ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต]

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตภูเก็ต
Prince of Songkla University
Phuket Campus
ชื่อย่อม.อ.[1]ภูเก็ต / PSU Phuket
สถาปนา14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 (46 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ตรศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม
ที่อยู่
เลขที่ 80 หมู่ 1 ถนนวิชิตสงคราม อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
สี  Navy Blue
เว็บไซต์https://www.psu.ac.th/phuket

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Prince of Songkla University; อักษรย่อ: ม.อ. – PSU) เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภาคใต้ เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาในท้องถิ่น และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภูมิภาค เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเจตนาก่อตั้งที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขต มุ่งมั่นที่จะให้สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางวิชาการระดับสูงเพื่อตอบสนองการพัฒนาภาคใต้ และเพื่อเป็นสถาบันที่สามารถรับใช้ชุมชนได้อย่างแท้จริง ด้วยเจตนารมณ์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ดังกล่าว จึงเป็นที่มาของขยายเขตการศึกษาเพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนมาที่จังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ.2516 ในลักษณะของการให้บริการทางวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น

ประวัติ

[แก้]
  • พ.ศ. 2520 ศ.นพ.สวัสดิ์ สกุลไทย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในขณะนั้นได้มีแนวคิดในการขยายการจัดการเรียนการสอนมาที่จังหวัดภูเก็ต ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้เป็นโครงการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2520 และเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2529 ได้มีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้ง “วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต” ซึ่งเป็นวิทยาลัยชุมชนแห่งแรกของประเทศไทย จัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรหลักสูตร 2 ปี สาขาต่างๆ ตามความต้องการของชุมชน สาขาที่เปิดสอนในระยะแรกคือ สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และต่อมาจึงเปิดเพิ่มอีกหลายสาขา
  • พ.ศ. 2529 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต เป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะ และเป็นวิทยาลัยชุมชนแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2537 เริ่มดำเนินการโครงการจัดตั้งคณะการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยวขึ้นเพื่อผลิตบุคลากร ระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาการจัดการโรงแรม โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนมีนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 49 คน
  • พ.ศ. 2538 มหาวิทยาลัยได้เริ่มดำเนินการโครงการจัดตั้งวิทยาเขตภูเก็ต โดยการเฉลี่ยอัตรากำลังบางส่วน จากวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต ไปปฏิบัติงานในสำนักงานวิทยาเขต และย้ายที่ตั้งในการดำเนินการ มาที่อำเภอกะทู้จนถึงปัจจุบัน
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้ขยายโอกาสทางการศึกษากว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 3 คณะ คือ คณะบริการและการท่องเที่ยว คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม คณะวิเทศศึกษา และ 1 วิทยาลัย คือ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ โดยมีสำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต เป็นส่วนงานกลางที่บริหารและสนับสนุนการเรียนการสอน ในปีการศึกษา 2567 มีการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งหมด 20 หลักสูตร ในจำนวนนั้นเป็นหลักสูตรนานาชาติ 13 หลักสูตร (ตรวจสอบแล้วค่ะกับงานหลักสูตร)

ปัจจุบัน วิทยาเขตภูเก็ตพัฒนาวิชาการ วิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ สาขาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาของประเทศ จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดรอบข้างในกลุ่มอันดามัน ดังนั้น วิทยาเขตภูเก็ตจึงกำหนดทิศทางที่จะพัฒนาศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความเป็นเลิศในระดับนานาชาติใน 5 กลุ่มสาขา ดังนี้ 1) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ที่สนองต่อบริบทของนโยบายรัฐบาลยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และบริบทของยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล) ที่มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเน้นคุณค่าและมูลค่าสูง ขับเคลื่อนโดย คณะบริการและการท่องเที่ยว 2) เพื่อสนองต่อบริบทของจังหวัดภูเก็ตที่ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงาน และการบริการภาครัฐไปสู่ระบบดิจิทัล นครแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมดิจิทัล และธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้นโยบายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขับเคลื่อนโดย วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ 3) เพื่อสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติทางธรรมชาติรองรับการเติบโตด้านการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งอันดามันอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ขับเคลื่อนโดย คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 4) เพื่อเพิ่มคุณค่าของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ภาษาและวัฒธรรม ขับเคลื่อนโดย คณะวิเทศศึกษา และและ 5) เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวมูลค่าสูงและส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของจังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Hub) ขับเคลื่อนโดย ศูนย์ สุขภาพนานาชาติอันดามัน

โดยมีสำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต เป็นหน่วยงานกลางที่บริหารและสนับสนุนการเรียนการสอน ในปีการศึกษา 2566 มีการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งหมด 19 หลักสูตร ในจำนวนนั้นเป็นหลักสูตรนานาชาติ 14 หลักสูตร

สัญลักษณ์

[แก้]
  • มาร์ชสงขลานครินทร์ (เพิ่มที่มา, ประวัติ)
  • เสื้อครุยพระราชทาน (เพิ่มที่มา, ประวัติ)
  • สีบลู (เพิ่มที่มา, ประวัติ)








พื้นที่มหาวิทยาลัย

[แก้]

