อำเภอบ้านโฮ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอบ้านโฮ่ง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ban Hong
คำขวัญ: 
ถ้ำหลวงงดงาม ลือนามหอมกระเทียม
ลำไยรสเยี่ยม พระเจ้าสะเลียมหวานเลิศล้ำ
น้ำตกงามแท้ แค่หลวงตางาม
บูชาพระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพระบาทสามยอด
แผนที่จังหวัดลำพูน เน้นอำเภอบ้านโฮ่ง
แผนที่จังหวัดลำพูน เน้นอำเภอบ้านโฮ่ง
พิกัด: 18°19′52″N 98°49′8″E / 18.33111°N 98.81889°E / 18.33111; 98.81889
ประเทศ ไทย
จังหวัดลำพูน
พื้นที่
 • ทั้งหมด596.901 ตร.กม. (230.465 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด38,897 คน
 • ความหนาแน่น65.17 คน/ตร.กม. (168.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 51130
รหัสภูมิศาสตร์5103
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบ้านโฮ่ง หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน 51130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บ้านโฮ่ง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดลำพูน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร แยกออกเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2460 และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2499

ประวัติ[แก้]

อำเภอบ้านโฮ่งเดิมมีฐานะเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอป่าซาง แยกเป็นกิ่งอำเภอบ้านโฮ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2460 และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ในสมัยพระเจ้ากาวิละฟื้นฟูบ้านเมืองได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองและเมืองใกล้เคียงมาไว้ที่เมืองลำพูน โดยตั้งเมืองลำพูนขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2348 ส่วนทางเมืองยองเองเจ้านายของเมืองยองก็ไม่คิดขึ้นกับล้านนาแต่ยังยินยอมสวามิภักดิ์กับพม่าพาผู้คนจำนวนหนึ่งกลับไปตั้งเมืองใหม่เป็นเมืองยองสืบต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน ในการฟื้นฟูเชียงใหม่นั้นพระเจ้ากาวิละได้เทครัวคนจากเมืองอื่นๆมาหลายครั้ง สำหรับชาวยองมีการเทครัวลงมาจากเมืองยองราว พ.ศ. 2351-2353 และ พ.ศ. 2356 หลังจากนั้นก็ยังมีอีกแต่ไม่เด่นชัด

การอพยพผู้คนมายังล้านนา พวกเจ้าก็จะให้อยู่ในเมืองพร้อมไพร่ที่คอยรับใช้บางส่วน ไพร่ที่ถูกกวาดต้อนมา หากเป็นช่างฝีมือหรือไพร่ชั้นดีกำหนดให้อยู่ในเมือง เช่น กลุ่มไทใหญ่มีฝีมือในการปั้นหม้อให้อยู่บริเวณ ช้างเผือก ช้างม่อย วัวลาย (ในตัวเมืองเชียงใหม่ปัจจุบัน) ส่วนไพร่ไร้ฝีมือจะให้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่นอกเมืองเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ยองที่ลำพูนและสันกำแพง เมื่อตั้งถิ่นฐานแล้วสักระยะหนึ่งชุมชนขยายใหญ่ขึ้นก็เกิดการกระจายตัวออกจากเวียงยองสู่ป่าซางและบ้านโฮ่ง พวกที่มาตั้งถิ่นฐานใหม่จะตั้งชื่อบริเวณที่ตนมาอยู่อาศัยใหม่ตามชื่อหมู่บ้านเดิมที่ถูกกวาดต้อนลงมา แต่บางแห่งก็ตั้งชื่อตามลักษณะทางกายภาพของทำเลที่ตั้งใหม่ [1]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอบ้านโฮ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบ้านโฮ่งแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 62 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2559)[2]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2559)[2]
1. บ้านโฮ่ง Ban Hong 18 14,280 8,079
6,201
(ทต.บ้านโฮ่ง)
(อบต.เวียงกานต์)
2. ป่าพลู Pa Phlu 14 7,589 7,589 (อบต.ป่าพลู)
3. เหล่ายาว Lao Yao 13 8,871 8,871 (อบต.เหล่ายาว)
4. ศรีเตี้ย Si Tia 9 5,721 5,721 (ทต.ศรีเตี้ย)
5. หนองปลาสะวาย Nong Pla Sawai 8 3,993 3,993 (อบต.หนองปลาสะวาย)
รวม 62 40,454 13,800 (เทศบาล)
26,654 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบ้านโฮ่งประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านโฮ่ง
  • เทศบาลตำบลศรีเตี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีเตี้ยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโฮ่ง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพลู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าพลูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ายาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่ายาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาสะวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลาสะวายทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
  • ถ้ำเอราวัณ
  • ถ้ำหลวงผาเวียง
  • วัดพระเจ้าตนหลวง
  • หมู่บ้านกะเหรี่ยงพัฒนาห้วยหละ
  • น้ำตกวังหลวง
  • พระพุทธบาทสามยอด
  • ดอยช้างหลวง(ป่าแป๋)
  • สำนักสงฆ์ วัดดอยหลังถ้ำ
  • อุโบสถวัดมหาสังฆารามบ้านโฮ่งหลวง และอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย

อ้างอิง[แก้]

  1. สรัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา กรุงเทพฯ: อมรินทร์ 2551
  2. 2.0 2.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2559 จังหวัดลำพูน กรมการปกครอง