คลองบางเขน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คลองบางเขนบริเวณวัดทางหลวง

คลองบางเขน เป็นคลองที่แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออก ในช่วงแรกลำคลองมีลักษณะเป็นคลองคดเคี้ยวคล้ายกับคลองพระโขนง หลังจากนั้นลำคลองมีลักษณะตรงมากขึ้น ตัดผ่านคลองสายสำคัญได้แก่ คลองบางเขนใหม่ คลองประปา คลองลาดโตนด และคลองเปรมประชากร ก่อนจะไปบรรจบกับคลองบางบัว ปัจจุบันคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลสวนใหญ่ ตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี กับแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร และระหว่างแขวงทุ่งสองห้อง แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กับแขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร คลองบางเขนมีความยาวประมาณ 11,450 เมตร[1]

ประวัติ[แก้]

มีการระบุว่าคลองบางเขน เป็นคลองที่ขุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อม ๆ กับหลายคลอง อาทิ คลองสอง คลองถนน คลองบางบัว และคลองลาดพร้าว เป็นต้น[2] อีกแหล่งข้อมูลระบุว่า เป็นคลองธรรมชาติที่เก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง[3]

สถานที่ริมคลอง[แก้]

วัดที่ตั้งอยู่ริมคลองบางเขน ได้แก่ วัดปากน้ำ ตั้งขึ้นช่วงหลังเสียกรุงครั้งแรก วัดฝาง วัดโพธิ์ทองล่าง วัดทางหลวง และวัดเทวสุนทร หรือวัดสี่แยก[3] และยังมีถนนเลียบคลองบางเขนเชื่อมระหว่าง ถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติกับถนนพหลโยธิน บริเวณซอย 49/1 ขนาด 2 ช่องจราจร รวมระยะทาง 2 กิโลเมตร[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "กทม.เดินหน้าปรับสภาพน้ำคลองบางเขน เร่งทำความเข้าใจ ปชช.ไม่รุกล้ำ". มติชน.
  2. ทรงยศ สาโรจน์ . (2551). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองบางบัวของประชาชนชุมชนบางบัว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
  3. 3.0 3.1 "คลองบางเขน .. ชีวิต สายน้ำ ตำนานของผู้คนชานพระนคร".
  4. "เปิดใช้ถนนเลียบคลองบางเขน ระบายรถในชั่วโมงเร่งด่วน". องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย.