โรงพยาบาลยะลา
โรงพยาบาลยะลา Yala Hospital | |
---|---|
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | 152 ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000, ประเทศไทย |
หน่วยงาน | |
ประเภท | ภูมิภาค |
สังกัด | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ |
บริการสุขภาพ | |
จำนวนเตียง | 513 เตียง |
ประวัติ | |
ชื่อเดิม | สุขศาลาเทศบาลเมืองยะลา |
เปิดให้บริการ | 1 มกราคม พ.ศ. 2492 |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | Yala Hospital website |
โรงพยาบาลยะลา เป็นโรงพยาบาลหลักของจังหวัดยะลา ประเทศไทย โดยได้รับการจัดอยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะโรงพยาบาลระดับภูมิภาค ซึ่งมีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทที่อบรมแพทย์ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเป็นโรงพยาบาลในเครือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
ประวัติ
[แก้]ใน พ.ศ. 2485 ภายหลังการก่อตั้งกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการริเริ่มนโยบายการสร้างโรงพยาบาลในทุกจังหวัด ในช่วงปลาย พ.ศ. 2491 สุขศาลาเทศบาลเมืองยะลาได้รับการยกระดับเป็นโรงพยาบาลยะลา โดยมีการเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 และไปสู่สถานะโรงพยาบาลระดับภูมิภาคเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 โรงพยาบาลนี้มีข้อตกลงในการฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์และทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลสอนคลินิกแก่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD)[1][2]
ทั้งนี้ โรงพยาบาลยะลาเป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วยระดับตติยภูมิที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการบาดเจ็บจากความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ณ สามจังหวัดอย่างปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส ที่ความขัดแย้งเข้มข้นที่สุด
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
[แก้]ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลยะลา เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดโรงพยาบาลยะลา กระทรวงสาธารณสุข เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยก่อตั้งเมื่อปี พุทธศักราช 2547 ในเขตภาคใต้ ณ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ประวัติ
[แก้]โรงพยาบาลยะลาเป็นโรงพยาบาลศูนย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสืบเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จากเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้แพทย์ลาออกมากขึ้น จึงเกิดการแก้ไขโดยโครงการผลิตแพทย์เพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรับนักเรียนในพื้นที่จังหวัด ยะลา นราธิวาส และปัตตานี ที่มีความรู้และเจดคติที่ดีในการศึกษาด้านแพทยศาสตร์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นความร่วมมือในการร่วมผลิตแพทย์ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และกระทรวงสาธารณสุข ในพุทธศักราช 2547 กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทได้จัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก จำนวน 3 แห่งในโรงพยาบาลยะลา โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ และโรงพยาบาลปัตตานี โดยรับนักศีกษาแพทย์รุ่นแรก ในปีการศึกษา 2548 จำนวน 30 คน โดยแบ่งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกละ 10 คน
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลยะลา จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใน 1 หลักสูตร คือ
|
ระยะเวลาในการศึกษา
[แก้]ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้
|
|
การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
[แก้]ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลยะลา รับสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยวิธีรับตรงผ่านทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามประกาศรับตรงประจำปีของมหาวิทยาลัยสงขลานตรินทร์
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติรพ. ยะลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-25.
- ↑ "ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564 ณ กุมภาพันธ์ 2565". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-25.