ถนนแจ้งวัฒนะ
ถนนแจ้งวัฒนะ | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 | |
ถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ประวัติ | |
มีขึ้นเมื่อ | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493–ปัจจุบัน |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศเหนือ | อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร |
แยกปากเกร็ด ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี | |
ปลายทางทิศใต้ | สะพานพระราม 4 ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี |
ถนนแจ้งวัฒนะ (อักษรโรมัน: Thanon Chaeng Watthana) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตหลักสี่ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายชลอ แจ้งวัฒนะ อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางกรุงเทพที่ 2 กรมทางหลวง ซึ่งเป็นนายช่างที่ควบคุมการก่อสร้างถนนสายนี้[1] โดยได้รับการตั้งชื่อดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493[1]
รายละเอียดของเส้นทาง
[แก้]ช่วงอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ–คลองประปา
[แก้]คือส่วนถนนแจ้งวัฒนะในเขตกรุงเทพมหานคร เริ่มจากอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน เป็นแนวต่อเนื่องจากถนนรามอินทรา ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ข้ามคลองถนน เข้าสู่พื้นที่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ ตัดกับถนนวิภาวดีรังสิต (ทางแยกหลักสี่) ในพื้นที่แขวงทุ่งสองห้อง ผ่านศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550, ทางแยกเมืองทอง 1 ไปสิ้นสุดที่คลองประปา ต่อกับปลายถนนแจ้งวัฒนะที่มาจากปากเกร็ด
ช่วงคลองประปา–ทางแยกปากเกร็ด
[แก้]เริ่มต้นจากทางแยกปากเกร็ด ถือเป็นหลักกิโลเมตรที่ 0 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ไปทางทิศตะวันออก ผ่านถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ศูนย์การประชุมเมืองทองธานี ทางแยกเมืองทอง 3 ทางแยกต่างระดับแจ้งวัฒนะเชื่อมทางพิเศษศรีรัช (บางโคล่-แจ้งวัฒนะ) กับทางพิเศษอุดรรัถยา (ปากเกร็ด–บางปะอิน) ข้ามคลองประปาผ่านเข้าสู่ท้องที่เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร บางครั้งเรียกถนนช่วงนี้ว่า "ถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด" ตามชื่อซอยย่อยของถนน (ตั้งโดยเทศบาลนครปากเกร็ด)
ช่วงทางแยกปากเกร็ด–ท่าเรือปากเกร็ด
[แก้]ถนนช่วงนี้อยู่ในความควบคุมของเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นถนนระดับดิน 6 ช่องจราจร มีสะพานยกระดับ (สะพานพระราม 4) 6 ช่องจราจร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเปิดใช้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เพื่อเชื่อมถนนแจ้งวัฒนะช่วงนี้เข้ากับถนนชัยพฤกษ์ทางฝั่งตะวันตกของอำเภอปากเกร็ด
รายชื่อทางแยก
[แก้]- ทางแยกปากเกร็ด (สะพานข้ามแยกและสัญญาณไฟจราจร)
- จุดตัดกับถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด (ลอดใต้สะพาน)
- ทางแยกเมืองทองธานี ทางแยกเข้าเมืองทองธานี (สะพานข้ามแยก)
- ทางพิเศษอุดรรัถยา
- ทางแยกคลองประปา ถนนประชาชื่น (สะพานข้ามแยก)
- ทางแยกแจ้งวัฒนะ 14
- ทางแยกเข้าศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร (ถนนระดับดิน)
- ทางแยกไอที สแควร์ (ข้ามทางรถไฟ)
- ทางแยกหลักสี่ (สะพานข้ามแยก)
- วงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (วงเวียนหลักสี่หรือวงเวียนบางเขน)
สถานที่สำคัญ
[แก้]
จังหวัดนนทบุรี[แก้]
กรุงเทพมหานคร[แก้]
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินและสะพานขนาดใหญ่ - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493