พื้นที่ในการดำเนินงาน

	ช่วงแรกที่ดำเนินโครงการวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต อาศัยบ้านเช่าเป็นสำนักงานชั่วคราว และใช้โรงเรียนเทศบาลซึ่งอยู่ใกล้กันเป็นสถานที่เรียน จนกระทั่งมีสถานที่และอาคารของตัวเองที่บริเวณสะพานหินในปี พ.ศ.2527
	ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต มีพื้นที่ดำเนินการ 2 แห่ง

● พื้นที่บริเวณสะพานหิน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นที่ราชพัสดุ จำนวนประมาณ 5 – 1 – 23 2/10 ไร่ พัฒนาเป็นศูนย์รวมของการบริการวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ ของเขตการศึกษาภูเก็ต และบริเวณชั้น 5 ของอาคารได้เปิดให้บริการที่พัก ประกอบด้วยอาคารต่าง ๆ ดังนี้

รายการ ขนาด พื้นที่ (ตร.ม.)
1.1 อาคารศูนย์บริการวิชาการสะพานหิน 5 ชั้น 4,480
1.2 อาคารอเนกประสงค์ 2 ชั้น 228
1.3 โรงปฏิบัติการโปรแกรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 1 ชั้น 66
1.4 โรงจอดรถยนต์ 1 ชั้น 100
1.5 โรงจอดรถจักรยานยนต์ 1 ชั้น 40
1.6 บ้านพักบุคลากร จำนวน 2 ยูนิต 1 ชั้น 77

ในปีพ.ศ. 2566 พื้นที่บริเวณสะพานหินได้เปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้พื้นที่ เพื่อดำเนินการจัดตั้งศูนย์ทันตกรรมดิจิทัลสงขลานครินทร์ Dental Digital Center เป็นศูนย์ทันตกรรมดิจิทัลที่ทันสมัยแห่งแรกของภาคใต้ที่จะใช้ AI เข้ามาช่วยอย่างเต็มรูปแบบ ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 2567

● พื้นที่อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต พื้นที่ประมาณ 274 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินบริจาคโดยบริษัทอนุภาษและบุตร จำกัด และนายวีระพงษ์ หงษ์หยก จำนวน 77 ไร่ ในปี 2537 และพื้นที่ป่าสงวน กรมป่าไม้ จำนวน 197 ไร่ ใช้เป็นศูนย์รวมของการเรียนการสอน ประกอบด้วยอาคารเรียนรวมของวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต อาคารของคณะอุตสาหกรรมบริการ ที่พักอาจารย์ หอพักนักศึกษา กิจการสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในขณะนั้น ประกอบด้วย

รายการ ขนาด พื้นที่ (ตร.ม.)
2.1 อาคารที่ทำการคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต 4 ชั้น 7,939
2.2 อาคารคณะอุตสาหกรรมบริการ 5 ชั้น 7,251
2.3 อาคารสถาบันภาษา 4 ชั้น 4,973
2.4 อาคารวิทยบริการ 4 ชั้น 6,931
2.5 อาคารปฏิบัติการดนตรี 1 ชั้น 443
2.6 อาคารเทคโนโลยียาง 2 ชั้น 835
2.7 อาคารกีฬาในร่ม 1 ชั้น 1,380
2.8 อาคารโรงอาหาร 1 ชั้น 900
2.9 หอพักนักศึกษา (หอพักมหาวิทยาลัย) 5 ชั้น 6,985
2.10 บ้านพักอาจารย์ระดับ 3-4 จำนวน 2 หลัง 1 ชั้น 77
2.11 อาคารที่พักอาจารย์และบุคลากร (96 ยูนิต) 5 ชั้น 12,890
2.12 อาคารโรงกรองน้ำและถังเก็บน้ำ 1 ชั้น 138
2.13 อาคารซ่อมบำรุง 1 ชั้น 202
2.14 อาคารควบคุมระบบบำบัดน้ำ 1 ชั้น 30
2.15 อาคารเรือนเพาะชำ 1 ชั้น 125
2.16 ศาลาพักผ่อนหน้าหอพักนักศึกษา 1 ชั้น 9
2.17 โรงสูบน้ำเครื่องยนต์ดีเซล 1 ชั้น 9
2.18 บ้านพักคนงาน จำนวน 1 หลัง 2 ยูนิต 1 ชั้น 77
2.19 โรงเก็บเครื่องสูบน้ำ 1 ชั้น 3
2.20 หอพักนักศึกษาในกำกับ จำนวน 2 หลัง - 5,250
2.21 สนามเทนนิส - 3,120
2.22 สนามบาสเกตบอล - 1,296
2.23 สนามวอลเลย์บอลชายหาด - 525

ปัจจุบันพื้นที่อำเภอกะทู้ ที่ตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เป็นพื้นที่หลักที่เปิดสอนด้านการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ประกอบด้วย 3 คณะ 1 วิทยาลัย และสำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต พร้อมอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ นอกจากนี้มีหน่วยงานให้บริการและดูแลการเรียนการสอนหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข ประกอบด้วย ศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์ ม.อ.ภูเก็ต หน่วยบริการแพทย์แผนไทย ม.อ.ภูเก็ต และวิทยาลัยสุขภาพนานาชาติ

หลักสูตร

[แก้]
ระดับปริญญาตรี


ระดับปริญญาโท


ระดับปริญญาเอก

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. การกำหนดรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงและเลขที่หนังสือออกของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564