สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
Secretariat of the Prime Minister
Seal of the Office of the Prime Minister of Thailand.svg
ภาพรวมหน่วยงาน
สำนักงานใหญ่ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
งบประมาณประจำปี7,102.5545 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค, เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • นิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม, รองเลขาธิการ (ฝ่ายบริหาร)
  • นันทวรรณ ชื่นศิริ, รองเลขาธิการ (ฝ่ายบริหาร)
  • ว่าง, รองเลขาธิการ (ฝ่ายบริหาร)
  • รองเลขาธิการ (ฝ่ายการเมือง)
  • บรียวรรณ์ สารกิจปรีชา, ผู้ช่วยเลขาธิการ
  • ชนิดา เกษมศุข, ผู้ช่วยเลขาธิการ
เว็บไซต์spm.thaigov.go.th

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นส่วนราชการ ระดับกรม ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มี ภารกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการด้านการเมือง ด้านวิชาการ ด้านเลขานุการ ตลอดจนการบริหารราชการของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งข้าราชการการเมืองในสำนักเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล[2]

ประวัติ[แก้]

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[3] ก่อตั้งนับตั้งแต่ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ที่คณะราษฎรได้มีประกาศประธานคณะกรรมการราษฎรเพื่อยุบเลิกกรม ราชเลขาธิการและได้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยธรรมนูญราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2476 ก่อตั้งสำนักงานรัฐมนตรีขึ้นในกระทรวงต่างๆ เพื่อสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะงานทางการเมืองภารกิจในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสำนักงานเลขานุการนายกรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่สำนักงานรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีส่วนราชการในสังกัดเพียง 2 แผนก คือ แผนกการเมือง และแผนกตรวจสอบเรื่องราวและความเห็น (ปัจจุบัน คือ กองประสานงานการเมือง และกองงานนายกรัฐมนตรี ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) และต่อมาได้เพิ่มบทบาทมากขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กระทั่งปี พ.ศ. 2502 ได้มีการแยกหน่วยงานที่ทำหน้าที่เลขานุการนายกรัฐมนตรีออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี และสำนักบริหารของนายกรัฐมนตรี แต่ในปี พ.ศ. 2508 จึงได้ยุบรวมสำนักบริหารของนายกรัฐมนตรี เข้ารวมกับสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2517 จนถึงปัจจุบัน

ผู้บริหารในปัจจุบัน[แก้]

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ
1 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
2 นิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร)
3 นันทวรรณ ชื่นศิริ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร)[4]
4 ว่าง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร)
5 ประทีป กีรติเรขา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)[5]
6 อนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)[6]
7 ว่าง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)
8 พลตำรวจเอก ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) ประจำพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
9 สุรชัย ภู่ประเสริฐ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) ประจำนายวิษณุ เครืองาม
10 พลพีร์ สุวรรณฉวี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล
11 ไชยยศ จิรเมธากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) ประจำนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
12 สุนทร ชัยยินดีภูมิ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) ประจำนายดอน ปรมัตถ์วินัย
13 เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)[7] ประจำนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
14 บรียวรรณ์ สารกิจปรีชา ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
15 ชนิดา เกษมศุข ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี[แก้]

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นข้าราชการการเมือง และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ[8] ปัจจุบันมี พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง มีจำนวนเท่ากับจำนวนรองนายกรัฐมนตรี บวกสาม[9]

หน่วยงานในสังกัด[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. "สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-15.
  3. อภิชาติ คุณวัฒน์บัณฑิต, สำนักงานรัฐมนตรี : หน่วยงานในระบอบใหม่เพื่อขับเคลื่อนประชาธิปไตยสยาม, เอกสารวิชาการส่วนบุคคล:สถาบันพระปกเกล้า
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (นางนันทวรรณ ชื่นศิริและนางสาวดวงสุดา ศรียงค์)
  5. ฮือฮา !!! ครม.บิ๊กตู่ ตั้ง “ประทีบ กีรติเรขา” นั่ง รองเลขา ฯ นายก ฝ่ายการเมือง
  6. ครม.ตั้ง “ธนกร” เป็นโฆษกทำเนียบฯ แทน “อนุชา” ขยับนั่งรองเลขาฯ นายกฯ
  7. ผู้บริหารสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  8. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
  9. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535[ลิงก์เสีย]