โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Walailak University Hospital
ตราสัญลักษณ์สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
แผนที่
ประเภทโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ที่ตั้ง222 หมู่ที่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80161
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
สังกัดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผู้อำนวยการผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว
จำนวนเตียง257[1]
เว็บไซต์https://hospital.wu.ac.th

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (อังกฤษ: Walailak University Hospital) เป็นโรงพยาบาลในสังกัด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดตั้งเพื่อให้บริการและเป็นโรงพยาบาลชั้นนำของภาคใต้

ประวัติ[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดตั้งเพื่อให้บริการและเป็นโรงพยาบาลชั้นนำของภาคใต้ตอนบน บนพื้นที่ 405 ไร่

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ระยะนำร่อง) ณ อาคารวิจัยวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งสนับสนุนด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย และด้านบริการวิชาการ สำหรับสำนักวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[2]

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ระยะแรก) เพื่อให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไปอย่างเป็นทางการ โดยได้เริ่มเปิดให้บริการในแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) และแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER)[3]

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เริ่มเปิดให้บริการแผนกผู้ป่วยใน (IPD) จำนวน 16 เตียง แบ่งเป็นผู้ป่วยชาย จำนวน 8 เตียง และผู้ป่วยหญิง จำนวน 8 เตียง[4]

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ย้ายการบริการมายังอาคารสำนักงานใหญ่ โดยเปิดให้บริการในแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) และแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER)[5]

เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เริ่มเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง โดยได้มีการขยายการให้บริการในแผนกผู้ป่วยใน (IPD) พิเศษ จำนวน 24 เตียง แผนกผู้ป่วยใน (IPD) สามัญ จำนวน 61 เตียง แผนกผู้ป่วยวิกฤต (ICU) จำนวน 12 เตียง และแผนกทารกแรกคลอด (Nursery) จำนวน 10 เตียง

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 นายอภินันท์ เผือกผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (เฟสที่ 1) จำนวน 426 เตียง เพื่อให้บริการทางการแพทย์โดยใช้เครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูง เป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ระดับตติยภูมิ และเป็นศูนย์กลางของการรักษาพยาบาลของภาคใต้ตอนบน[6]

ผู้อำนวยการ[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นพ.จรัส จันทร์ตระกูล 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (รักษาการ)
2. นพ.ธีระพันธ์ สงนุ้ย 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (รักษาการ)
3. รศ.ดร.จรัญ บุญกาญจน์ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 (รักษาการ)
4. นพ.ลิขิต มาตระกูล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 (รักษาการ)
5. ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565 (รักษาการ)
6. รศ.ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน (รักษาการ)

อาคาร[แก้]

ผู้ป่วยนอก[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีบริการผู้ป่วยนอกจำนวน 13 คลินิก ดังนี้

  • คลินิกทั่วไป
    • คลินิกโรคทั่วไป
    • คลินิกตรวจสุขภาพ
  • คลินิกเฉพาะโรค
    • คลินิกโรคหอบหืดและภูมิแพ้
  • คลินิกเฉพาะทาง
    • คลินิกอายุรกรรม
    • คลินิกเด็ก
    • คลินิกศัลยกรรม
    • คลินิกตา
    • คลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว
    • คลินิกกระดูกและข้อ
    • คลินิกรักษ์ใจ (จิตเวช)
    • คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
    • คลินิกสูตินรีเวช
  • คลินิกพิเศษ
    • คลินิกสูตินรีเวช
    • คลินิกตา
    • คลินิกโรคผิวหนัง เลเซอร์ผิวพรรณ และความงาม
    • คลินิกอายุรกรรม

ผู้ป่วยใน[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีบริการผู้ป่วยใน ดังนี้

  • วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เปิดให้บริการ จำนวน 16 เตียง
  • วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565 เปิดให้บริการ จำนวน 123 เตียง
  • ปี พ.ศ. 2565 เปิดบริการ 419 เตียง
  • ปี พ.ศ. 2567 เปิดบริการ 550 เตียง
  • ปี พ.ศ. 2572 เปิดบริการ 750 เตียง

กองทุนพัฒนา[แก้]

กองทุนพัฒนาศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการสร้างเสริม สนับสนุน อีกทั้งเป็นช่องทางในการระดมสมทบทุน เพื่อใช้ในกิจการของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อย่างกว้างขวาง

โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://gishealth.moph.go.th/healthmap/infoequip.php?maincode=40970[ลิงก์เสีย]
  2. "ความเป็นมา". มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2018-02-22.
  3. "เปิดให้บริการแล้ว!! รพ.ศูนย์การแพทย์ มวล". มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2018-02-22.
  4. "รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ระยะแรก เปิดให้บริการผู้ป่วยในขนาด 16 เตียง". มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2019-04-01.
  5. "พิธีเปิดสำนักงานใหญ่ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์". มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2021-11-16.
  6. "เปิดบริการแล้ว! ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ เปิดให้บริการแล้ว ขนาด 426 เตียง". มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2022-11-24.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]