ข้ามไปเนื้อหา

โรคอ้วน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคอ้วน
(Obesity)
ภาพเงาทึบแสดงเส้นรอบเอวของคนปกติ น้ำหนักเกิน และภาวะอ้วน
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10E66
ICD-9278
DiseasesDB9099
MedlinePlus003101
eMedicinemed/1653
MeSHC23.888.144.699.500

โรคอ้วนเป็นสภาวะทางการแพทย์ที่มีการสะสมไขมันในร่างกายมากถึงขนาดที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีอายุสั้นลง และมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง[1][2] การพิจารณาว่าบุคคลใดอ้วนนั้นพิจารณาจากดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นการวัด มีค่าเท่ากับน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง บุคคลที่มีดัชนีมวลกายเกิน 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน โดยในช่วง 25-30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนิยามเป็นน้ำหนักเกิน

โรคอ้วนเพิ่มโอกาสการป่วยเป็นโรคหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น มะเร็งบางชนิด และโรคข้อเสื่อม[2] โรคอ้วนมีสาเหตุมาจากการรับพลังงานจากอาหารมากเกิน การขาดการออกกำลังกาย และความเสี่ยงทางพันธุกรรมร่วมกันมากที่สุด แม้ว่าผู้ป่วยน้อยรายจะเกิดจากยีนหรือพันธุกรรม ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ยาหรือการป่วยจิตเวชเป็นหลัก สำหรับมุมมองที่ว่าคนอ้วนบางรายกินน้อยแต่น้ำหนักเพิ่มเพราะเมแทบอลิซึมช้านั้นมีหลักฐานสนับสนุนจำกัด โดยเฉลี่ยแล้ว คนอ้วนมีการเสียพลังงานมากกว่าคนผอมเนื่องจากต้องใช้พลังงานมากกว่าในการรักษามวลร่างกายที่เพิ่มขึ้นคนอ้วนจึงเหนื่อยเร็วกว่าคนผอม [3][4]

การจำกัดอาหารและการออกกำลังกายเป็นหลักของการรักษาโรคอ้วน สามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารได้โดยการลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และโดยการเพิ่มการรับใยอาหาร อาจบริโภคยาลดวามอ้วนเพื่อลดความอยากอาหารหรือลดการดูดซึมไขมันเมื่อใช้ร่วมกันกับอาหารที่เหมาะสม หากอาหาร การออกกำลังกายและยาไม่ได้ผล การทำบอลลูนกระเพาะอาหาร (gastric ballon) อาจช่วยให้น้ำหนักลดได้ หรืออาจมีการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรกระเพาะอาหารและความยาวลำไส้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและลดความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร[5][6]

โรคอ้วนเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ทั่วโลกที่สามารถป้องกันได้ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ทางการมองว่าโรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21[7] โรคอ้วนถูกระบุว่าเป็นปัญหาในโลกสมัยใหม่อย่างมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก) ทว่าในอดีต ความอ้วนถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ และกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อดังกล่าวในบางบริเวณของโลก[2][8] ใน ค.ศ. 2013 สมาคมแพทย์อเมริกาจัดความอ้วนเป็นโรค[9][10]

สาเหตุ

[แก้]
  • กรรมพันธุ์ - ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งคู่ลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่อ้วนลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 40 แต่ไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุ ไม่ใช่ว่าคุณจะสิ้นโอกาสผอมหรือหุ่นดี
  • นิสัยจากการรับประทานอาหาร - คนที่มีนิสัยไม่ดีในการรับประทานอาหาร หรือที่เรียกกันว่า กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลาก็ทำให้อ้วนขึ้นได้
  • การไม่ออกกำลังกาย

- ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดี แต่มีการออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้ยืดเวลาความอ้วน แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดีแล้วนั่งๆ นอนๆ โดยไร้ซึ่งการยืดเส้นยืดสาย ในไม่ช้าก็จะเกิดการสะสมไขมันในร่างกาย

