วิจารณ์ พานิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิจารณ์ พานิช
Vicharn panich.jpg
เกิด27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 (80 ปี)
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้งและประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช (27 พฤศจิกายน 2485 -) ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และก่อตั้งสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ปัจจุบันทำหน้าที่นายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์ และนายกสภาสถาบันพระบรมราชชนก[1]

วิจารณ์ พานิช เป็นผู้มีบทบาทสำคัญของประเทศในการสร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย และการจัดการความรู้[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติ[แก้]

วิจารณ์ พานิช เป็นหลานชายของพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) บุคคลสำคัญของโลกที่เรารู้จักกันในนามท่านพุทธทาสภิกขุ (นามเดิม เงื่อม พานิช) สมรสกับ ศ.พญ.อมรา (เศวตวรรณ) พานิช มีบุตรธิดา 4 คน

การศึกษา[แก้]

จบแพทยศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2505-2509 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขามนุษยพันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2510-2511 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ประวัติการทำงาน[แก้]

ตำแหน่งปัจจุบัน[แก้]

  • ประธานกรรมการ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
  • นายกสภาสถาบันพระบรมราชชนก
  • นายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กรรมการบริหาร มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
  • ที่ปรึกษา มูลนิธิพูนพลัง
  • กรรมการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประธานกรรมการ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
  • รองประธานกรรมการ มูลนิธิสยามกัมมาจล
  • กรรมการ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประธานคณะกรรมการอำนวยการ โครงการเยาวชน มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประธานคณะกรรมการจัดการประชุม การประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
  • ประธานมูลนิธิการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ
  • กรรมการบริหารสถาบันคลังสมองของชาติ
  • กรรมการนโยบาย โครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ที่ปรึกษา โครงการบริหารศูนย์วิจัยเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประธานกรรมการตัดสินรางวัลครูดีเด่น รางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โครงการพระเมตตาสมเด็จย่า
  • ที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
  • ประธานคณะอนุกรรมการโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง กสศ.
  • ประธานคณะอนุกรรมการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ.
  • ประธานคณะกรรมการนโยบายติดตามและประเมินผล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กรรมการ ในคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กรรมการ ในคณะกรรมการอำนวยการประจำสำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กรรมการ มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ

ตำแหน่งในอดีต[แก้]

เกียรติคุณและรางวัล[แก้]

  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วท.ด.) สาขาอณูพันธุศาสตร์และพันธูวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (กศ.ด.) สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (พ.ศ. 2545)
  • ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการจัดการสารสนเทศ) จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (พ.ศ. 2555)
  • ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิทยาการเรียนรู้และนวัตกรรมการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปีการศึกษา ๒๕๖๐)
  • รางวัลปาฐกถา สุด แสงวิเชียร ประจำปี พ.ศ. 2544 จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เกียรติบัตรเชิดชูพยาธิแพทย์อาวุโส ประจำปี พ.ศ. 2545 จากราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์
  • รางวัลมหิดลทยากร ประจำปี พ.ศ. 2545 จากสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • คุรุสภาประกาศเกียรติคุณยกย่องเป็นผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี ๒๕๕๙
  • สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาประกาศยกย่องเป็นผู้มีคุณูปการต่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ประจำปี ๒๕๖๖

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ผลงานหนังสือ[แก้]

