วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย เป็นทีมวอลเลย์บอลหญิงของประเทศไทย เป็นทีมที่มีการพัฒนาการเล่นอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในปี ค.ศ. 1998 หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 2002 จึงได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ในส่วนโควต้าทวีปเอเชียเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นปี ค.ศ. 2007 (ถอนทีมไปแข่งกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่ไทยเป็นเจ้าภาพ) โดยสร้างผลงานได้ดีที่สุดในปี ค.ศ. 2012 ที่สามารถคว้าอันดับ 4 ของการแข่งขันมาครองได้สำเร็จ
ทีมวอลเลย์บอลหญิงของไทยได้พัฒนาการเล่นมาโดยตลอดจนก้าวขึ้นเป็นทีมระดับแนวหน้าของทวีปเอเชีย โดยคว้าอันดับ 3 การแข่งขัน-วอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชียได้ 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 2001 และ ค.ศ. 2007 ก่อนสร้างประวัติศาสตร์เมื่อสามารถเอาชนะทีมชาติจีน 3-1 เซต เป็นแชมป์ทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกในการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชียในปี ค.ศ. 2009 ที่สนามเกวิ่นเงือ ประเทศเวียดนาม ทำให้ได้เป็นตัวแทนทวีปเอเชียไปแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์แกรนด์แชมเปียนคัพในปี ค.ศ. 2009 จากนั้นในปี ค.ศ. 2012 สามารถสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ได้อีกครั้ง เมื่อสามารถคว้าแชมป์วอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชียนคัพมาครองเป็นครั้งแรกได้สำเร็จ หลังจากเอาชนะทีมชาติจีนได้อีกครั้ง 3-1 เซต ที่ประเทศคาซัคสถาน ต่อมาในปี ค.ศ. 2013 สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ ในการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชีย ที่ประเทศไทย เมื่อสามารถคว้าแชมป์ในการแข่งขันรายการนี้ได้อีกครั้ง หลังเอาชนะทีมชาติญี่ปุ่น 3-0 เซตในรอบชิงชนะเลิศ นับเป็นการคว้าแชมป์เอเชียครั้งที่ 2 โดยเป็นการคว้าแชมป์ในประเทศไทยได้เป็นครั้งแรกอีกด้วย จากการคว้าแชมป์ทำให้ได้สิทธิ์ไปแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์แกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพที่ประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง ในฐานะแชมป์ของทวีปเอเชีย โดยสร้างผลงานคว้าอันดับ 5 มาครอง ต่อมาในปี 2014 วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยได้สร้างประวัติศาสตร์อีกครั้ง โดยการเอาชนะทีมชาติญี่ปุ่นได้ 3-0เซต ในรอบชิงอันดับที่สาม ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์2014 