ประวัติศาสตร์ไทยช่วงต้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประวัติศาสตร์ไทย
Wat Phra Sri Sanphet 01.jpg
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ช่วงต้น
การเข้ามาอยู่อาศัย
แนวคิดถิ่นกำเนิดชนชาติไท
บ้านเชียง (ประมาณ 2500 ปีก่อน พ.ศ.)
บ้านเก่า (ประมาณ 2000 ปีก่อน พ.ศ.)
อาณาจักรมอญ-เขมร
ฟูนาน (611–1093)
ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12–16)
ละโว้ (พุทธศตวรรษที่ 12–1630)
เขมร (1345–1974)
หริภุญชัย (พุทธศตวรรษที่ 13–1835)
ตามพรลิงค์ (พุทธศตวรรษที่ 13–14)
อาณาจักรของคนไท
ลพบุรี (1648–1931)
กรุงสุโขทัย (1781–1981)
สุพรรณภูมิ (พุทธศตวรรษที่ 18–1952)
พะเยา (1637–1881)
ล้านนา (1835–2101)
น่าน (พุทธศตวรรษที่ 18–1992)
นครศรีธรรมราช (พุทธศตวรรษที่ 18–2325)
กรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยา (1893–2310)
ประเทศราชเชียงใหม่ (2101–2317)
นครศรีธรรมราช (พุทธศตวรรษที่ 18–2325)
กรุงธนบุรี
กรุงธนบุรี (2310–2325)
เชียงใหม่ (2317–2437)
กรุงรัตนโกสินทร์
กรุงรัตนโกสินทร์ (2325–2475)
ประเทศสยาม
ประเทศสยาม (2475–2516)
ประเทศสยาม (2516–2544)
ประเทศไทย
ประเทศไทย (2544–ปัจจุบัน)
ประวัติศาสตร์รายภูมิภาค
ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ

ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยช่วงต้น เริ่มต้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง แม้อายุที่แน่นอนนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกัน ทว่าคนส่วนใหญ่เชื่อว่าน่าอยู่ก่อน 3600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ผู้อาศัยได้พัฒนาเครื่องมือสัมฤทธิ์ รวมไปถึงปลูกข้าวซึ่งเป็นตัวกระตุ้นสำหรับโครงสร้างทางสังคมและการเมือง

ต่อมาอารยธรรมมลายู มอญ และเขมร ได้แผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาคก่อนการครอบครองของคนไทย โดยอารยธรรมที่มีความโดดเด่นได้แก่ อาณาจักรศรีวิชัยในทางใต้ อาณาจักรทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย และจักรวรรดิขแมร์ที่ตั้งอยู่ ณ เมืองพระนคร 

ชาวไทยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได โดยเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วย ชาวลาว ชาวไทใหญ่จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ชาวจ้วงจากกว่างซีในประเทศจีน รวมไปถึงชาวโท้และชาวนุงจากภาคเหนือของประเทศเวียดนาม การอพยพจากตอนใต้ของประเทศจีนมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดขึ้นในช่วงสหัสวรรษแรกของคริสต์ศักราช โดยมีความเป็นไปได้ว่าผ่านทางตอนเหนือของประเทศลาว 

ในคริสต์สหัสวรรษที่ 1 ชาวไท-กะไดได้อาศัยอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่เรียกว่า เมือง โดยได้อิทธิพลจากวัฒนธรรมโดยรอบที่มีการพัฒนา เช่น วัฒนธรรมเขมรจากทางตะวันออก และวัฒนธรรมฮินดูของอินเดียจากทางตะวันตก ชาวไท-กะไดส่วนใหญ่หันไปยึดถือรูปแบบหนึ่งในศาสนาฮินดู และยังคงปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่ในศาสนปฏิบัติของชาวไทยในปัจจุบัน ระหว่าง คริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึง 9 พุทธศาสนาถูกนำเข้ามาสู่ดินแดนของชาวไท อาจจะผ่านทางประเทศพม่า และกลายเป็นศาสนาหลัก นิกายเถรวาทซึ่งนับถือในประเทศไทยถูกเผยแผ่โดยคณะสงฆ์จากประเทศศรีลังกา ในศตวรรษที่ 13 

พงศาวดารเหนือ คือบันทึกประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้ โดยแม้ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มบันทึกเมื่อไหร่ เนื้อหาคาดการณ์ว่าอยู่ในช่วง ค.ศ. 500 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 ฉบับล่าสุดนั้นอยู่ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ 

อ้างอิง[แก้]

แม่แบบ:กล่องนำทางประวัติศาสตร์ไทย