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558 นาย พงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล จึงมีตำแหน่งเทียบเท่าเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คนที่ 3
คณะกรรมการ[แก้]
คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559[6] แต่งตั้ง คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการดังรายนามต่อไปนี้
- ด้านการเงินการคลัง หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล
- ด้านเศรษฐศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
- ด้านเศรษฐศาสตร์ ดร.อำพน กิตติอำพน
- ด้านรัฐศาสตร์ นายจเด็จ อินสว่าง
- ด้านนิติศาสตร์ คุณพรทิพย์ จาละ
- ด้านนิติศาสตร์ ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ
- ด้านบริหารรัฐกิจ นายปรีชา วัชราภัย
- ด้านบริหารธุรกิจ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช
- ด้านจิตวิทยาองค์การ นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส[7]
- ด้านสังคมวิทยา รองศาสตราจารย์ ดร.จุรี วิจิตรวาทการ
รายนามเลขาธิการ[แก้]
รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. ศ.พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556[8] (ครั้งที่ 1) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559[9] - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (ครั้งที่ 2) |
2. ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557 |
3. พงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 |
4. ชูเกียรติ รัตนชัยชาญ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558[10] - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 |
5. ปกรณ์ นิลประพันธ์ | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561[11] - ปัจจุบัน |
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/334/T_0004.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/320/12.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/088/T_0001.PDF
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 18/2558
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/150/12.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/298/5.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00120115.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/216/6.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/208/4.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (จำนวน ๒ ราย ๑.นายทศพร ศิริสัมพันธ์ ๒.นายปกรณ์ นิลประพันธ์)
- ↑ ประกาศ ก.พ.ร. เรื่อง การแปลงสภาพของสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. เป็น หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