ที่อินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นเหรียญทองแดงประวัติศาสตร์ของทีมวอลเลย์บอลหญิงไทยอีกด้วย และในปี 2018 ทีมวอลเลย์บอลหญิงไทย ก็สร้างประวัติศาสตร์อีกครั้งในการผ่านเข้าชิงเหรียญทอง ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ 2018 ที่ ประเทศอินโดนีเซีย แม้สุดท้ายจะพ่ายแพ้ให้กับทีมชาติจีนแต่ก็เป็นเหรียญเงินครั้งแรกสำหรับกีฬาเอเชี่ยนเกมส์
รายชื่อผู้เล่น[แก้]
รายชื่อผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]
- หัวหน้าผู้ฝึกสอน ดนัย ศรีวัชรเมธากุล
หมายเลข | ชื่อ | ตำแหน่ง | วันเกิด | ส่วนสูง | น้ำหนัก | ตบ | กระโดด | สโมสรฤดูกาล 2020-21 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | วิภาวี ศรีทอง | ตัวตบหัวเสา | 28 มกราคม 1999 | 1.73 m (5 ft 8 in) | 65 kg (143 lb) | 288 ซm (9 ft 5 in) | 266 ซm (8 ft 9 in) | ![]() |
2 | ปิยะนุช แป้นน้อย | ตัวรับอิสระ | 10 พฤศจิกายน 1989 | 1.71 m (5 ft 7 in) | 62 kg (137 lb) | 280 ซm (9 ft 2 in) | 275 ซm (9 ft 0 in) | ![]() |
3 | พรพรรณ เกิดปราชญ์ | ตัวเซต | 5 พฤษภาคม 1993 | 1.70 m (5 ft 7 in) | 63 kg (139 lb) | 288 ซm (9 ft 5 in) | 279 ซm (9 ft 2 in) | ![]() |
4 | ทัดดาว นึกแจ้ง | บอลเร็ว | 3 กุมภาพันธ์ 1994 | 1.84 m (6 ft 0 in) | 72 kg (159 lb) | 308 ซm (10 ft 1 in) | 304 ซm (10 ft 0 in) | ![]() |
5 | ปลื้มจิตร์ ถินขาว | บอลเร็ว | 9 พฤศจิกายน 1983 | 1.80 m (5 ft 11 in) | 67 kg (148 lb) | 303 ซm (9 ft 11 in) | 283 ซm (9 ft 3 in) | ![]() |
6 | อรอุมา สิทธิรักษ์ | ตัวตบหัวเสา | 13 มิถุนายน 1986 | 1.75 m (5 ft 9 in) | 72 kg (159 lb) | 304 ซm (10 ft 0 in) | 285 ซm (9 ft 4 in) | ![]() |
7 | หัตถยา บำรุงสุข | บอลเร็ว | 12 สิงหาคม 1993 | 1.80 m (5 ft 11 in) | 71 kg (157 lb) | 292 ซm (9 ft 7 in) | 282 ซm (9 ft 3 in) | ![]() |
8 | วัชรียา นวลแจ่ม | บอลเร็ว | 22 กรกฎาคม 1996 | 1.77 m (5 ft 10 in) | 64 kg (141 lb) | 292 ซm (9 ft 7 in) | 279 ซm (9 ft 2 in) | ![]() |
9 | วณิชยา หล่วงทองหลาง | ตัวตบหัวเสา | 8 ตุลาคม 1992 | 1.75 m (5 ft 9 in) | 60 kg (130 lb) | 300 ซm (9 ft 10 in) | 275 ซm (9 ft 0 in) | ![]() |
10 | วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ | ตัวตบหัวเสา | 6 มิถุนายน 1984 | 1.74 m (5 ft 9 in) | 70 kg (150 lb) | 294 ซm (9 ft 8 in) | 282 ซm (9 ft 3 in) | ![]() |
13 | นุศรา ต้อมคำ | ตัวเซต | 7 กรกฎาคม 1985 | 1.69 m (5 ft 7 in) | 57 kg (126 lb) | 289 ซm (9 ft 6 in) | 278 ซm (9 ft 1 in) | TBA |
