ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม
Maetha Wittayakom School
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.ท.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
คำขวัญประพฤติดี มีวิชา
สามัคคี มีวินัย
สถาปนา22 เมษายน พ.ศ. 2517
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส51012004
ผู้อำนวยการนายสนั่น สิงห์ไผ่
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษา
จำนวนนักเรียน320 คน
สี  ฟ้า   ขาว
เว็บไซต์http://www.maetha.ac.th

โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกของ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2517 โรงเรียนแม่ทาวิทยาคมจึงถือเอาวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2517 ของทุกปี เป็นวันสถาปนาโรงเรียน

เดิมทีโรงเรียนแม่ทาวิทยาคมเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวต่อมาโรงเรียนแม่ทาวิทยาคมได้ขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้นและก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมมาตามลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของการศึกษาและจำนวนนักเรียนในโรงเรียน ในเนื้อที่ที่ขยายออกไปเป็น 26 ไร่ 2 งาน 46.4 ตารางวา เปิดสอนในระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4

ประวัติโรงเรียน

[แก้]

โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2517 เดิมชื่อ โรงเรียนแม่ทา ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2497 เพื่อเป็นโรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอแม่ทา ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 ได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นโรงเรียนประถมศึกษาตอนปลาย เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-7 สังกัดกองการประถมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จนกระทั่งต่อมาใน พ.ศ. 2517 ได้มีคำสั่งยกเลิกโรงเรียนแม่ทา และจัดตั้งใหม่ให้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้ตั้งชื่อใหม่เป็น โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

โรงเรียนแม่ทาวิทยาคมได้รับคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และในปีเดียวกัน ได้มีการเฉลิมฉลองในโอกาสโรงเรียนแม่ทาวิทยาคม มีอายุครบรอบ 50 ปี และในปี พ.ศ. 2557 ได้มีการเฉลิมฉลองในโอกาสโรงเรียนแม่ทาวิทยาคมมีอายุครบรอบ 60 ปี

รายนามครูใหญ่ / อาจารย์ใหญ่ / ผู้อำนวยการโรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

[แก้]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายสุวรรณ สินธุบุญ 1 เมษายน พ.ศ. 2518-10 มีนาคม พ.ศ. 2526
2 นายอนันต์ สุริยะนันท์ 11 มีนาคม พ.ศ. 2526 - 30 กันยายน พ.ศ. 2530
3 นายอำนวย อุตตระพยอม 1 ตุลาคม พ.ศ. 2530 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2539
4 นายฉลอง คำพงค์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2539 - 30 กันยายน พ.ศ. 2543
5 นายเอกชัย รักงาม 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551
6 นายสุพล ประสานศรี 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554
7 ดร.สมมาตร สนทมิโน 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556
8 นางสังวาลย์ วังแจ่ม 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558
9 นายกัมพล ธิติกร 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561
10 นายสนั่น สิงห์ไผ่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

อาคาร / สถานที่สำคัญในโรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

[แก้]
  • ศาลาพระพุทธ ประดิษฐานพระพุทธวิโมกข์ ไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่สักการบูชาของบุคลากรในโรงเรียน
  • อาคารอำนวยการ

-ฝ่ายการเงิน

-ฝ่ายบริหาร

-ฝ่ายธุรการ

-ฝ่ายบัญชี

-ห้องเกียรติยศ

  • อาคารศูนย์กีฬาและหอประชุม เป็นอาคารที่จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ เป็นอาคารเรียนวิชาพลานามัย และเป็นอาคารอเนกประสงค์ใช้ในการจัดนิทรรศการต่างๆ
  • อาคารพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน เดิมเป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว เป็นที่จัดแสดงประวัติความเป็นมาท้องถิ่นรวมถึงประวัติศาสตร์ล้านนา การดำรงชีวิต เครื่องไม้เครื่องมือทำกิน / ประเพณี ความเชื่อ และวัฒนธรรม ปัจจุบันได้มีการรื้อถอนอาคารไม้ดังกล่าวและก่อสร้างปรับปรุงใหม่ให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้นให้เป็นอาคารปูนประกอบไม้สองชั้น ก่อสร้างเสร็จสิ้นและทำพิธีสมโภชเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558 มอบให้เป็นสมบัติของทางราชการ

-ชั้นล่าง เป็นโถงสำหรับทำกิจกรรม จัดนิทรรศการ ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ห้องสุขา และพิพิธภัณฑ์หมวดเครื่องใช้ขนาดใหญ่