  • วิจารณ์ พานิช และสรรใจ แสงวิเชียร. มนุษยพันธุศาสตร์ (2518 และ 2524) โครงการตำรา-ศิริราช
  • วิจารณ์ พานิช และคณะ. พันธุศาสตร์ : วิทยาการก้าวหน้า (2525)โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์
  • วิจารณ์ พานิช. การบริหารงานวิจัย : แนวคิดจากประสบการณ์ (2539, 2540, 2546)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
  • วิจารณ์ พานิช. อนาคตของพันธุศาสตร์ในประเทศไทย ปาฐกถาสุด แสงวิเชียร พ.ศ. ๒๕๔๔(2544)คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • วิจารณ์ พานิช. การประกันคุณภาพการศึกษากับการเป็นองค์กรเคออร์ดิค. ในหนังสือ "รวมบทความการบรรยายพิเศษในรอบ ๑ ปี" หน้า ๑๗๘ - ๒๒๒(2544) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
  • วิจารณ์ พานิช. การสร้างศาสตร์ SBM บนแผ่นดินแม่ (2545) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
  • วิจารณ์ พานิช. เส้นทางสร้างสรรค์ สกว. ประสบการณ์ลองถูกลองผิดในการบริหารองค์กรอิสระ (2545) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
  • วิจารณ์ พานิช. การจัดการเครือข่ายวิชาการ (2546). กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้คึออะไร ไม่ทำ-ไม่รู้. ในหนังสือ "การจัดการความรู้ เพื่อคุณภาพที่สมดุล" หน้า 16 - 37(2547) สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
  • วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ (2548) สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ได้รับการจัดทำเป็นหนังสือเสียงสำหรับผู้พิการทางสายตา โดยศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2554) และจัดทำเป็นหนังสือประกอบการสอน สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2554)
  • วิจารณ์ พานิช. KM วันละคำ : จากนักปฏิบัติ KM สู่นักปฏิบัติ KM เรียงร้อยถ้อยคำ "การจัดการความรู้" ที่ลึกกว่าถ้อยคำ (2549) สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
  • วิจารณ์ พานิช. ผู้บริหาร องค์กรอัจฉริยะ ฉบับนักปฏิบัติ (2550) สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
  • วิจารณ์ พานิช. สภามหาวิทยาลัย ของ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (2551)
  • วิจารณ์ พานิช. กลไกกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา (2551) สถาบันคลังสมองของชาติ
  • วิจารณ์ พานิช. เคออร์ดิค อลหม่าน สู่ ...ระเบียบ (2552) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
  • วิจารณ์ พานิช. แนวทางการทำงานของสมาชิกสภามหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร (2552) จัดพิมพ์โดยสถาบันคลังสมองของชาติ
  • วิจารณ์ พานิช. การศึกษาไทย ๒๕๕๒ - ๒๕๕๓ สู่เส้นทางแห่งอาจาริยบูชา "ครูเพื่อศิษย์" (ธันวาคม 2552) จัดพิมพ์โดยสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
  • วิจารณ์ พานิช. ครูเพื่อศิษย์ เติมหัวใจให้การศึกษา (พฤศจิกายน 2553) จัดพิมพ์โดยศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิจารณ์ พานิช. เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของอุดมศึกษาไทย (ธันวาคม 2553) จัดพิมพ์โดยสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑ (มกราคม ๒๕๕๕) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
  • วิจารณ์ พานิช. ส่งความสุข สู่คุณภาพการศึกษา (พฤศจิกายน ๒๕๕๕) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสถาบันจัดการความรู้เพื่อสังคม
  • วิจารณ์ พานิช. ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง (๒๕๕๖) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล
  • วิจารณ์ พานิช. สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ (๒๕๕๖) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสด-ศรีสฤษดิ์วงศ์
  • วิจารณ์ พานิช. การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร (ตุลาคม ๒๕๕๖) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล
  • วิจารณ์ พานิช. การสร้างการเรียนรู้ สู่ศตวรรษที่ ๒๑ (ตุลาคม ๒๕๕๖) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล
  • วิจารณ์ พานิช. สอนนอกกรอบ ยุทธวิธีจับใจศิษย์ (ธันวาคม ๒๕๕๖) จัดพิมพ์โดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
  • วิจารณ์ พานิช. สอนเด็กให้เป็นคนดี (ตุลาคม ๒๕๕๗ และ ธันวาคม ๒๕๕๗) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล
  • วิจารณ์ พานิช. การประเมินเพื่อมอบอำนาจการเรียนรู้ (มิถุนายน ๒๕๕๗) จัดพิมพ์โดยโดยบริษัท สานอักษร จำกัด
  • วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ผู้เรียบเรียง. แกะรอยความคิด พินิจความเรียง ของศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช (ธันวาคม ๒๕๕๗) จัดพิมพ์โดย มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ
  • วิจารณ์ พานิช. เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning (พฤศจิกายน ๒๕๕๘) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล
  • วิจารณ์ พานิช. สอนอย่างมือชั้นครู (มกราคม ๒๕๕๙) จัดพิมพ์โดยโครงการผู้นำแห่งอนาคต คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วิจารณ์ พานิช. ขอบฟ้าใหม่ในการจัดการความรู้ (กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมาจล
  • วิจารณ์ พานิช. บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ (กันยายน ๒๕๕๙) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล
  • วิจารณ์ พานิช. เลี้ยงลูกยิ่งใหญ่ (ธันวาคม ๒๕๕๙) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล
  • วิจารณ์ พานิช และ วิมลศรี ศุษิลวรณ์. ศาสตร์และศิลป์ของการสอน (พฤศจิกายน ๒๕๖๐) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจลและโรงเรียนเพลินพัฒนา
  • วิจารณ์ พานิข. มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคมที่สหราชอาณาจักร (มีนาคม ๒๕๖๑) จัดพิมพ์โดยสถาบันคลังสมองของชาติ
  • วิจารณ์ พานิช และ วิมลศรี ศุษิลวรณ์. ปรับปรุงการสอนเล็กน้อย ได้ผลยิ่งใหญ่ (พฤศจิกายน ๒๕๖๑) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกับกองทุนจิตตปัญญาเพื่อครูเพลินพัฒนา
  • วิจารณ์ พานิช. พลังแห่งวัยเยาว์ (พฤศจิกายน ๒๕๖๑) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล และมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ
  • วิจารณ์ พานิช. วิจัยชั้นเรียน เปลี่ยนครู (เมษายน ๒๕๖๒) จัดพิมพ์โดยมลนิธิสยามกัมมาจล
  • วิจารณ์ พานิช. มหาวิทยาลัยแห่งอนาคต (มิถุนายน ๒๕๖๒) จัดพิมพ์โดยกองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิจารณ์ พานิช และ วิมลศรี ศุษิลวรณ์. สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน (พฤศจิกายน ๒๕๖๒) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และกองทุนจิตตปัญญาเพื่อครูเพลินพัฒนา
  • วิจารณ์ พานิช. Creativity and Critical Thinking. บันทึกจากการประชุม Creativity and Critical Thinking. (มีนาคม ๒๕๖๓) จัดพิมพ์โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
  • วิจารณ์ พานิช และ ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร, การศึกษาคุณภาพสูงระดับโลก (มิถุนายน ๒๕๖๓) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล
  • วิจารณ์ พานิช และวิมลศรี ศุษิลวรณ์. ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง (พฤศจิกายน ๒๕๖๓) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และกองทุนจิตตปัญญาเพื่อครูเพลินพัฒนา
  • วิจารณ์ พานิช และวิมลศรี ศุษิลวรณ์. สอนเสวนาสู่การเรียนรู้เชิงรุก (ธันวาคม ๒๕๖๔) จัดพิมพ์โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
  • วิจารณ์ พานิช. เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ (สิงหาคม ๒๕๖๕) จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]