14 | ชิตพร กำลังมาก | บอลเร็ว | 17 มีนาคม 1996 | 1.85 m (6 ft 1 in) | 74 kg (163 lb) | 297 ซm (9 ft 9 in) | 289 ซm (9 ft 6 in) | ![]() |
15 | มลิกา กันทอง | บอลบีหลัง | 8 มกราคม 1987 | 1.77 m (5 ft 10 in) | 65 kg (143 lb) | 292 ซm (9 ft 7 in) | 278 ซm (9 ft 1 in) | ![]() |
16 | พิมพิชยา ก๊กรัมย์ | บอลบีหลัง | 16 มิถุนายน 1998 | 1.78 m (5 ft 10 in) | 62 kg (137 lb) | 293 ซm (9 ft 7 in) | 283 ซm (9 ft 3 in) | ![]() |
17 | ฑิชาญา บุญเลิศ | ตัวเซ็ต | 14 กุมภาพันธ์ 1997 | 1.79 m (5 ft 10 in) | 64 kg (141 lb) | 293 ซm (9 ft 7 in) | 284 ซm (9 ft 4 in) | ![]() |
18 | อัจฉราพร คงยศ | ตัวตบหัวเสา | 18 มิถุนายน 1995 | 1.78 m (5 ft 10 in) | 65 kg (143 lb) | 298 ซm (9 ft 9 in) | 287 ซm (9 ft 5 in) | ![]() |
19 | ชัชชุอร โมกศรี | ตัวตบหัวเสา | 6 พฤศจิกายน 1999 | 1.78 m (5 ft 10 in) | 58 kg (128 lb) | 298 ซm (9 ft 9 in) | 290 ซm (9 ft 6 in) | ![]() |
20 | สุพัตรา ไพโรจน์ | ตัวรับอิสระ | 27 มิถุนายน 1990 | 1.60 m (5 ft 3 in) | 58 kg (128 lb) | 275 ซm (9 ft 0 in) | 265 ซm (8 ft 8 in) | ![]() |
21 | กุลภา เปี่ยมพงษ์สานต์ | ตัวเซต | 17 มีนาคม 1991 | 1.76 m (5 ft 9 in) | 65 kg (143 lb) | 280 ซm (9 ft 2 in) | 274 ซm (9 ft 0 in) | ![]() |
22 | ยุพา สนิทกลาง | ตัวรับอิสระ | 14 สิงหาคม 1991 | 1.66 m (5 ft 5 in) | 55 kg (121 lb) | 275 ซm (9 ft 0 in) | 260 ซm (8 ft 6 in) | ![]() |
23 | จุฑารัตน์ มูลตรีพิลา | บอลหัวเสา | 2 ตุลาคม 1986 | 1.75 m (5 ft 9 in) | 60 kg (130 lb) | 290 ซm (9 ft 6 in) | 280 ซm (9 ft 2 in) | ![]() |
24 | ฑิชากร บุญเลิศ | บอลเร็ว | 22 มีนาคม 2001 | 1.81 m (5 ft 11 in) | 78 kg (172 lb) | 294 ซm (9 ft 8 in) | 283 ซm (9 ft 3 in) | ![]() |
26 | ธนัชชา สุขสด | บีหลัง | 26 พฤษภาคม 2000 | 1.80 m (5 ft 11 in) | 70 kg (150 lb) | 283 ซm (9 ft 3 in) | 275 ซm (9 ft 0 in) | ![]() |
27 | แก้วกัลยา กมุลทะลา | บอลเร็ว | 7 สิงหาคม 1994 | 1.78 m (5 ft 10 in) | 66 kg (146 lb) | 298 ซm (9 ft 9 in) | 281 ซm (9 ft 3 in) | ![]() |
28 | ฑิฆัมพร ช้างเขียว | ตัวรับอิสระ | 12 ธันวาคม 1984 | 1.68 m (5 ft 6 in) | 62 kg (137 lb) | 260 ซm (8 ft 6 in) | 252 ซm (8 ft 3 in) | ![]() |
ประวัติการแข่งขัน[แก้]
โอลิมปิกเกมส์[แก้]
2004 : ไม่ผ่านการคัดเลือก
2008 : ไม่ผ่านการคัดเลือก
2012 : ไม่ผ่านการคัดเลือก
2016 : ไม่ผ่านการคัดเลือก
2020 : ไม่ผ่านการคัดเลือก
2024 :
2028 :
วอลเลย์บอลชิงแชมป์โลก[แก้]
1998 : อันดับ 15
2002 : อันดับ 20
2006 : ไม่ผ่านการคัดเลือก
2010 : อันดับ 13
2014 : อันดับ 17
2018 : อันดับ 13
2022 :
เวิลด์คัพ[แก้]