- ชั้นบน เป็นส่วนจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน จัดเป็น 36 หมวดหมู่

อาคารพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม หลังจากรื้อถอนก่อสร้างใหม่ มอบเป็นสมบัติทางราชการเมื่อ 29 มิ.ย. 2558
  • ข่วงดอกเสี้ยว เป็นลานกว้างอเนกประสงค์ ใช้ในการจัดกิจกรรมตามโอกาสต่างๆ
  • สหกรณ์โรงเรียน ขายอุปกรณ์เครื่องเขียน เครื่องแบบนักเรียน อาหารและขนม
  • อาคารคหกรรม เป็นอาคารเรียนวิชาคหกรรม
  • อาคารอุตสาหกรรม เป็นอาคารเรียนวิชาอุตสาหกรรม
  • อาคารเกษตร เป็นอาคารเรียนวิชาเกษตรกรรม ประกอบด้วยตัวอาคารโรงงานและเรือนเพาะชำ
  • อาคารปฏิบัติการดนตรี เป็นอาคารเรียนวิชาศิลปะ ดนตรี
  • โรงอาหาร เป็นอาคารเพดานสูงขนาดใหญ่ เปิดบริการขายอาหารแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน
  • อาคาร 1 - อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นอาคารเรียน 3 ชั้นแบ่งเป็น

-ชั้นล่าง ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องคอนโทรลรูม ห้องแนะแนวการศึกษา ห้องวิชาการ ห้องอาคารสถานที่ ห้องวิชาการ และฝ่ายงานประชาสัมพันธ์

-ชั้นสอง ประกอบด้วยห้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์

-ชั้นสาม ประกอบด้วยห้องเรียนและห้องปฏิบัติการวิชาวิทยาศาสตร์

  • อาคาร 2 - อาคารงานธุรกิจและภาษา เป็นอาคารเรียน 3 ชั้นแบ่งเป็น

-ชั้นล่าง ประกอบด้วยห้องโสตทัศนศึกษา ห้องสมุด และห้องพยาบาล

-ชั้นสอง ประกอบด้วยห้องเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาจีน

-ชั้นสาม ประกอบด้วยห้องเรียนวิชาสังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ และภาษาอังกฤษ

  • สวนพฤกษศาสตร์ "ป่าในเมืองเพื่อการศึกษา-กล้ายิ้ม" ประกอบด้วยสวนพรรณไม้ดอกหอม พรรณไม้ในวรรณคดี และพรรณไม้พระราชทานประจำจังหวัด 76 จังหวัด (ยกเว้นจังหวัดบึงกาฬ) โดยการสนับสนุนโครงการจากกรมป่าไม้

กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสี

[แก้]

กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสี จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วง เดือน ธันวาคม - มกราคม ซึ่งเป็นภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษานั้นๆ โดยนักเรียนแต่ละห้องในระดับชั้นปีที่ 1 ของแต่ละช่วงชั้น จะถูกสุ่มคัดเลือกคณะสีให้โดยฝ่ายกิจกรรมนักเรียน เพื่อให้คละนักเรียนในแต่ละแผนการเรียนให้ได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน

  • - โดยทั่วไปมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเคลียดอันเกิดจากการเรียน อีกทั้งเป็นการออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพสมบูรณ์แล้วยังมีการพัฒนาขึ้นจนถึงมีการแข่งขัน
  • - เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความสามารถในการเล่นกีฬา มีร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง มีระเบียบวินัย และมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
  • - เพื่อการแข่งขันภายในและระหว่างประเทศสร้างลักษณะนิสัย ในการเคารพและปฏิบัติตามระเบียบการแข่งขัน เพื่อซึมซับและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม

วันดอกเอื้องบาน

[แก้]

กิจกรรมงานวันดอกเอื้องบาน (ชื่อเดิม : งานเปิดโลกกว้างทางการศึกษา) จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงปลายภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา เพื่อเป็นการเปิดโอกาสแก่นักเรียนที่มีทักษะความสามารถในแขนงต่างๆ ได้แสดงความสามารถในทักษะที่ตนเองมีความถนัดและสนใจ อาทิ ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ และการแข่งขันทางวิชาการต่างๆ ภายในงานมีการประกวดโครงงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS)

นอกจากนี้ในแต่ละปีจะมีบุคลากรภายนอกสถานศึกษามาศึกษาดูงานในกิจกรรมวันดอกเอื้องบาน เช่น ผู้ปกครอง คณะครู-นักเรียนจากโรงเรียนประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่เดียวกัน เป็นการฝึกให้นักเรียนมีทักษะความกล้าแสดงออก มีวิจารณญาณสุขุมรอบคอบ และฝึกมารยาทที่ดี

คณะนักดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านวงช่อเอื้อง โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

[แก้]

คณะนักดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านวงช่อเอื้อง โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม (Maetha Lamphun folklore group Thailand) เป็นกลุ่มนักเรียน ศิษย์เก่า และครูอาจารย์ส่วนหนึ่งของโรงเรียนแม่ทาวิทยาคม ซึ่งรวมตัวกันเพื่อการดำรงอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านและศิลปะวัฒนธรรมไทย ในนามของวงช่อเอื้อง โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม โดยการเรียนรู้และเผยแพร่ศิลปะการแสดงพื้นบ้านต่างๆ เช่น การตีกลองสะบัดชัย ฟ้อนกลายลาย ฟ้อนหริภุญชัย นอกจากนี้ยังประดิษฐ์และปรับปรุงการแสดงชุดใหม่เพื่อสื่อถึงวัฒนธรรมพื้นบ้านในเขตพื้นที่อำเภอแม่ทา และจังหวัดลำพูน เช่น ฟ้อนเก็บลำไย และฟ้อนตรีกาลล้านนา

คณะนักดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านวงช่อเอื้อง โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม ยังเคยได้รับเกียรติจากดร.อุดมศักดิ์ ศักดิ์มั่นวงศ์ ประธานสภาวัฒนธรรมพื้นบ้านโลก (CIOFF) ให้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการนำศิลปะการแสดงพื้นบ้านของล้านนาและของไทยไปแสดงเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมในต่างประเทศรวม 4 ครั้ง

  1. พ.ศ. 2550 แสดงเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรม ณ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
  2. พ.ศ. 2551 แสดงเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรม ณ กรุงมอสโก และเมืองสำคัญอีก 6 เมือง สหพันธรัฐรัสเซีย
  3. พ.ศ. 2554 แสดงเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรม ในงานการแสดงเต้นรำนานาชาติ ณ เมืองโชนัน สาธารณรัฐเกาหลี
  4. พ.ศ. 2556 แสดงเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรม ณ กรุงอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี

รายชื่อศิลปะการแสดงโดยคณะนักดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านวงช่อเอื้อง โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

[แก้]

การแสดงพื้นบ้านดั้งเดิม

[แก้]

การแสดงที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่

[แก้]
  • ฟ้อนกุบกำเบ้อ - ระบำหมวกจักสานลายผีเสื้อ ประยุกต์จากการแสดงของไทยใหญ่ (กุบ=หมวก,กำเบ้อ=ผีเสื้อ)
  • ฟ้อนตรีกาลล้านนา - สื่อถึงวิถีชีวิตของคนลำพูนในสามฤดูกาล
  • ฟ้อนเก็บลำไย - สื่อถึงวิถีชีวิตของคนลำพูนซึ่งมีลำไยเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ
  • ฟ้อนเตวะอวยชัย - เป็นการรำอวยพรในโอกาสต่างๆ สื่อถึงเทพเทวาที่อวยชัยให้พรแก่แขกเหรื่อในงาน
  • ฟ้อนปกากะญอเก็บหน่อไม้ - สื่อถึงวิถีชีวิตชาวปกากะญอในลำพูน

ระบำสี่ภาค

[แก้]
  • รำดึงครกดึงสาก - ภาคอีสาน
  • รำกลองยาว - ภาคกลาง
  • ระบำกะลา - ภาคใต้

ระบำโบราณคดี

[แก้]
  • ระบำลพบุรี - แสดงในงานวันดอกเอื้องบาน โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม พ.ศ. 2554
  • ระบำศรีวิชัย - แสดงในงานวันดอกเอื้องบาน โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม พ.ศ. 2555
  • ระบำศรีชัยสิงห์ - แสดงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ณ สำนักงานเทศบาลตำบลทาสบชัย
  • ระบำทวาราวดี - (ใช้เฉพาะท่ารำ เรียงลำดับตามต้นฉบับของกรมศิลปากร) แสดงประกอบการแสดงสื่อผสมเรื่อง "ประวัติพระนางจามเทวี ตอน ครองเมือง" เนื่องในงานฤดูหนาวและงานพระนางจามเทวีประจำปี จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ณ เวทีกลางสนามกีฬาจังหวัดลำพูน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]