  • อารมณ์และจิตใจ - มีบางคนที่รับประทานอาหารตามอารมณ์และจิตใจ เช่น กินอาหารเพื่อดับความโกรธแค้น กลุ้มใจ กังวลใจ บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่าอาหารทำให้ใจสงบ จึงยึดอาหารไว้เป็นสิ่งที่สร้างความสบายใจ - แต่ในทางกลับกัน บางคนที่รู้สึกเสียใจ กลุ้มใจ ก็กินอาหารไม่ได้ ถ้าในระยะเวลานานๆ ก็มีผลทำให้เกิดการขาดอาหาร ฯลฯ
  • ความไม่สมดุลกับความรู้สึกอิ่ม ความหิว ความอยากอาหาร - เมื่อใดที่ความอยากกินเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้น "กินจุ" ในที่สุดก็จะทำให้เกิดความอ้วน
  • เพศ - ผู้หญิงสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมากินได้ตลอดเวลา อีกทั้งผู้หญิงจะต้องตั้งครรภ์ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น เพราะต้องกินอาหารมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ และบางคนหลังจากคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงให้เท่ากับเมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้
  • อายุ - เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะอ้วนก็เพิ่มขึ้น ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้พลังงานน้อยลง
  • กระบวนการทางเคมีที่เกิดกับร่างกาย
  • ยา - ผู้ป่วยบางโรคนั้น จะได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือใช้ยาคุมกำเนิด ก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน
  • โรคบางชนิด เช่น ไฮโปไทรอยด์

โรคที่พบร่วมบ่อย

[แก้]

การจัดการ

[แก้]

การรักษาโรคอ้วนหลักประกอบด้วยการจำกัดอาหารและการออกกำลังกาย[11] โปรแกรมอาหารอาจทำให้น้ำหนักลดได้ในช่วงสั้น ๆ[12] แต่การรักษาการลดน้ำหนักนี้บ่อยครั้งเป็นเรื่องยากและมักต้องอาศัยการออกกำลังกายและการได้รับพลังงานจากอาหารน้อยลงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของบุคคลอย่างถาวร[13][14] สัดส่วนความสำเร็จของการรักษาการลดน้ำหนักโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตนั้นต่ำ โดยมีพิสัยระหว่าง 2–20%[15] การเปลี่ยนแปลงอาหารและวิถีชวิตมีประสิทธิภาพในการจำกัดน้ำหนักเพิ่มเกินในสตรีมีครรภ์และให้ผลลัพธ์ดีขึ้นแก่ทั้งมารดาและบุตร[16]

วิทยาการระบาด

[แก้]
ความชุกของโรคอ้วนทั่วโลกในชาย (ซ้าย) และหญิง (ขวา)[17]   <5%   5–10%   10–15%   15–20%   20–25%   25–30%   30–35%   35–40%   40–45%   45–50%   50–55%   >55% ความชุกของโรคอ้วนทั่วโลกในชาย (ซ้าย) และหญิง (ขวา)[17]   <5%   5–10%   10–15%   15–20%   20–25%   25–30%   30–35%   35–40%   40–45%   45–50%   50–55%   >55%
ความชุกของโรคอ้วนทั่วโลกในชาย (ซ้าย) และหญิง (ขวา)[17]
  <5%
  5–10%
  10–15%
  15–20%
  20–25%
  25–30%
  30–35%
  35–40%
  40–45%
  45–50%
  50–55%
  >55%

ในยุคประวัติศาสตร์ช่วงต้น โรคอ้วนพบน้อย และมีเพียงอภิชนกลุ่มเล็กเท่านั้นที่เป็น แม้ยอมรับแล้วว่าเป็นปัญหาสุขภาพ แต่เมื่อความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นในสมัยใหม่ตอนต้น โรคอ้วนมีผลในประชากรกลุ่มใหญ่เพิ่มขึ้น[18] ในปี 2540 องค์การอนามัยโลกรับรองโรคอ้วนเป็นโรคระบาดทั่วโลกอย่างเป็นทางการ[19] ในปี 2551 องค์การอนามัยโลกประเมินว่า ผู้ใหญ่อย่างน้อย 500 ล้านคน (กว่า 10%) อ้วน โดยมีอัตราในหญิงสูงกว่าชาย[20] อัตราโรคอ้วนยังเพิ่มขึ้นตามอายุอย่างน้อยถึง 50 หรือ 60 ปี[21] และโรคอ้วนรุนแรงในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและแคนาดาเพิ่มขึ้นเร็วกว่าอัตราโรคอ้วนโดยรวม[22][23][24]

