ข้ามไปเนื้อหา

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
Thai Public Broadcasting Services
ภาพรวมองค์การ
ก่อตั้ง15 มกราคม พ.ศ. 2551; 16 ปีก่อน (2551-01-15)
องค์การก่อนหน้า
ประเภทหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นนิติบุคคลมหาชน[2]
สำนักงานใหญ่145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
งบประมาณต่อปี2,839,720,000 บาท
(พ.ศ. 2566)[a][1]
ฝ่ายบริหารองค์การ
  • เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, ประธานกรรมการนโยบาย
  • วิลาสินี พิพิธกุล, ผู้อำนวยการ
  • สุวรรณา สมบัติรักษาสุข, รองผู้อำนวยการ
  • อนุพงษ์ ไชยฤทธิ์, รองผู้อำนวยการ
  • ปรเมศวร์ มินศิริ, รองผู้อำนวยการ
  • สมยศ เกียรติอร่ามกุล, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดองค์การสำนักนายกรัฐมนตรี
ลูกสังกัด
เอกสารหลัก
เว็บไซต์เว็บไซต์ขององค์การ

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ชื่อย่อ ส.ส.ท. (อังกฤษ: Thai Public Broadcasting Service; TPBS) เป็นหน่วยงานของรัฐ มีสถานะเป็นนิติบุคคลมหาชน[2] จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551[3] มีหน้าที่เป็นสื่อสาธารณะด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

ส.ส.ท. เกิดขึ้นหลังจากการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรียึดสัมปทานคืนจากไอทีวี และรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นำช่องสัญญาณดังกล่าวมาจัดตั้งเป็น สถานีโทรทัศน์สาธารณะ โดยให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินงานชั่วคราว ก่อนมีการจัดตั้ง ส.ส.ท. โดยได้รับโอนกิจการและเข้ามาบริหารงาน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 หลังทดลองออกอากาศ 1 เดือน

ประวัติ

เมื่อปี 2549 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ให้ไอทีวี กลับไปจ่ายค่าสัมปทานปีละ 1,000 ล้านบาทต่อปีตามเดิม และต้องปรับผังรายการในช่วงเวลายอดนิยมให้มีรายการสาระประโยชน์ร้อยละ 70 และรายการบันเทิงร้อยละ 30 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547[4] หลังจากนั้นไอทีวี ไม่สามารถจ่ายค่าปรับจำนวน 101,000,000,000 บาท[5][6] ดังกล่าวให้กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ ทำให้สัมปทานคลื่นความถี่ดังกล่าวถูกยึดคืนมาเป็นของรัฐ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 ในระยะแรกรัฐบาล โดยกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีชั่วคราว[7] ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550[8] ถึงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551[9]

ช่วงกลางปี 2550 ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ได้เสนอร่างกฎหมายให้ไอทีวีเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ตาม พ.ร.บ. ส.ส.ท. ส่งผลให้กรมประชาสัมพันธ์ได้ยุติการดำเนินการออกอากาศและส่งต่อภารกิจดังกล่าวให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่าน ต่อมา ส.ส.ท. ได้รับโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ คลื่นความถี่ และภาระผูกพันของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามความในมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ. ส.ส.ท.[10][3]

โครงสร้างการบริหาร

พ.ร.บ. ส.ส.ท. กำหนดโครงสร้างการบริหารของ ส.ส.ท. เป็น 2 ส่วน คือ คณะกรรมการนโยบาย และคณะกรรมการบริหาร โดยบทเฉพาะกาลมาตรา 58 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการไม่เกิน 5 คน เป็นคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ได้มีการสรรหาไว้แล้วภายใน 180 วันนับแต่วันใช้บังคับ โดยให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการ

คณะกรรมการนโยบาย

คณะกรรมการนโยบายมีจำนวนทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่น ๆ อีกไม่เกิน 8 คน ซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านสื่อสารมวลชน 2 คน ด้านบริหารจัดการองค์กร 3 คน และด้านประชาสังคม 4 คน

มีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบาย ให้ความเห็นชอบในแผนการดำเนินงาน แผนการจัดผังรายการ และแผนงบประมาณขององค์การ กำหนดระเบียบการดำเนินงาน และคุ้มครองสวัสดิภาพ และความอิสระในการทำงานของพนักงานในองค์การ รวมถึงการควบคุมดำเนินงานคณะกรรมการบริหาร โดยที่คณะกรรมการนโยบายมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี

คณะกรรมการนโยบายชุดปัจจุบัน ประกอบด้วยดังนี้[11][12][13][14][15][16]

ด้านการบริหารจัดการองค์กร

  1. ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ (29 กันยายน 2563 - ปัจจุบัน)
  2. ผศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (29 กันยายน 2563 - ปัจจุบัน)
  3. รศ. ดร.ธีรภัทร สงวนกชกร (13 ธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน) วาระ 4 ปี

ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย การพัฒนาชุมชนฯ หรือ ท้องถิ่นการเรียนรู้และศึกษา การคุ้มครองและพัฒนาเด็ก เยาวชนหรือครอบครัว หรือ การส่งเสริมสิทธิของผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

  1. รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (29 กันยายน 2563 - ปัจจุบัน)[17] (ประธานคณะกรรมการนโยบาย)[18]
  2. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช (29 กันยายน 2563 - ปัจจุบัน)
  3. นางสาวอุษาสินี ริ้วทอง (29 กันยายน 2563 - ปัจจุบัน)
  4. นายชัยรัตน์ แสงอรุณ (13 ธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

ด้านกิจการสื่อสารมวลชน

  1. นางสาวรุ่งมณี เมฆโสภณ (30 พฤศจิกายน 2557 - 29 พฤศจิกายน 2561 และ 13 ธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
  2. นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล (13 ธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

คณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการบริหารมีทั้งหมด 11 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง รองผู้อำนวยการจำนวนไม่เกิน 6 คน และกรรมการบริหารจำนวนไม่เกิน 4 คน ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลการผลิตรายการของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส การดำเนินงานขององค์การ การจัดทำแผนการดำเนินงาน รวมไปจนถึงการประเมินคุณภาพของรายการ ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีเช่นเดียวกับคณะกรรมการนโยบาย

แต่งตั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[19][20] โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 มีดังต่อไปนี้

  1. รศ. ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (ประธานกรรมการ)
  2. อนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท.[21] (กรรมการ)
  3. สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (กรรมการ)
  4. สุวรรณา สมบัติรักษาสุข รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (กรรมการ)
  5. พิภพ พานิชภักดิ์ รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (กรรมการ)
  6. ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าว (กรรมการ)
  7. โยธิน สิทธิบดีกุล ผู้อำนวยการสำนักโทรทัศน์และวิทยุ (กรรมการ)
  8. เจษฎา อนุจารี (กรรมการบริหารอื่น)
  9. พูลประโยชน์ ชัยเกียรติ (กรรมการบริหารอื่น)
  10. สุธีร์ รัตนนาคินทร์ (กรรมการบริหารอื่น)

ทุน

ตาม พ.ร.บ. ส.ส.ท. มาตรา 11 กำหนดแหล่งที่มาของเงินทุนที่จะใช้ในการบริหารงานของ ส.ส.ท. ไว้ดังต่อไปนี้

  1. เงินบำรุงองค์การที่จัดเก็บตามมาตรา 12
  2. เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา 57 หรือตามกฎหมายอื่น (ในที่นี้ เงินและทรัพย์สินตามมาตรา 57 คือเงิน และทรัพย์สินของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเดิม)
  3. ทุนประเดิมที่รัฐจ่ายให้เป็นการอุดหนุนตามมาตรา 60 (รัฐประเดิมทุนให้ได้สูงสุดไม่เกิน 2,000 ล้านบาท)
  4. ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอื่นใดในการให้บริการ
  5. เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้รับจากผู้สนับสนุนองค์การ
  6. รายได้หรือการหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การ
  7. ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินขององค์การ

สำหรับการรับเงินตามข้อ 5 ต้องไม่ทำให้องค์การขาดความเป็นอิสระในการดำเนินงาน หรือให้กระทำการอันขัดหรือแย้งต่อวัตถุประสงค์ขององค์การฯ และตามข้อ 2 และ 3 ต้องใช้สนับสนุนพัฒนาศักยภาพ และให้โอกาสสร้างสรรค์แก่ผู้ผลิตรายการอิสระในอัตราที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของรายได้ดังกล่าว ทั้งนี้ รายได้ขององค์การฯ ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ[3]

