ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
| ชื่อย่อ = AIT
| ชื่อย่อ = AIT
| ก่อตั้ง = [[พ.ศ. 2502]]
| ก่อตั้ง = [[พ.ศ. 2502]]
| ประเภท = องค์การระหว่างประเทศ<ref>[http://www.mfa.go.th/main/en/information/3009 รายชื่อองค์การระหว่างประเทศ]| กระทรวงการต่างประเทศ</ref>
| ประเภท = สถาบันอุดมศึกษาอิสระนานาชาติ
| คำขวัญ = .....Towards Excellence
| คำขวัญ = .....Towards Excellence
| ตำแหน่งหัวหน้า = อธิการบดี
| ตำแหน่งหัวหน้า = อธิการบดี
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
}}
}}


'''สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย''' ({{lang-en|Asian Institute of Technology}}) หรือ '''เอไอที''' เป็นสถาบันการศึกษานานาชาติ ก่อตั้งเมื่อ [[พ.ศ. 2502]] โดยความร่วมมือจากกลุ่มประเทศ[[สนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] (ซีโต้ หรือ สปอ.) ในชื่อ '''โรงเรียนวิศวกรรมสปอ.''' (SEATO Graduate School of Engineering) ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นสถาบันอิสระในชื่อปัจจุบันเมื่อเดือนพฤศจิกายน [[พ.ศ. 2510]] เปิดสอนระดับ[[อุดมศึกษา]] ([[ปริญญาโท]] และ[[ปริญญาเอก]]) โดยเน้นทางด้าน[[วิทยาศาสตร์]] [[เทคโนโลยี]] และ[[การจัดการ]] ในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาใน[[ทวีปเอเชีย|ภูมิภาคเอเชีย]] มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่[[จังหวัดปทุมธานี]] [[ประเทศไทย]] นอกจากนี้ยังมีศูนย์การศึกษาใน[[ประเทศเวียดนาม]]ด้วย
'''สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย''' ({{lang-en|Asian Institute of Technology}}) หรือ '''เอไอที''' เป็นสถาบันการศึกษาที่มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ<ref>[http://www.mfa.go.th/main/en/information/3009/36133-AIT.html INTERNATIONAL ORGANIZATIONS : AIT]| กระทรวงการต่างประเทศ</ref> ก่อตั้งเมื่อ [[พ.ศ. 2502]] โดยความร่วมมือจากกลุ่มประเทศ[[สนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] (ซีโต้ หรือ สปอ.) ในชื่อ '''โรงเรียนวิศวกรรมสปอ.''' (SEATO Graduate School of Engineering) ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นสถาบันอิสระในชื่อปัจจุบันเมื่อเดือนพฤศจิกายน [[พ.ศ. 2510]] เปิดสอนระดับ[[อุดมศึกษา]] ([[ปริญญาโท]] และ[[ปริญญาเอก]]) โดยเน้นทางด้าน[[วิทยาศาสตร์]] [[เทคโนโลยี]] และ[[การจัดการ]] ในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาใน[[ทวีปเอเชีย|ภูมิภาคเอเชีย]] มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่[[จังหวัดปทุมธานี]] [[ประเทศไทย]] นอกจากนี้ยังมีศูนย์การศึกษาใน[[ประเทศเวียดนาม]]ด้วย


สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เป็นสมาชิกของเครือข่าย [[LAOTSE]] ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำใน[[ทวีปเอเชีย|เอเชีย]]และ[[ทวีปยุโรป|ยุโรป]] ตามกรอบความร่วมมือ[[การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป|อาเซม]]
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เป็นสมาชิกของเครือข่าย [[LAOTSE]] ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำใน[[ทวีปเอเชีย|เอเชีย]]และ[[ทวีปยุโรป|ยุโรป]] ตามกรอบความร่วมมือ[[การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป|อาเซม]]
บรรทัด 27: บรรทัด 27:


== สถานะ ==
== สถานะ ==
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นสถาบันการศึกษาที่มีสถานะแตกต่างจากสถาบันระดับอุดมศึกษาอื่นในประเทศไทย เนื่องจากมีลักษณะเป็นสถาบันการศึกษาอิสระนานาชาติ จึงไม่ได้เป็นทั้งสถาบันของรัฐบาลและเอกชน แต่มีสถานะเทียบเท่ากับสถาบันระหว่างประเทศ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2555 ได้เกิดประเด็นเกี่ยวกับการไม่รับรองในระบบราชการไทยขึ้นจากการที่ไม่ได้เป็นสถาบันการศึกษาเอกชน แต่ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขในเวลาต่อมา ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้ให้การรับรองคุณวุฒิจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียจัดอยู่ในการรับรองคุณวุฒิต่างประเทศ<ref>[http://e-accreditation.ocsc.go.th/acc/search/interpdf/ait.pdf การพิจารณารับรองคุณวุฒิและกําหนดอัตราเงินเดือนของผู้สําเร็จการศึกษาจาก Asian Institute of Technology] สำนักงาน ก.พ.</ref>
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นสถาบันการศึกษาที่มีสถานะแตกต่างจากสถาบันระดับอุดมศึกษาอื่นในประเทศไทย เนื่องจากมีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ จึงไม่ได้เป็นทั้งสถาบันของรัฐบาลและเอกชน แต่มีสถานะเทียบเท่ากับสถาบันระหว่างประเทศ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2555 ได้เกิดประเด็นเกี่ยวกับการไม่รับรองในระบบราชการไทยขึ้นจากการที่ไม่ได้เป็นสถาบันการศึกษาเอกชน แต่ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขในเวลาต่อมา ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้ให้การรับรองคุณวุฒิจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียจัดอยู่ในการรับรองคุณวุฒิต่างประเทศ<ref>[http://e-accreditation.ocsc.go.th/acc/search/interpdf/ait.pdf การพิจารณารับรองคุณวุฒิและกําหนดอัตราเงินเดือนของผู้สําเร็จการศึกษาจาก Asian Institute of Technology] สำนักงาน ก.พ.</ref>


ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียมีการเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยนักศึกษาส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 เป็นนักศึกษาจากต่างประเทศ และนักศึกษาของสถาบันส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเรียนดีที่ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลของประเทศต่างๆที่ร่วมกันก่อตั้งสถาบัน<ref>[https://blog.eduzones.com/magazine/177165 ทุนเยอะ!เอไอทีเปิดบ้านโชว์หลักสูตร-แจงข้อมูลทุน]</ref><ref>[https://www.ait.ac.th/admissions/scholarships/ Scholarships]</ref>
ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียมีการเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยนักศึกษาส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 เป็นนักศึกษาจากต่างประเทศ และนักศึกษาของสถาบันส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเรียนดีที่ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลของประเทศต่างๆที่ร่วมกันก่อตั้งสถาบัน<ref>[https://blog.eduzones.com/magazine/177165 ทุนเยอะ!เอไอทีเปิดบ้านโชว์หลักสูตร-แจงข้อมูลทุน]</ref><ref>[https://www.ait.ac.th/admissions/scholarships/ Scholarships]</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:17, 25 มีนาคม 2561

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
ชื่อย่อAIT
คติพจน์.....Towards Excellence
ประเภทองค์การระหว่างประเทศ[1]
สถาปนาพ.ศ. 2502
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.ait.ac.th

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (อังกฤษ: Asian Institute of Technology) หรือ เอไอที เป็นสถาบันการศึกษาที่มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ[2] ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2502 โดยความร่วมมือจากกลุ่มประเทศสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโต้ หรือ สปอ.) ในชื่อ โรงเรียนวิศวกรรมสปอ. (SEATO Graduate School of Engineering) ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นสถาบันอิสระในชื่อปัจจุบันเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เปิดสอนระดับอุดมศึกษา (ปริญญาโท และปริญญาเอก) โดยเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการ ในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีศูนย์การศึกษาในประเทศเวียดนามด้วย

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชียและยุโรป ตามกรอบความร่วมมืออาเซม

ที่ตั้ง

อาคารเรียนและสภาพแวดล้อมภายในเอไอที

ระยะแรกของการก่อตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ สปอ. (ชื่อของสถาบันในขณะนั้น) ตั้งอยู่ในพื้นที่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้รับการอนุมัติให้ใช้พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐบาลไทย อยู่บริเวณติดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตในปัจจุบัน จึงได้พัฒนาเป็นที่ตั้งจนถึงทุกวันนี้

ด้านหน้าของสถาบันฯ เป็นพื้นที่สีเขียวเป็นแนวกว้าง เดิมได้ออกแบบเพื่อเป็นพื้นที่ถอยร่นใช้กันเสียงและมลภาวะจากภายนอก และใช้เป็นพื้นที่สนามกอล์ฟ 9 หลุมสำหรับนักศึกษาและบุคลากรของสถาบันฯ จนเมื่อปี พ.ศ. 2546 ได้มีโครงการเปลี่ยนพื้นที่สนามกอล์ฟเป็นพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์เปิดให้บุคคลภายนอกได้ใช้ เป็นหนึ่งในพื้นที่สีเขียวที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี

นอกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว พื้นที่ติดกับสถาบันยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำคัญอย่าง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สถานะ

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นสถาบันการศึกษาที่มีสถานะแตกต่างจากสถาบันระดับอุดมศึกษาอื่นในประเทศไทย เนื่องจากมีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ จึงไม่ได้เป็นทั้งสถาบันของรัฐบาลและเอกชน แต่มีสถานะเทียบเท่ากับสถาบันระหว่างประเทศ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2555 ได้เกิดประเด็นเกี่ยวกับการไม่รับรองในระบบราชการไทยขึ้นจากการที่ไม่ได้เป็นสถาบันการศึกษาเอกชน แต่ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขในเวลาต่อมา ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้ให้การรับรองคุณวุฒิจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียจัดอยู่ในการรับรองคุณวุฒิต่างประเทศ[3]

ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียมีการเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยนักศึกษาส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 เป็นนักศึกษาจากต่างประเทศ และนักศึกษาของสถาบันส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเรียนดีที่ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลของประเทศต่างๆที่ร่วมกันก่อตั้งสถาบัน[4][5]

หน่วยงาน

สำนักวิชา

  • สำนักวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี
  • สำนักวิชาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา
  • สำนักวิชาการจัดการ

ศูนย์

  • ศูนย์เอไอทีเวียดนาม
  • โครงการพัฒนาการจัดการ สวิส-เอไอที-เวียดนาม
  • ศูนย์การศึกษาทางไกล
  • ห้องสมุดเอไอที

อันดับมหาวิทยาลัย

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย อยู่ในอันดับที่ 1,104 ของโลก อันดับที่ 35 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 13 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[6]

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้การจัดอันดับมหาวิทยาลัยนานาชาติยอดเยี่ยมของโลกจาก U-Multirank 2015 International Ranking ในฐานะมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นความเป็นนานาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยเป็นสถาบันการศึกษานานาชาติเพียงแห่งเดียวในทวีปเอเชียที่ได้รับการจัดระดับในระดับ A ครบทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การถ่ายทอดองค์ความรู้ การมุ่งเน้นความเป็นนานาชาติ และความเกี่ยวข้องในระดับภูมิภาค และยังได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 15 ของเอเชีย ในการวัดระดับในภาพรวมด้วย[7][8]

รางวัล

รางวัลรามอน แมกไซไซ

เมื่อปี พ.ศ. 2532 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ ในสาขาสันติภาพและความเข้าใจระหว่างประเทศ จากการพัฒนาทรัพยากรบุคคลยุคใหม่ โดยเฉพาะวิศวกรและผู้จัดการ ในทวีปเอเชีย โดยมีบรรยากาศการเรียนการสอนที่ดีเยี่ยมและมีความเป็นมิตร[9]

เหรียญมิตรภาพเวียดนาม

รัฐบาลเวียดนามได้มอบรางวัลเหรียญมิตรภาพให้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียในปี พ.ศ. 2549[10] ซึ่งถือเป็นรางวัลที่สูงที่สุดที่มีการมอบในระดับระหว่างประเทศ และมีการเสนอไปยังสถาบันระหว่างประเทศที่กระจายการฝึกทักษะทรัพยากรบุคคลแก่เวียดนาม และการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับประเทศอื่น

อ้างอิง

  1. รายชื่อองค์การระหว่างประเทศ| กระทรวงการต่างประเทศ
  2. INTERNATIONAL ORGANIZATIONS : AIT| กระทรวงการต่างประเทศ
  3. การพิจารณารับรองคุณวุฒิและกําหนดอัตราเงินเดือนของผู้สําเร็จการศึกษาจาก Asian Institute of Technology สำนักงาน ก.พ.
  4. ทุนเยอะ!เอไอทีเปิดบ้านโชว์หลักสูตร-แจงข้อมูลทุน
  5. Scholarships
  6. Ranking Web of World UniversitiesTop South East Asia
  7. สถาบัน"เอไอที" ยอดเยี่ยมโลก ฐานะ"ม.อินเตอร์" ไทยโพสต์
  8. "เอไอที" ติดอันดับโลกเร่งเสริมจุดแข็ง ไทยรัฐออนไลน์
  9. The 1989 Ramon Magsaysay Award for International Understanding http://www.rmaf.org.ph/Awardees/Citation/CitationAIT.htm
  10. "Vietnam bestows highest international relations honor to AIT". ait.asia. สืบค้นเมื่อ 2014-04-12.

แหล่งข้อมูลอื่น