ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มรภ.อุบลราชธานี)
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Ubon Ratchathani Rajabhat University
ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
ชื่อย่อมรภ.อบ. / UBRU
คติพจน์สร้างสรรค์ภูมิปัญญา นำพาการพัฒนาท้องถิ่น
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-06-15)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ622,009,600 บาท
(พ.ศ. 2567)[1]
นายกสภาฯพลเอก นิรุทธ เกตุสิริ
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ธรรมรักษ์ ละอองนวล
อาจารย์565 คน (พ.ศ. 2567)
บุคลากรทั้งหมด1,210 คน (พ.ศ. 2567)
ผู้ศึกษา17,044 คน (พ.ศ. 2567)
ที่ตั้ง
วิทยาเขตวิทยาเขต
2
เพลงกลิ่นพะยอม
ต้นไม้พะยอม
สี████ สีเทา สีชมพู
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (อังกฤษ: Ubon Ratchathani Rajabhat University) เป็นสถาบันการศึกษาที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และมีการจัดการศึกษาและการค้นคว้าวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยปัจจุบันนี้ได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยจำปาศักดิ์ ประเทศลาว

ประวัติ

[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่งจัดตั้งอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจัดการการศึกษาและให้การบริการแก่ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ (บางส่วน) และบุคลากรในเขตจังหวัดและประเทศใกล้เคียง โดยจัดการศึกษาในระดับอนุปริญญา ปริญญาบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีพัฒนาการและการยกฐานะดังต่อไปนี้

  • พ.ศ. 2458 มณฑลอุบลราชธานี ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นต่ำขึ้นในโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑล ตามตราสารเสมาธรรมจักรน้อยที่ ๗/๑๑๔๔ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๕๘ มีการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ในความดูแลของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2490 เปิด "โรงเรียนฝึกหัดครูอุบลราชธานี" ขึ้น โดยใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2490 จัดการเรียนการสอนหลักสูตร "ประกาศนียบัตรจังหวัด" และหลักสูตรประโยคครูมูล
  • พ.ศ. 2497 จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร "ประโยคครูประถม" (ป.ป.)
  • พ.ศ. 2498 จัดการเรียนการสอนหลักสูตร "ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา" (ป.กศ.)
  • พ.ศ. 2499 เริ่มโครงการฝึกหัดครูชนบทซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและองค์การยูเนสโก (Thailand Unesco Rural Teacher Education Project) หรือ TURTEP
  • พ.ศ. 2501 ยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูอุบลราชธานี" เปิดสอนถึงระดับ ป.กศ.สูง
  • พ.ศ. 2510 เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.)
  • พ.ศ. 2517 ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518
  • พ.ศ. 2527 มีการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนชั้นในวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ชื่อ "วิทยาลัยครูอุบลราชธานี"
  • พ.ศ. 2534 ทำโครงการความร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาโท วิชาเอกพัฒนาสังคม และวิชาเอกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ/หรือ การบริหารโครงการและนโยบายสาธารณะ
  • พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานนามว่า "สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี"
  • พ.ศ. 2540 เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู และหลักสูตรปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา ในปีการศึกษา 2541 ได้เปิดสอนเพิ่มอีก 2 สาขา คือ สาขาพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน และสาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา
  • ปีการศึกษา 2544 ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
  • ปีการศึกษา 2545 ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA)
  • ปีการศึกษา 2547 ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี" [2]
  • ปัจจุบันนี้ได้เปิดสอนระดับปริญญามหาบัณฑิตในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ครุศาสตรมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตในหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นสถาบันการศึกษาที่มีคณาจารย์และนักศึกษาเป็นจำนวนมาก อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ที่ทันสมัยและเป็นสถาบันการศึกษาที่มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และเพื่อความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการภายในจึงได้มีการสถานภาพเป็นนิติบุคคล นอกจากนี้ยังมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา การพัฒนาอาจารย์การพัฒนาการเรียนการสอนในทุกสาขาวิชาไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ผู้บริหาร

