การเพิ่มจำนวนอาวุธปืนในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูลปี 2549 ประมาณว่าประเทศไทยมีจำนวนอาวุธปืนในความครอบครองของพลเรือน 10 ล้านกระบอก ซึ่งเป็นประเทศที่มีจำนวนดังกล่าวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ในจำนวนนี้มีปืนขึ้นทะเบียนเพียง 3.87 ล้านกระบอก ส่วนที่เหลือเป็นปืนที่มีการครอบครองอย่างผิดกฎหมาย[1]

ใน พ.ศ. 2543 มีรายงานคดีฆาตกรรมด้วยอาวุธปืนเป็นจำนวน 20,032 ครั้ง นับเป็นหนึ่งในจำนวนมากที่สุดในโลก[2]

จำนวนการครอบครองปืนสูงเป็นพิเศษในแถบจังหวัดภาคใต้ รวมถึง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งอยู่ภายใต้ความไม่สงบตั้งแต่ พ.ศ. 2547 [3]

สาเหตุ[แก้]

ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อ้างว่าสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยมีอาวุธปืนมากขึ้นเป็นเพราะนโยบายของชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่คิดให้เจ้าหน้าที่มีสิทธิซื้อปืนสวัสดิการ จึงเกิดความหละหลวม พร้อมทั้งเสนอให้มีการกวดขันปืนเถื่อนและให้ลงทะเบียนปืนในราชการทั้งหมด[4]

อัตราการถูกทำร้าย[แก้]

แม้อัตราการถูกทำร้ายในประเทศไทยจะลดลงมาจาก 10.0 เป็น 5.9 ต่อประชากร 100,000 คนเทียบจากปี 2546 จนถึง 2551[5] รายงานในปี 2554 พบว่าใน 6 ปีที่ผ่านมามีการตายจากกระประทะติดอาวุธมากกว่า 4,000 ศพ[6] นอกจากนี้ ยังมีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 6892 รายจากการประทะเหล่านี้[7]

อาชญากรรมจากอาวุธปืน[แก้]

นอกจากเหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 แล้ว ยังมีการก่อเหตุกราดยิงอีกหลายกรณี ได้แก่ เหตุกราดยิงที่โรงพยาบาลสนามจังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 เหตุกราดยิงที่จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 และเหตุกราดยิงหัวรถจักร รถเร็วกรุงเทพ-สุไหงโกลก เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565[8] และเหตุกราดยิงที่กรมยุทธศึกษาทหารบกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2565

เหตุกราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภู ในปี พ.ศ. 2565 นับเป็นการฆาตกรรมหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดโดยผู้ก่อการคนเดียวเท่าที่เคยบันทึกในประเทศไทย[9] ส่วนเหตุกราดยิงที่สยามพารากอนในปีถัดจากนั้น เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในย่านธุรกิจใจกลางกรุงเทพฯ, มีการใช้ปืนที่ดัดแปลงจากสิ่งเทียมอาวุธ และผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน

ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ[แก้]

ปฏิญญาเจนีวาว่าด้วยความรุนแรงทางอาวุธและการพัฒนา (Geneva Declaration on Armed Violence and Development) รายงานในปี 2541 ชี้ว่าในประเทศไทยการเสียชีวิตด้วยเหตุจากความรุนแรงสร้างความเสียหายรวมต่อ GDP เป็นจำนวน 5,503 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในทางเดียวกัน ค่ารักษาพยาบาลจากความรุนแรงในปี 2548 ได้รับการประมาณไว้ที่ 1.3 พันล้านบาท (40.3 ล้านดอลลาร์สรหัฐ) ค่ารักษาพยาบาลโดยอ้อมมากกว่าประมาณ 10 เท่า อยู่ที่ 14.4 พันล้านบาท (432.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[10]

ความพยายามปัจจุบัน[แก้]

ประเทศไทยมุ่งที่จะสนับสนุน ยอมรับ และ นำโครงการขององค์กรของสหประชาชาติไปปฏิบัติ เพื่อต่อสู้ ป้องกัน และกำจัดการค้าอาวุธอย่างผิดกฎหมาย[11] โครงการยุติความรุนแรงนานาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Nonviolence International South East Asia, NVISEA) องค์การนอกภาครัฐที่ไม่แสวงหากำไรกำลังทำงานเพื่อพยายามหยุดยั้งความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับวาวุธในประเทศ[12]

หลังเหตุกราดยิงที่สยามพารากอนในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงมหาดไทยได้ออกมาตรการระยะสั้น เช่น ห้ามการนำเข้าสิ่งเทียมอาวุธปืน, ห้ามบุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าสนามยิงปืน ยกเว้นนักกีฬายิงปืนทีมชาติ, ระงับการนำเข้าปืนและการออกใบอนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว, และขอความร่วมมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปราบปรามและปิดเว็บไซต์ เพจออนไลน์ซื้อขายอาวุธปืนเถื่อนและสิ่งเทียมอาวุธปืน เป็นต้น ส่วนมาตรการระยะยาวคือการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490[13]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Completing the Count: Civilian firearms. Small Arms Survey 2007: Guns and the City. Cambridge:Cambridge University Press, 27 August" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-22. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.[ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
  2. "Seventh United Nations Survey of Crime Trends and Operations of Criminal Justice Systems 1998-2000" (PDF).
  3. Beech, Hannah (23 November 2009). "Thailand: Aiming For Parity". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Paywall)เมื่อ 2012-02-03. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
  4. ""โทนี่" แฉ 2 สาเหตุต้นตอกราดยิง ท้า "บิ๊กตู่" ดึงไปช่วยงาน 6 เดือน ปราบยา-ปืนได้". ไทยรัฐ. 11 October 2022. สืบค้นเมื่อ 11 October 2022.
  5. "United Nations Office on Drugs and Crimes: International Statistics on Crime and Justice" (PDF).
  6. "Amnesty International 2010 Annual Report" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-08. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
  7. "Rule By The Gun: Armed Civilians and Firearms Proliferation in Southern Thailand NONVIOLENCE INTERNATIONAL SOUTHEAST ASIA May 2009 report" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-20. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
  8. "จาก "กราดยิงอุบล" สู่ย้อนรอยเหตุกราดยิงในไทย และโทษ "ครอบครองปืนเถื่อน"". กรุงเทพธุรกิจ. 4 August 2022. สืบค้นเมื่อ 7 October 2022.
  9. [://www.bangkokpost.com/thailand/general/2408603/mass-murder-at-childcare-centre-35-confirmed-slain "Mass murder at childcare centre, 35 confirmed slain"]. Bangkok Post. 6 October 2022. สืบค้นเมื่อ 6 October 2022. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  10. "Global Burden of Armed Violence Report 2008". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
  11. "United Nation General Assembly 2001. 'Programme of Action to Prevent, Combat and Eradicate the Illicit Trade in Small Arms and Light Weapons in All Its Aspects.'" (PDF).
  12. "Nonviolence International Southeast Asia Core Programs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-02. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
  13. "เคาะ 8 มาตรการระยะสั้นคุมอาวุธปืน-สิ่งเทียมปืน "อนุทิน" สั่งเข้มใช้กฎหมาย". www.thairath.co.th. 2023-10-05.