ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

พิกัด: 14°52′47″N 102°01′15″E / 14.8797599°N 102.0207167°E / 14.8797599; 102.0207167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ม.เทคโนโลยีสุรนารี)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
Suranaree University of Technology
ตราท้าวสุรนารี
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมวิทยาลัยสุรนารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อย่อมทส.[1] / SUT
คติพจน์ซื่อตรง สุภาพ สะอาด ประหยัด คือ จริยวัตร ของ มทส.
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533; 34 ปีก่อน (2533-07-27)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ2,010,594,700 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
นายกสภาฯศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ อนันต์ ทองระอา
อาจารย์539 คน (พ.ศ. 2566)
บุคลากรทั้งหมด2,013 คน (พ.ศ. 2567)
ผู้ศึกษา17,303 คน (พ.ศ. 2563)[3]
ที่ตั้ง
ต้นไม้ปีบทอง
สี  สีแสด
  สีทอง
ฉายามอสุรนารี
มาสคอต
ท้าวสุรนารี
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (อังกฤษ: Suranaree University of Technology; อักษรย่อ: มทส. – SUT) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 โดยได้มีการยกฐานะจาก "วิทยาลัยสุรนารี" มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยประจำจังหวัดนครราชสีมา เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือถัดจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม (ต่อมาคือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) และเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรกของประเทศไทย

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้ทำการจัดการเรียนการสอนครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ใน 8 สำนักวิชาและ 1 สถาบันสมทบ โดยมีหลักสูตรในระดับปริญญาตรี 49 หลักสูตร ปริญญาโท 36 หลักสูตร และปริญญาเอก 29 หลักสูตร (ข้อมูลในปีการศึกษา 2563) มีนักศึกษากว่า 17,000 คน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารียังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกคิดเป็นร้อยละสูงที่สุดในประเทศไทย (ร้อยละ 80.21) และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยต่อหัวคณาจารย์สูงที่สุดในประเทศไทย "ที่ 1"

ประวัติ

[แก้]

วิทยาลัยสุรนารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 รัฐบาลมีนโยบายกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคและชนบทให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นใน พ.ศ. 2527ทบวงมหาวิทยาลัยจึงเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ในส่วนภูมิภาค 5 แห่ง ได้แก่ภาคเหนือ 1 แห่ง ภาคใต้ 1 แห่ง ภาคตะวันออก 1 แห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ในส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้จัดตั้งวิทยาลัยในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดนครราชสีมา โดยวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาให้ใช้ชื่อว่า“ วิทยาลัยสุรนารี ”และเลือกพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยบ้านยาง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เนื้อที่ประมาณ 7,000 ไร่ เป็นที่ตั้ง

ต่อมารัฐบาลซึ่งมีชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความจำเป็นในการเร่งรัดจัดตั้งมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นในส่วนภูมิภาค เพื่อให้มีศักยภาพและความพร้อมที่จะสนองความต้องการของการพัฒนาประเทศในภูมิภาคต่างๆ ดังนั้นคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2531 จึงมีมติให้ยกฐานะวิทยาลัยในภูมิภาคทั้ง 5 แห่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศพร้อมกันนี้ได้อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสุรนารีโดยมีปลัดทบวงมหาวิทยาลัย (ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน) เป็นประธานคณะกรรมการฯ ได้จัดทำโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเสนอต่อรัฐบาล พร้อมทั้งเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยต่อสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมพ.ศ. 2532

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติดังกล่าว และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2533 ให้ยกฐานะ "วิทยาลัยสุรนารี" ในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและถือเอาวันที่ 27 กรกฎาคม 2533 เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยในช่วงเดือนกรกฎาคม 2533 - พฤษภาคม 2536 มหาวิทยาลัยได้พัฒนาที่ทำการโดยจัดจ้างก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างและจัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2533 อาคารและสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่แล้วเสร็จทันการเปิดดำเนินการรับนักศึกษาในเดือนพฤษภาคมโดยมีศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้านเป็นอธิการบดีผู้ก่อตั้ง

ในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 3 ด้านการวิจัย (ดีเลิศ) และ อันดับที่ 7 ด้านการเรียนการสอน (ดีเยี่ยม) ของประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยได้รับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษา (สมศ.) ในกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัย ให้เป็นอันดับหนึ่งในบรรดามหาวิทยาลัยของรัฐ และเป็นอันดับที่สองของประเทศ

มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงมากทางด้านสาขาวิชาฟิสิกส์ โดยได้รับการจัดอันดับจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศต่อเนื่องทั้งในปี พ.ศ. 2550 และ 2553 นอกจากนี้สาขาวิชาอื่นที่มีได้รับการจัดอันดับในเกณฑ์สูงได้แก่ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเซรามิก และสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ มหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับอย่างกว้างจากวงการอุตสาหกรรม โดยได้เปิดสอนสาขาวิชาต่าง ๆ ทางด้านวิศวกรรมหลากหลายที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย

มหาวิทยาลัยได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จาก กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจัดเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้รับการรับเลือก ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงเก่าแก่อื่น ๆ และได้รับการจัดอันดับการมีงานทำและศึกษาต่อของบัณฑิตร้อยละ 96 ซึ่งสูงที่สุดในประเทศ [4]

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อยู่ในอันดับที่ 958 ของโลก และอันดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[5]

ปี พ.ศ. 2558 ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 2 ร่วมของประเทศไทยและที่ 601-800 ร่วมของโลก ตามการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของนิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชัน[6], ตีพิมพ์งานวิจัยในนิตยสาร Nature มี Nature Index ลำดับ 2 ของประเทศ[7]และ Nature Publishing Index เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ[8] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นต้นแบบของการจัดการสหกิจศึกษา (Cooperative Education) ซึ่งจัดให้นักศึกษาได้มีโอกาสไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งภาคการศึกษา ผลการดำเนินงานพบว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง ช่วยให้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยมีอัตราการได้งานทำสูงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และในปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยได้รับเลือกจากคณะกรรมการสมาคมสหกิจศึกษาโลกให้เป็นสำนักงานสำนักงานสหกิจศึกษาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ 2.88 จากคะแนนเต็ม 3 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก และได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ในกลุ่มการผลิตบัณฑิตและวิจัยในรอบการประเมินที่ 2 เท่ากับ 4.76 จากคะแนนเต็ม 5 อยู่ในระดับดีมาก

ปี พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัย จัดตั้ง ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[9]

โดยสรุปแล้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยสุรนารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2527 มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ภูมิภาค ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เมื่อปีพุทธศักราช 2533 ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติแห่งแรกของไทย และเป็นมหาวิทยาลัยรัฐลำดับที่ 16 ของประเทศ

สัญลักษณ์

[แก้]
ตราท้าวสุรนารี สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
  • ตราท้าวสุรนารี คือ ตราประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สื่อความหมายถึง ปรัชญาและภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยเน้น ความ เคารพ และศรัทธาต่อท้าวสุรนารี ในฐานะวีรสตรีแห่งชาติ ด้านล่างเป็นภาพเส้นโค้งงอนหงายขนาบ 2 ข้างของภาพข้างละ 4 เส้น เกยและเชื่อมต่อกันเสมือนหนึ่งกระเบื้องมุงหลังคาคร่อมภาพ มีความหมายดังนี้[10]

ภาพท้าวสุรนารี สื่อความหมายถึง ปรัชญา และ ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยเน้น ความ เคารพ และศรัทธาต่อท้าวสุรนารี ในฐานะวีรสตรีแห่งชาติ

ภาพเส้นโค้งงอนหงายขนาบ 2 ข้างของภาพข้างละ 4 เส้น เกยและเชื่อมต่อกันเสมือนหนึ่งกระเบื้องมุงหลังคาคร่อมภาพ สื่อความหมายถึง ความสำเร็จทางเทคโนโลยีที่ต่อเนื่องกัน และความเจริญก้าวหน้าที่ไม่มีที่สิ้นสุด

ภาพเชิงนามธรรมของพืชพรรณและเฟืองจักร สื่อความหมายถึง การเกษตร และอุตสาหกรรม

ความหมายโดยรวม คือ ปรัชญาและภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยเน้น ความ เคารพ และศรัทธาต่อท้าวสุรนารี ในฐานะวีรสตรีแห่งชาติ

  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีแสด - ทอง[12]

  สีแสด หมายถึง สีประจำจังหวัดนครราชสีมา, สีธงประจำกองเสือป่านครราชสีมา ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสีประจำวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครู

  สีทอง หมายถึง เป็นสีแห่งความรุ่งเรืองรุ่งโรจน์ และศรัทธา

การศึกษา

[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ การบริหารการศึกษาดำเนินการโดย 8 คณะ 1 สถาบันสมทบ และ 1 สถาบันวิจัย ประกอบไปด้วย

สำนักวิชา

[แก้]

การรับนักศึกษา

[แก้]

1. รอบที่ 1 Portfolio

2. รอบที่ 2 โควตา

3. รอบที่ 3 Admission 1

4. รอบที่ 4 Admission 2

5. รอบที่ 5 รับตรง

6. สมัครเพื่อขอรับทุนการศึกษา

7. รับโอนจากสถาบันอื่น

8. กลับเข้าศึกษาใหม่

การศึกษาระบบไตรภาค
ภาคการศึกษาที่ 1 สิงหาคม - พฤศจิกายน
ภาคการศึกษาที่ 2 พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาที่ 3 มีนาคม - มิถุนายน

สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ

[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเปิดสอนหลักสูตรสหกิจศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเป็นแห่งแรกของโลกในปีการศึกษา 2556 หลักสูตรสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีบูรณาการการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีในสถานศึกษา กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการเสมือนเป็นพนักงาน อย่างน้อย 16 สัปดาห์อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์จากการทำงานจริงเป็นหลักหรือโครงงานพิเศษที่มีประโยชน์กับสถานประกอบการ เช่น การปรับปรุง การเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการแก้ปัญหากระบวนการทำงาน ซึ่งช่วยเสริมสร้างให้นักศึกษามีทักษะการทำงาน ทักษะด้านสังคม มีความพร้อมด้านงานอาชีพ และมีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารียังคงธำรงไว้ซึ่งการเป็นต้นแบบและผู้นำด้านสหกิจศึกษาของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และในปี 2563 มีจำนวนตำแหน่งงานที่ถูกเสนอจากสถานประกอบการมากกว่า 7,126 ตำแหน่งงาน

การธำรงไว้ซึ่งการเป็นต้นแบบและผู้นำด้านสหกิจศึกษาของไทย
ระดับภูมิภาค ระดับชาติ ระดับนานาชาติ
สถาบันแม่ข่ายเครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รางวัลผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินงานสหกิจศึกษาดีเด่น ระดับชาติ ประจำปี 2553 และ 2554 การประกาศเกียรติคุณในทำเนียบหอประวัติวารสารสมาคมสหกิจศึกษาโลก (WACE co-op Hall of Fame) ปี พ.ศ. 2555, 2556, 2563, 2564
รางวัลสถานศึกษาดำเนินงานสหกิจศึกษาดีเด่น ระดับชาติ ประจำปี 2553
รางวัลสถานศึกษาดำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติดีเด่น ระดับชาติ ประจำปี 2556
รางวัลสถานศึกษาดำเนินการนวัตกรรมสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานดีเด่น ระดับชาติ ประจำปี 2563
รางวัลนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติดีเด่นระดับชาติ ประจำปี 2555, 2558 , 2559 และ 2562
รางวัลโครงงานสหกิจศึกษาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และการจัดการดีเด่นระดับชาติ ประจำปี 2554
รางวัลโครงงานสหกิจศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่นระดับชาติ ประจำปี 2558 และ 2562
รางวัลนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติรองดีเด่นระดับชาติ ประจำปี 2560
รางวัลโครงงานด้านนวัตกรรมสหกิจศึกษารองดีเด่นระดับชาติ ประจำปี 2560 และ 2563
คณาจารย์นิเทศสหกิจศึกษาดีเด่นระดับชาติ ประจำปี 2562 และ 2563

การก่อตั้งสำนักวิชา

[แก้]
พ.ศ. คณะ

2533
2536
2552
2558

2560

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
สำนักวิชาแพทยศาสตร์สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์
สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์

สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์

เพลงมหาวิทยาลัย

[แก้]

อันดับและมาตรฐานมหาวิทยาลัย

[แก้]

การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย

[แก้]
อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัด/ปีการศึกษาที่จัด อันดับ
QS (Asia) (2020) 9(261-270)
QS (World) (2020) 9(-)
RUR (2019) 3(643)
Webometrics (2020) 7(1200)
UI Green Metric (2019) 10(180)
SIR (2020) 10(752)
SIR (2014) 11(608)
THE (World) (2020) 10(1000+)
uniRank (2019) 12(1405)
URAP (2020) 8(1385)
U.S. News (2017) -

เมื่อ พ.ศ. 2549 สกอ. ได้ประกาศ 50 อันดับมหาวิทยาลัยด้านวิจัย และด้านการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 7 ด้านการเรียนการสอนและลำดับที่ 3 ด้านการวิจัย

อันดับมหาวิทยาลัย

[แก้]

นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่

การจัดอันดับโดย Webometrics

[แก้]

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ รอบที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 7 ของประเทศไทย 261 ของทวีปเอเชีย และอยู่ในอันดับที่ 1200 ของโลก[13]

การจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking

[แก้]

เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ในรอบ พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 10 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 180 ของโลก[14]

การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking

[แก้]

อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ผลการจัดอันดับสถาบันการศึกษา Scimago Institutions Rankings 2020 ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ [15] ซึ่งผลการจัดอันดับประเภทภาพรวม (Overall Rank) ปรากฏว่ามีมหาวิทยาลัยในไทยติดอันดับจำนวน 26 แห่ง โดยผลการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ติดอันดับที่ 10 ของไทย อันดับที่ 752 ของโลก[16]

  • 1. ด้านการวิจัย ติดอันดับที่ 12 ของไทย อันดับที่ 451 ของโลก
  • 2. ด้านนวัตกรรม ติดอันดับที่ 8 ของไทย อันดับที่ 480 ของโลก
  • 3. ด้านสังคม ติดอันดับที่ 8 ของไทย อันดับที่ 228 ของโลก

Scimago Institutions Rankings เป็นการจัดอันดับจากองค์การในประเทศสเปน ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาจากผลงาน 3 ด้าน[17]

การจัดอันดับโดย uniRank

[แก้]

uniRank เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานไม่แสวงหากำไร IREG Observatory ที่ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงการศึกษาจากหลายสถาบัน และจดทะเบียนหน่วยงานอยู่ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม อันดับของ uniRank จะอาศัยการรวบรวมข้อมูลตัววัดเว็บ (web metrics) 5 ฐานข้อมูลได้แก่ 1. Moz Domain Authority 2. Alexa Global Rank 3. SimilarWeb Global Rank 4. Majestic Referring Domains 5. Majestic Trust Flow โดยการจัดอันดับประจำปี ค.ศ. 2019 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีอยู่ในอันดับที่ 12 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 1,405 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก [18]

การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance

[แก้]

อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 8 ของประเทศไทย และอันดับ 1385 ของโลก ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม B โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง[19]

หน่วยงานภายใน

[แก้]

ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ

[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันและองค์กรต่างประเทศภายใต้ข้อตกลงประเภทต่าง ๆ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา และดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนความร่วมมือภายใต้ข้อตกลงกับสถาบันและองค์กรในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ได้ขยายเครือข่ายทางวิชาการสู่ระดับนานาชาติกับสถาบันและองค์กรทุกทวีปทั่วโลก จำนวน 99 แห่ง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยลงนามข้อตกลงแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับสถาบันและองค์กรต่างประเทศ จำนวน 16 แห่ง ประกอบด้วย

  • Institut National Supérieur des sciences agronomiques, del'alimentation et de l'envirnnement (Agrosup Dijon)
  • Université Grenoble Alpes
  • Research Center for Appropriate Technology Indonesian Institute of Science
  • Universitas Indonesia
  • Akita University
  • Hokkaido University, Japan
  • Kyoto Institute of Technology
  • Kyushu University
  • University of Shizuoka
  • Yamaguchi University
  • The University of Malaya
  • Universiti Tunku Abdul Rahman
  • National Kaohsiung University of Hospitality and Tourism
  • Myddelton College
  • The University of Arizona
  • Vietnam National University Ho Chi Minh City - University of Science

การเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมและองค์กรนานาชาติ

[แก้]
  • สมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ASAIHL)
  • สมาคมมหาวิทยาลัยแห่งเอเชียและแปซิฟิก Association of Universities of Asia and the Pacific (AUAP)
  • สมาคมมหาวิทยาลัยระหว่างประเทศ International Association of Universities (IAU)
  • สมาคมสหกิจศึกษาโลก World Association of Cooperative Education (WACE)
  • เครือข่ายมหาวิทยาลัยในทวีปยุโรปและมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ASEAN-European Academic University Network (ASEA-UNINET)
  • The World Technology Universities Network (WTUN)
  • Asia Technological University Network (ATU-Net)
  • Southeast Asia and Taiwan Universities (SATU)

ความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศ

[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและการดำเนินกิจกรรมร่วมกับสถาบันและองค์กรในประเทศภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือหลายด้าน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ จำนวน 17 ความร่วมมือ ประกอบด้วย

  • ความร่วมมือโครงการวิจัยและพัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) กับบริษัทผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วมจำกัด
  • ความร่วมมือด้านการพัฒนาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทบิ๊กเทคอินโนเวชั่น จำกัด และบริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
  • ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษากับบริษัทจัดหางานจ๊อบบีเค ดอตคอม จำกัด
  • ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหาร ซีพีเอฟ จำกัด
  • ความร่วมมือการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทโกรกรีน โซลูชันส์
  • ความร่วมมือวิจัยและพัฒนากับบริษัทเอี่ยมธงชัยอุตสาหกรรม
  • ความร่วมมือการส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยกับสำนักงานวิจัยการเกษตร
  • ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทไอดา เมดิคอล จำกัด และมูลนิธิวิจัยและบริการการศึกษาเพื่อสาธารณะ
  • ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท อัลฟ่า อิมพอร์ต เอ็กพอร์ต ประเทศไทย จำกัด
  • ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทน้ำตาลสุรินทร์ จำกัด
  • ความร่วมมืองานวิจัยด้านอาหารและที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาเนื้อไก่ให้เป็นเนื้อเชิงหน้าที่ (functional meat) กับบริษัท PS Nutrition จำกัด
  • ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท ฮิตาชิ คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด
  • ความร่วมมือทางวิชาการ 4 เรื่อง (สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์)

ชีวิตในมหาวิทยาลัย

[แก้]

การเดินทางมายังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

[แก้]
  • โดยรถยนต์

สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทางคือ จากกรุงเทพมหานคร ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทาง หลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ที่สระบุรี ขับตามเส้นทางจนถึงสะพานต่างระดับบริเวณสามแยกปักธงชัย (ก่อนถึงตัวเมืองนครราชสีมา ประมาณ 5 กม.) จากนั้นขึ้นสะพานตรงไปยัง อ.ปักธงชัย อีกประมาณ 7 กม. ทางเข้ามหาวิทยาลัยจะอยู่ทางด้านขวามือ รวมระยะทาง 259 กิโลเมตร อีกเส้นทาง คือ จากกรุงเทพมหานครใช้ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านมีนบุรี ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม กบินทร์บุรี ปักธงชัย มายังนครราชสีมา ก่อนถึงนครราชสีมาประมาณ 20 กม. จะมีทางเข้ามหาวิทยาลัยอยู่ทางด้านซ้ายมือ รวมระยะทาง 273 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง

  • โดยรถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งตะวันออก เฉียงเหนือ ไปนครราชสีมาทุกวัน ท่านสามารถลงรถได้ที่สามแยกปักธงชัย และขึ้นรถเมล์สาย มทส เข้ามายัง มทส (มีรถเมล์ 2 สายคือ สาย มทส - เทคโนโลยีราชมงคล สีเหลือง ขาว และสายหัวทะเล - มทส สีม่วงขาว ราคาค่าโดยสาร 14 บาท)

  • โดยรถไฟ

มีรถไฟออกจาสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ไปนครราชสีมาทุกวัน รายละเอียดสอบถามที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย

รายนามอธิการบดี

[แก้]
รายนามอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1. ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน

27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (รักษาการ)
22 ธันวาคม พ.ศ. 2538 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2542(วาระที่ 1)
22 ธันวาคม พ.ศ. 2542 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (วาระที่ 2)

-
[1]
[2]

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวี เลิศปัญญาวิทย์

1 สิงหาคม พ.ศ. 2544 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

[3]

3. ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า

1 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
1 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

[4]

4. รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ

1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

[20]

5. รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์  ทองระอา 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 - 12 กันยายน พ.ศ. 2564 (รักษาการ)

12 กันยายน พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

[21]

หน่วยงานของรัฐที่ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัย

[แก้]

ศิษย์เก่าและบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัย

[แก้]
  • ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน (อธิการบดีผู้ก่อตั้ง, นายกสภามหาวิทยาลัย) อดีตปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • ศาสตราจารย์ ดร. ประสาท สืบค้า (อธิการบดี) ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย, อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์) ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน)
  • รองศาสตราจารย์ ดร. ไทย ทิพย์สุวรรณกุล (อาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาทั่วไป) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ศาสตราจารย์ มนัส สถิรจินดา (อดีตหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ) ผู้ก่อตั้งสมาคมอุตสาหกรรมหล่อโลหะแห่งประเทศไทย, นักโลหะวิทยาดีเด่น ประจำปี 2550
  • ศาสตราจารย์ ดร. สราวุฒิ สุจิตจร (อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน)
  • ศาสตราจารย์ ดร. Joewono Widjaja (อาจารย์ประจำสาขาวิชาเลเซอร์และโฟโตนิกส์) รางวัล Galileo Galilei 2008 ด้าน Optics and Photonics
  • ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์) Corbett Prize for Young Scientist 2005, นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2554, รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2548
  • ศาสตราจารย์ ดร. สันติ แม้นศิริ (หัวหน้าสาขาวิชาฟิสิกส์) รางวัล TWAS Prize Young Scientists in Thailand สาขาฟิสิกส์ พ.ศ. 2552 จาก Thrid World Academy of Sciences, รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2550
  • รองศาสตราจารย์ ดร. พวงรัตน์ ไพเราะ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์) รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2549
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรวัฒน์ มีวาสนา (อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์) รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2555
  • นางสาว ชาลิตา แย้มวัณณังค์ (ศิษย์เก่าสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ) Miss Universe Thailand 2013
  • ไพศาล ธัญธาดาลักษณ์ (ศิษย์เก่าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์) นักกีฬาหมากล้อมทีมชาติไทย
  • สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล(ศิษย์เก่าสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ภาพถ่ายของมหาวิทยาลัย

[แก้]

ภาพถ่ายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีทั้งในอดีดและปัจจุบันที่อยู่ในวิกิพีเดีย สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน

อ้างอิง

[แก้]
  1. การกำหนดรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงและเลขที่หนังสือออกของ กระทรวงการอดุมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เก็บถาวร 2021-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. [ไฟล์:///C:/Users/ACER/Downloads/Documents/Regis%20Student%202563.pdf จำนวนนักศึกษาทั้งหมด ปีการศึกษา 2563], สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2563
  4. อธิการบดี มทส.ปลื้ม พบบัณฑิตจบใหม่ได้เงินเดือนสูงเกินค่าเฉลี่ย สกอ. ประเมินอัตราได้งานทำสูงสุดในประเทศ
  5. Ranking Web of World Universities เก็บถาวร 2009-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนTop South East Asia
  6. World University Rankings 2015-16, Retrieved 18 October 2015
  7. Nature Index Thailand, Retrieved 18 October 2015
  8. Nature Publishing Index Thailand เก็บถาวร 2015-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Retrieved 18 October 2015
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/147/14.PDF
  10. ความหมายตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เก็บถาวร 2020-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมือ 18 ตุลาคม 2563
  11. ต้นปีปทอง ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. เก็บถาวร 2020-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมือ 18 ตุลาคม 2563
  12. สีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. เก็บถาวร 2020-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมือ 18 ตุลาคม 2563
  13. http://www.webometrics.info/en/detalles/sut.ac.th
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-27. สืบค้นเมื่อ 2020-05-26.
  15. https://www.scimagoir.com
  16. https://www.scimagoir.com/rankings.php?country=THA&sector=Higher%20educ.
  17. https://www.scimagoir.com/rankings.php?country=THA&sector=Higher%20educ
  18. https://www.4icu.org/reviews/4512.htm
  19. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-30. สืบค้นเมื่อ 2020-05-26.
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (นายวีระพงษ์ แพสุวรรณ)
  21. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (นายอนันต์ ทองระอา)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

14°52′47″N 102°01′15″E / 14.8797599°N 102.0207167°E / 14.8797599; 102.0207167