พจน์ ชุณหะวัณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พจน์ ชุณหะวัณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 ธันวาคม พ.ศ. 2443
เมืองสมุทรสงคราม ประเทศสยาม
เสียชีวิต17 ตุลาคม พ.ศ. 2520 (76 ปี)
คู่สมรสเนื่องอนงค์ ประสาตร์สาน (สมรส 2461)
บุตร5 คน
บุพการี
  • นายไข่ ชุณหะวัณ (บิดา)
  • นางพลับ ชุณหะวัณ (มารดา)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลโท

พลโท พจน์ ชุณหะวัณ หรือ ขุนพจน์ศรศักดิ์ (4 ธันวาคม พ.ศ. 2443 – 17 ตุลาคม พ.ศ. 2520) อดีต ผู้บัญชาการกองพลที่ 3 อดีตผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 3 อดีตรองแม่ทัพกองทัพที่ 3 และ อดีตรองผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 3

ประวัติ[แก้]

พลโทพจน์เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2443 ที่ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรชายของ นายไข่ และ นางพลับ ชุณหะวัณ และเป็นน้องชายแท้ ๆ ของ จอมพลผิน ชุณหะวัณ อดีต ผู้บัญชาการทหารบก

พลโทพจน์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2520

การศึกษาและรับราชการ[แก้]

พลโทพจน์จบการศึกษาจาก โรงเรียนนายร้อยทหารบก (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปัจจุบัน) และได้รับพระราชทานยศร้อยตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2466[1] รุ่นเดียวกับ พลเอก เรือง เรืองวีรยุทธ อดีต ปลัดกระทรวงกลาโหม

ต่อมาในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 พลโทพจน์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนพจน์ศรศักดิ์ ศักดินา 600[2] จากนั้นในช่วงเหตุการณ์ กบฏบวรเดช เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 พลโทพจน์ขณะมียศและบรรดาศักดิ์เป็น ร้อยโท ขุนพจน์ศรศักดิ์ ได้นำปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานบนรถสายพานผูกติดกับโบกี้รถไฟเพื่อใช้ต่อสู้กับฝ่ายกบฏ แต่กลับถูกฝ่ายกบฏนำโบกี้รถไฟเปล่าพุ่งชนหรือที่เรียกว่า ตอร์ปิโดบก ทำให้ร้อยโทพจน์ได้รับบาดเจ็บ ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เหรียญดุษฎีมาลา และเข็มกล้าหาญแก่ร้อยโทพจน์ และหลังจากนั้นไม่นานก็ได้รับพระราชทานยศ ร้อยเอก

ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480 ร้อยเอกพจน์จึงได้รับพระราชทานยศ พันตรี[3] จากนั้นจึงได้รับพระราชทานยศพันโทเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484[4] ต่อมาในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2485 พันโทพจน์จึงได้ถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์และกลับมาใช้ชื่อและนามสกุลจริงตามเดิม[5]

ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 พันโทพจน์ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พันเอก[6] ต่อมาในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 พันเอกพจน์ขณะดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการกองพลที่ 3 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองพลที่ 3 สืบต่อจาก พลตรี หลวงสวัสดิ์สรยุทธ ที่ขยับขึ้นไปรับตำแหน่ง แม่ทัพกองทัพที่ 2[7] และต่อมาพันเอกพจน์ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 3 ควบอีกตำแหน่งหนึ่งเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2493[8] โดยได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พลตรี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2494[9]

จากนั้นในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2495 พลตรีพจน์ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง รองแม่ทัพกองทัพที่ 3 ควบตำแหน่ง รองผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 3 โดยให้พ้นจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองพลที่ 3 และ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 3 โดยมี พันเอก เจริญ กาญจนเสถียร รองผู้บัญชาการกองพลที่ 3 และ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 3 รักษาราชการแทนทั้ง 2 ตำแหน่ง[10] กระทั่งวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2499 พลตรีพจน์ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พลโท[11] ซึ่งนับเป็นยศสุดท้ายทางราชการทหาร

หน้าที่ราชการ[แก้]

  • 4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 - ผู้บัญชาการกองพลที่ 3
  • 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 - ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 3
  • 22 ธันวาคม พ.ศ. 2495 - รองแม่ทัพกองทัพที่ 3 และ รองผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 3

ยศทหาร[แก้]

  • 3 ธันวาคม พ.ศ. 2466 - ร้อยตรี
  • 5 เมษายน พ.ศ. 2472 - ร้อยโท[12]
  • - ร้อยเอก
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2480 - พันตรี
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484 - พันโท
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 - พันเอก
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2494 - พลตรี
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2499 - พลโท

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๒๗๘๘)
  2. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๖๓๒)
  3. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๙๗)
  4. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๘๓๓)
  5. เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ (หน้า ๑๗๘)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๒๙๒)
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๒๔๑๘)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๓๐๖๘)
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๐๕๘)
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  11. "ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๓)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2020.
  12. พระราชทานยศ (หน้า ๑๒๓)
  13. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๓๘)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2020.
  14. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๓๖)
  15. ราชกิจจานุเบกษา. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ. เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒. 8 กันยายน 2505.
  16. "แจ้งความ ส่งเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ ไปพระราชทาน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2020.
  17. แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า ๗๑๘)