เวิลด์กรังด์ปรีซ์[แก้]
2002 : อันดับ 8
2003 : อันดับ 10
2004 : อันดับ 10
2005 : อันดับ 12
2006 : อันดับ 11
2007 : ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน เนื่องจากประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007
2008 : อันดับ 11
2009 : อันดับ 8
2010 : อันดับ 10
2011 : อันดับ 6 ในรอบสุดท้าย
2012 : อันดับ 4 ในรอบสุดท้าย
2013 : อันดับ 13
2014 : อันดับ 11
2015 : อันดับ 9
2016 : อันดับ 6 ในรอบสุดท้าย
2017 : อันดับ 10
เนชันส์ลีก[แก้]
วอลเลย์บอลเวิลด์แกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพ[แก้]
วอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชีย[แก้]
1987 : อันดับ 5
1989 : อันดับ 6
1991 : อันดับ 7
1993 : อันดับ 7
1995 : อันดับ 5
1997 : อันดับ 5
1999 : อันดับ 4
2001 :
เหรียญทองแดง
2003 : อันดับ 4
2005 : อันดับ 6
2007 :
เหรียญทองแดง
2009 :
เหรียญทอง
2011 : อันดับ 4
2013 :
เหรียญทอง
2015 :
เหรียญทองแดง
2017 :
เหรียญเงิน
2019 :
เหรียญเงิน
เอเชียนคัพ[แก้]
2008 :
เหรียญทองแดง
2010 :
เหรียญเงิน
2012 :
เหรียญทอง
2014 : อันดับ 5
2016 :
เหรียญทองแดง
2018 :
เหรียญทองแดง
2020 : ยกเลิกการแข่งขันเนื่องจากเกิดโรคระบาด COVID-19
เอเชียนเกมส์[แก้]
1966 : อันดับ 5
1970 : อันดับ 5
1974 : ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
1978 : อันดับ 5
1986 : อันดับ 4
1990 : อันดับ 6
1994 : อันดับ 5
1998 : อันดับ 4
2002 : อันดับ 5
2006 : อันดับ 4
2010 : อันดับ 5
2014 :
เหรียญทองแดง
2018 :
เหรียญเงิน
2022 :
วอลเลย์บอลซีเกมส์[แก้]
1977 :
เหรียญทองแดง
1979 : ไม่ทราบผลการแข่งขัน
1981 : ไม่ทราบผลการแข่งขัน
1983 : ไม่ทราบผลการแข่งขัน
1985 :
เหรียญเงิน
1987 :
เหรียญทองแดง
1989 :
เหรียญทอง
1991 :
เหรียญทอง
1993 :
เหรียญเงิน
1995 :
เหรียญทอง
1997 :
เหรียญทอง
1999 : ไม่มีการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล
2001 :
เหรียญทอง
2003 :
เหรียญทอง
2005 :
เหรียญทอง
2007 :
เหรียญทอง
2009 :
เหรียญทอง
2011 :
เหรียญทอง
2013 :
เหรียญทอง
2015 :
เหรียญทอง
2017 :
เหรียญทอง
2019 :
เหรียญทอง
2021 :
2023 :
มงเทรอวอลลีย์แมสเตอส์[แก้]
เกาหลี–ไทย โปรวอลเลย์บอลออลสตาร์ซูเปอร์แมตช์[แก้]
วอลเลย์บอลอาเซียนกรังด์ปรีซ์[แก้]
อันดับโลก[แก้]
- 2018 : อันดับ 14
- 2019 : อันดับ 14
รายชื่อนักกีฬาในอดีต[แก้]
บอลหัวเสา[แก้]
บอลเร็ว[แก้]
|
บอลหลัก[แก้]ตัวเซต[แก้]
ตัวรับอิสระ[แก้]
|
หัวหน้าผู้ฝึกสอน[แก้]
เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร (2541–2559)
ณัฐพนธ์ ศรีสมุทรนาค (2545–2548)
ดนัย ศรีวัชรเมธากุล (2559–ปัจจุบัน)