พ.ร.บ. ส.ส.ท. กำหนดให้ ส.ส.ท. มีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงองค์การจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ และจัดสรรให้เป็นรายได้ขององค์การ โดยให้มีรายได้ สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจปรับเพดานสูงสุดของเงินได้ทุก ๆ 3 ปี)[3]

อาคารสำนักงานใหญ่

ในช่วงระยะเริ่มแรกของการก่อตั้ง ส.ส.ท. ได้ใช้พื้นที่ชั้น 13 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ซึ่งเป็นสำนักงานของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเดิม เป็นสำนักงานชั่วคราว ต่อมา ส.ส.ท. ได้สร้างอาคารสำนักงานถาวร ติดกับสโมสรตำรวจ เริ่มทำงานที่สำนักงานใหญ่ตั้งแต่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 และเริ่มออกอากาศจากสำนักงานใหญ่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ปีเดียวกัน และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสำนักงานใหญ่ ในวันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[22]

อาคารสำนักงานใหญ่ ส.ส.ท. ประกอบด้วยกลุ่มอาคาร 4 หลัง ได้แก่

  • อาคารอำนวยการ เป็นที่ตั้งของหน่วยงานอำนวยการ หน่วยงานด้านเทคนิคสารสนเทศ และหน่วยงานด้านสื่อสารสังคม
  • อาคารปฏิบัติการ เป็นที่ตั้งของสำนักข่าว และห้องส่งการออกอากาศ
  • อาคารบริการ เป็นที่ตั้งของห้องอาหาร ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ฟิตเนส ห้องพยาบาล และหละหมาด
  • อาคารศูนย์เรียนรู้ ประกอบด้วย นิทรรศการสื่อสาธารณะ ห้องฝึกอบรม ห้องฉายภาพยนตร์ และศูนย์ประชุม [22]

หน่วยงานในสังกัด

อัตลักษณ์ของ ส.ส.ท.
แบบที่ชนะเลิศการประกวด

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นสถานีโทรทัศน์ออกอากาศผ่านเสาอากาศภาคพื้นดินแห่งที่ 6 ของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี แต่เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมานั้น ได้ออกอากาศเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ชึ่งเป็นรูปแบบปัจจุบัน ก่อนออกอากาศอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนหลัง คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ทางสถานีฯ ส่งสัญญาณออกอากาศทางโทรทัศน์สีในระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 (ระบบแอนะล็อก) และช่อง 3 (ระบบดิจิทัล) จากกรุงเทพมหานคร และมีสถานีเครือข่ายในภูมิภาคอีกด้วย

สถานีฯ ได้นำเสนอการรายงานข่าวสาร สาระบันเทิง รายการเพื่อเด็กและเยาวชน และรายการความรู้ ที่บริหารด้วยความเป็นไทย มีความสมดุล ซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ มุ่งดำเนินการโดยปราศจากอคติทางการเมือง และผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นต้น

สถานีวิทยุไทยพีบีเอส

สถานีวิทยุไทยพีบีเอส เป็นสถานีวิทยุของไทยพีบีเอสที่กระจายเสียงในระบบออนไลน์ ซึ่งเสนอรายการข่าวสาร (บางรายการรับสัญญาณการออกอากาศจากความถี่เสียงของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) สาระต่างๆ เพื่อประโยชน์สาธารณะและสังคม โดยสามารถรับฟังการกระจายเสียงของสถานีฯ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.thaipbsradio.com

สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ

เป็นส่วนหนึ่งของ ส.ส.ท. ที่มีสมาชิก 50 คน ที่คัดเลือกจากผู้สมัครจากแต่ละกลุ่ม มากลุ่มละ 4 คน และคณะกรรมนโยบายมาคัดเลือกอีกทีหนึ่งโดยคัดเลือกให้เลือกเพียง 50 คนที่ กฎหมาย เพื่อเป็นกลไลในการรับฟังความคิด นอกจากนี้ยังผู้ตรวจสอบภายในและศูนย์เพื่อนไทยพีบีเอส เพื่อให้ไทยพีบีเอส วิทยุไทย และสื่อใน ส.ส.ท. เป็นสิ่งที่ตอบสนองคนทุกกลุ่มได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรม

ศูนย์เพื่อนไทยพีบีเอส

เป็นหน่วยงานที่เปิดรับฟังความคิดเห็นและร่วมกันตรวจสอบพฤติกรรมการผลิตและดำเนินรายการต่าง ๆ ของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ของไทยพีบีเอสไปพร้อมกันกับผู้ชมและผู้ฟังการออกอากาศ

