สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โทรคมนาคมแห่งชาติ PK13 National Telecom | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°53′15″N 100°34′32″E / 13.88750°N 100.57556°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล (เอ็นบีเอ็ม) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | PK13 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 7 มกราคม พ.ศ. 2567 | ||||||||||
ชื่อเดิม | ศูนย์ราชการ 2 ทีโอที สำนักงานเขตหลักสี่ | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ (อังกฤษ: National Telecom station; รหัส: PK13) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายสีชมพู โดยยกระดับเหนือถนนแจ้งวัฒนะในพื้นที่เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง
[แก้]สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติตั้งอยู่เหนือถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณด้านหน้าบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ก่อนหน้านี้สถานีแห่งนี้ใช้ชื่อโครงการและชื่อในระหว่างการก่อสร้างว่า "สถานีทีโอที" แต่เนื่องมาจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้ทีโอทีควบรวมกิจการกับ กสท โทรคมนาคม เป็นโทรคมนาคมแห่งชาติ เอ็นบีเอ็มจึงเสนอให้มีการเปลี่ยนชื่อสถานีถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกใช้ชื่อสถานีว่า "สถานีสำนักงานเขตหลักสี่" แต่ต่อมา รฟม. ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ" ในที่สุด
รายละเอียด
[แก้]สีสัญลักษณ์
[แก้]ใช้สีชมพูตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู
รูปแบบ
[แก้]เป็นสถานียกระดับ มีชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชั้นชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง
-
ชานชาลาสถานี
-
ป้ายชานชาลา 1
ทางเข้า–ออก
[แก้]ประกอบด้วยทางขึ้น–ลงปกติ ได้แก่
- 1 ซอยแจ้งวัฒนะ 10, ศรีสวัสดิ์ สำนักงานใหญ่
- 2 อาคาร ณ นคร, ซอยแจ้งวัฒนะ 10
- 3 บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ประตู 1, ศูนย์กีฬา บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ, เอ็นทีสเตเดียม
- 4 บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ประตู 2, บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
แผนผัง
[แก้]U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายสีชมพู มุ่งหน้า มีนบุรี | |
ชานชาลา 2 | สายสีชมพู มุ่งหน้า ศูนย์ราชการนนทบุรี | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
G ระดับถนน |
– | ป้ายรถประจำทาง, ถนนแจ้งวัฒนะ, โทรคมนาคมแห่งชาติ, ไปรษณีย์ไทย สำนักงานใหญ่, โรงเรียนการไปรษณีย์, สำนักงานเขตหลักสี่ |
เวลาให้บริการ
[แก้]ปลายทาง | เชื่อมต่อ | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|---|
สายสีชมพู[1][2] | ||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||
PK30 | มีนบุรี | เต็มระยะ | 05.38 | 00.29 |
PK14 สายสีแดงเข้ม | – | 23.59 | ||
PK16 สายสุขุมวิท (คูคต) | – | 00.19 | ||
PK16 สายสุขุมวิท (เคหะฯ) | – | 23.09 | ||
ชานชาลาที่ 2 | ||||
PK01 | ศูนย์ราชการนนทบุรี | เต็มระยะ | 05.48 | 00.38 |
PK01 สายสีม่วง (คลองบางไผ่) | – | 23.08 | ||
PK01 สายสีม่วง (เตาปูน) | – | 22.38 |
สถานที่ใกล้เคียง
[แก้]- บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
- ศูนย์ไปรษณีย์ด่วนพิเศษกรุงเทพ
- โรงเรียนการไปรษณีย์
- ที่ทำการไปรษณีย์หลักสี่
- อาคาร ณ นคร
- บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]รถเอกชน
[แก้]รถชานเมืองและรถหมวด 4
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
356 | ปากเกร็ด–ดอนเมือง | สะพานใหม่ | รถโดยสารประจำทางสีขาว | บจก.สหายยนต์ | เส้นทางวิ่งเป็นวงกลม ให้บริการเฉพาะวนขวาฝั่งเดียว |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู". 2023-12-28.
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูขบวนสุดท้าย - ข่าวรถไฟ". 2023-12-28.