อ้างอิง

[แก้]
  1. WHO 2000 p.6
  2. 2.0 2.1 2.2 Haslam DW, James WP (2005). "Obesity". Lancet. 366 (9492): 1197–209. doi:10.1016/S0140-6736(05)67483-1. PMID 16198769.
  3. Kushner, Robert (2007). Treatment of the Obese Patient (Contemporary Endocrinology). Totowa, NJ: Humana Press. p. 158. ISBN 1-59745-400-1. สืบค้นเมื่อ April 5, 2009.
  4. Adams, PG; Murphy, PG (July 2000). "Obesity in anaesthesia and intensive care". Br J Anaesth. 85 (1): 91–108. doi:10.1093/bja/85.1.91. PMID 10927998. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |author-separator= ถูกละเว้น (help)
  5. NICE 2006 p.10–11
  6. Imaz, I; Martínez-Cervell, C; García-Alvarez, EE; และคณะ (July 2008). "Safety and effectiveness of the intragastric balloon for obesity. A meta-analysis". Obes Surg. 18 (7): 841–6. doi:10.1007/s11695-007-9331-8. PMID 18459025. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |author-separator= ถูกละเว้น (help)
  7. Barness, LA; Opitz, JM; Gilbert-Barness, E (December 2007). "Obesity: genetic, molecular, and environmental aspects". American Journal of Medical Genetics. 143A (24): 3016–34. doi:10.1002/ajmg.a.32035. PMID 18000969. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |author-separator= ถูกละเว้น (help)
  8. Woodhouse R (2008). "Obesity in art: A brief overview". Front Horm Res. Frontiers of Hormone Research. 36: 271–86. doi:10.1159/000115370. ISBN 978-3-8055-8429-6. PMID 18230908.
  9. Pollack, Andrew (June 18, 2013). "A.M.A. Recognizes Obesity as a Disease". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-23. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
  10. Weinstock, Matthew (June 21, 2013). "The Facts About Obesity". H&HN. American Hospital Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-09. สืบค้นเมื่อ June 24, 2013.
  11. Lau DC, Douketis JD, Morrison KM, Hramiak IM, Sharma AM, Ur E (April 2007). "2006 Canadian clinical practice guidelines on the management and prevention of obesity in adults and children summary". CMAJ. 176 (8): S1–13. doi:10.1503/cmaj.061409. PMC 1839777. PMID 17420481.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. Strychar I (January 2006). "Diet in the management of weight loss". CMAJ. 174 (1): 56–63. doi:10.1503/cmaj.045037. PMC 1319349. PMID 16389240.
  13. Shick SM, Wing RR, Klem ML, McGuire MT, Hill JO, Seagle H (April 1998). "Persons successful at long-term weight loss and maintenance continue to consume a low-energy, low-fat diet". J Am Diet Assoc. 98 (4): 408–13. doi:10.1016/S0002-8223(98)00093-5. PMID 9550162.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. Tate DF, Jeffery RW, Sherwood NE, Wing RR (1 April 2007). "Long-term weight losses associated with prescription of higher physical activity goals. Are higher levels of physical activity protective against weight regain?". Am. J. Clin. Nutr. 85 (4): 954–9. PMID 17413092.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Wing RR, Phelan, S (1 July 2005). "Science-Based Solutions to Obesity: What are the Roles of Academia, Government, Industry, and Health Care? Proceedings of a symposium, Boston, Massachusetts, USA, 10–11 March 2004 and Anaheim, California, USA, 2 October 2004". Am. J. Clin. Nutr. 82 (1 Suppl): 207S–273S. PMID 16002825.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Thangaratinam, S; Rogozinska, E; Jolly, K; และคณะ (16 May 2012). "Effects of interventions in pregnancy on maternal weight and obstetric outcomes: meta-analysis of randomised evidence". BMJ (Clinical research ed.). 344: e2088. doi:10.1136/bmj.e2088. PMC 3355191. PMID 22596383. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |author-separator= ถูกละเว้น (help)
  17. "Global Prevalence of Adult Obesity" (PDF). International Obesity Taskforce. สืบค้นเมื่อ January 29, 2008.
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Haslam2007
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Caballero
  20. "Obesity and overweight". World Health Organization. สืบค้นเมื่อ April 8, 2009.
  21. Seidell 2005 p.5
  22. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ morbid2007
  23. Howard NJ, Taylor AW, Gill TK, Chittleborough CR (2008). "Severe obesity: Investigating the socio-demographics within the extremes of body mass index". Obesity Research & Clinical Practice. 2 (1): I–II. doi:10.1016/j.orcp.2008.01.001. PMID 24351678.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  24. Tjepkema M (2005-07-06). "Measured Obesity–Adult obesity in Canada: Measured height and weight". Nutrition: Findings from the Canadian Community Health Survey. Ottawa, Ontario: Statistics Canada.

บรรณานุกรม

[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]