บุคคลสำคัญ

ผู้อำนวยการ

รายนามผู้อำนวยการ ส.ส.ท. มีดังต่อไปนี้

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. เทพชัย หย่อง 15 มกราคม พ.ศ. 2551 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (รักษาการผู้อำนวยการสถานี ตามมติคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ส.ส.ท.)
10 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555
2. สมชัย สุวรรณบรรณ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558[23]
3. พวงรัตน์ สองเมือง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558[24] - 31 มกราคม พ.ศ. 2559(ผู้อำนวยการสำนักรายการ รักษาการผู้อำนวยการตามมติคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.)
4. ทันตแพทย์กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559[25] - 15 มีนาคม พ.ศ. 2560[26]
5. อนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ 16 มีนาคม[27]- 15 เมษายน พ.ศ. 2560 (รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ไปพลางก่อน)
6. ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ 16 เมษายน[28] - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (ผู้อำนวยการสำนักข่าว รักษาการผู้อำนวยการตามมติคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.)
7. รองศาสตราจารย์วิลาสินี พิพิธกุล 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน[29]

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. จากการจัดเก็บภาษีเหล้าและบุหรี่เพิ่มเติมในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี โดยไม่เกินปีละ 2,000 ล้านบาท

อ้างอิง

  1. ภาษีอากร[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 "แนะนำเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐ ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง: องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย". Egov.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551, เล่ม 125, ตอน 8ก, 14 มกราคม พ.ศ. 2551, หน้า 1
  4. "คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีไอทีวี". Ryt9.com. 2006-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  5. "เงียบไปนาน สปน.เดินหน้าสู้คดีเรียกค่าปรับ"ไอทีวี" 1 แสนล้าน". Isranews.org. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  6. "ปลุกผีค่าเสียหายไอทีวี 2.9 พันล้านสปน.หืดขึ้นคอ". Thansettakij.com. 2020-04-22. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  7. ""ทีไอทีวี"-ไอทีวีแปลงร่าง?". Info.gotomanager.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  8. "7 มีนาคม 2550 ไอทีวี ออกอากาศวันสุดท้าย". Facebook.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  9. Teenee Media.co.Ltd., Thailand. "ปิดฉากแล้ว ทีไอทีวี". Tnews.teenee.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  10. คำสั่งกรมประชาสัมพันธ์ ที่ 25/2551 เรื่อง ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ ระบบ ยู เอช เอฟ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 เก็บถาวร 2008-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เดลินิวส์ออนไลน์ 14 มกราคม 2551 21:01 น.
  11. "รู้จักกรรมการนโยบาย ส.ส.ท". Bog.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  12. "คณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. ชุดปัจจุบัน". Org.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  13. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
  14. ราชกิจจานุเบกษา,แต่งตั้งกรรมการนโยบาย (แทนตำแหน่งที่ว่าง) เก็บถาวร 2013-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยแทนตำแหน่งที่ว่าง, เล่ม 131, ตอนพิเศษ 228ง, 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557, หน้า 11
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, เล่ม 133, ตอนพิเศษ 218ง, 28 กันยายน พ.ศ. 2559, หน้า 20
  17. "ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นกรรมการนโยบายไทยพีบีเอส เพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะครบวาระ 4 ปี". Bog.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  18. "ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ "แต่งตั้ง 5 กรรมการนโยบายไทยพีบีเอส" วาระ 4 ปี นับตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย. 63". Org.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  19. "ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย". Org.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  20. "คณะกรรมการบริหาร ส.ส.ท. ชุดปัจจุบัน". Org.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  21. "ประกาศแต่งตั้งรองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย". Org.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  22. 22.0 22.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-21. สืบค้นเมื่อ 2012-07-16.
  23. "ประกาศเลิกสัญญาจ้าง นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (ไทยพีบีเอส)". Org.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  24. "ประกาศองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เรื่อง แต่งตั้งรักษาการผู้อำนวยการ ส.ส.ท.(นางพวงรัตน์ สองเมือง)" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  25. "ประกาศแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์)" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  26. "นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์" ลาออก ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. รับผิดชอบกรณีซื้อตราสารหนี้
  27. นายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รักษาการผู้อำนวยการ ส.ส.ท.
  28. แต่งตั้งพนักงานรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์)
  29. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ thaipbs1

แหล่งข้อมูลอื่น