[แก้]
1 พ.ศ. 2491 - 2501 นายประสิทธิ์ สุนทโรทก ครูใหญ่ รร.ฝึกหัดครู
2 พ.ศ. 2501 - 2508 นายประสิทธิ์ สุนทโรทก ผู้อำนวยการวิทยาลัยครู
3 พ.ศ. 2508 - 2509 นายสนอง สิงหพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครู
4 พ.ศ. 2509 - 2515 นายสกล นิลวรรณ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครู
5 พ.ศ. 2515 - 2517 นายพจน์ ธัญญขันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครู
6 พ.ศ. 2517 - 2519 นายจินต์ รัตนสิน อธิการวิทยาลัยครู
7 พ.ศ. 2519 - 2521 นายประธาน จันทรเจริญ อธิการวิทยาลัยครู
8 พ.ศ. 2521 - 2523 นายอรุณ มุขสมบัติ อธิการวิทยาลัยครู
9 พ.ศ. 2523 - 2529 ผศ.ดร.พล คำปังสุ์ อธิการวิทยาลัยครู
10 พ.ศ. 2530 - 2537 ผศ.ปุณณะ ภูละ อธิการบดีวิทยาลัยครู
11 พ.ศ. 2537 - 2538 ผศ.สมชาย วงศ์เกษม อธิการบดีสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
12 พ.ศ. 2538 - 2546 ผศ.สมชาย วงศ์เกษม อธิการบดีสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
13 พ.ศ. 2546 - 2547 ผศ.เกษม บุญรมย์ อธิการบดีสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
14 พ.ศ. 2547 - 2551 ผศ.เกษม บุญรมย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
15 พ.ศ. 2551 - 2556 ผศ.ดร.ชัยวัฒน์ บุณฑริก อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
16 พ.ศ. 2556 - 2560 ผศ.ประชุม ผงผ่าน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
17 พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน รศ.ธรรมรักษ์ ละอองนวล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

คณะที่เปิดสอน

[แก้]

การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี

[แก้]

กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

การจัดการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก

[แก้]
การศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
การศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต
การศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรการศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)
    • สาขา วิชาชีพครู
    • สาขา การบริหารการศึกษา

หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
    • สาขา ภาษาอังกฤษ
    • สาขา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
    • สาขา ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
    • สาขา บริหารธุรกิจ
    • สาขา การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
    • สาขา การสร้างเสริมสุขภาพ
  • หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
    • สาขา การบริหารการศึกษา
    • สาขา วิจัยและประเมินผลการศึกษา
    • สาขา การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
    • สาขา รัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

  • หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.)
    • สาขา การบริหารการศึกษา
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
    • สาขา ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค

หน่วยงานภายใน

[แก้]
  • สำนัก/สถาบัน/กองงาน
  • ศูนย์
    • ศูนย์คอมพิวเตอร์
    • ศูนย์ภาษา
    • คลินิกเทคโนโลยี
    • ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ
    • ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
    • ศูนย์แม่น้ำโขงศึกษา
    • หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
    • ศูนย์ศึกษาและการพัฒนาครู
    • ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
  • คณะ/วิทยาลัย
    • คณะวิทยาศาสตร์
    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ
    • คณะครุศาสตร์
    • คณะเกษตรศาสตร์
    • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
    • คณะนิติศาสตร์
    • คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
    • คณะพยาบาลศาสตร์
    • คณะสาธารณสุขศาสตร์
    • คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์
    • บัณฑิตวิทยาลัย
  • โรงเรียน
    • โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วิทยาเขต

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

[แก้]

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้แทนพระองค์ในการมอบปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

เกียรติประวัติ/รางวัล/ผลงาน

[แก้]
  • วงโปงลางของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2534 ได้รับการยกย่องจาก สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ให้ได้รับรางวัลสังข์เงินและนับเป็นวงโปงลางแรกที่ได้รับเกียรตินี้ (การรำที่เป็นเอกลักษณ์ของวงโปงลางนี้คือ รำตังหวาย)
  • ทีม Beer Programmer นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันการสร้างเกมคอมพิวเตอร์ 3 มิติ ด้วย Dark Babic Professional คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 มาครองจากงานนิทรรศการ "Game Show 2008" นิทรรศการแสดงและประกวดผลงานเกมนักศึกษา ในความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สาขาขอนแก่น เมื่อวันที่ 17-20 กันยายน 2551 ณ จังหวัดขอนแก่น และทีม Princess ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และทีม Up To You และทีม Good Boy ได้รับรางวัลชมเชย จากการแข่งขันสร้างเกมคอมพิวเตอร์ 3 มิติจากนิทรรศการเดียวกัน

บุคลากร, ศิษย์ของสถาบัน ที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. "พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (23 ก): 1. June 14, 2004.
  3. ทีมข่าวมวยสยาม. เหนือธรณี สามชัยวิเศษสุก (แบทแมน). น็อกเอาต์ฉบับมวยสยาม. ปีที่ 30 ฉบับที่ 2291. ISSN 15135454. หน้า 24

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]