มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (อังกฤษ: National Research University) หรือ โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ได้ก่อตั้งขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 โดยจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษา การวิจัยของมหาวิทยาลัยไทยและเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยเมื่อเทียบกับระดับโลก โดยมหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เงินสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นเวลา 3 ปี จำนวนเงิน 9,450 ล้านบาทเพื่อเป็นทุนในการวิจัยและพัฒนาอาจารย์และบุคคลากรในมหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือก [1]

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศรายชื่อ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จำนวน 9 แห่ง จาก มหาวิทยาลัย 15 แห่ง ที่ได้รับการเสนอชื่อ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี [2]


รายชื่อมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ[แก้]

ลำดับ ตรา รายชื่อ อักษรย่อ วันที่สถาปนา สี สถานที่ตั้ง
(วิทยาเขตหลัก)
เว็บไซต์
1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จฬ./CU 26 มีนาคม พ.ศ. 2459[3]   กรุงเทพมหานคร chula.ac.th
2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มธ./TU 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477[4]
  
กรุงเทพมหานคร tu.ac.th เก็บถาวร 2023-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มก./KU 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486[5]   กรุงเทพมหานคร ku.ac.th
4 มหาวิทยาลัยมหิดล มม./MU 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486[6]   จังหวัดนครปฐม mahidol.ac.th
5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มช./CMU 21 มกราคม พ.ศ. 2507[7]   จังหวัดเชียงใหม่ cmu.ac.th
6 มหาวิทยาลัยขอนแก่น มข./KKU 25 มกราคม พ.ศ. 2509[8]   จังหวัดขอนแก่น th.kku.ac.th
7 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ม.อ./PSU 12 มีนาคม พ.ศ. 2511[9]   จังหวัดสงขลา psu.ac.th
8 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มจธ./KMUTT 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 [10]
  
กรุงเทพมหานคร kmutt.ac.th
9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มทส./SUT 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533[11]
  
จังหวัดนครราชสีมา sut.ac.th

เกณฑ์ในการคัดเลือก[แก้]

  1. กลุ่มที่ 1 ต้องติดลำดับ 1 ใน 500 มหาวิทยาลัยโลก ซึ่งมีมหาวิทยาลัยผ่านเกณฑ์ 7 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  2. กลุ่มที่ 2 ถ้าหากไม่อยู่เกณฑ์นี้จะต้องเข้าเกณฑ์ 3 ข้อดังต่อไปนี้[12][13]
  • มีผลงานวิจัยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาอย่างน้อย 500 เรื่อง
  • จากงานวิจัย 500 เรื่องต้องมี 5 สาขาวิชาหลัก และมีความโดดเด่นเฉพาะด้านอย่างน้อย 2 ใน 5 สาขาวิชาดังกล่าว
  • อาจารย์ในมหาวิทยาลัยดังกล่าว ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกอย่างน้อย 40 % จากจำนวนคณาจารย์ทั้งหมด

ซึ่งมีมหาวิทยาลัยผ่านเกณฑ์ 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


อย่างไรก็ตามโครงการนี้ประสบกับปัญหาเรื่องงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลที่ถูกปรับลดลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากประเทศประสบกับปัญหาน้ำท่วมในปีพ.ศ. 2554[14][15] การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจากเหตุการณ์รัฐประหาร มีแนวโน้มว่ารัฐบาลทหารอาจจะยกเลิกโครงการดังกล่าว และเปลี่ยนมาเป็นโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยโลกแทน [16] [17]


อ้างอิง[แก้]

  1. รายระเอียดโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ[ลิงก์เสีย], สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 15 เมษายน 2557
  2. ศธ.เผย9ม.วิจัยแห่งชาติปี53 เก็บถาวร 2016-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คม ชัด ลึก, 15 เมษายน 2557
  3. ประกาศ ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโอนไปขึ้นอยู่ในกระทรวงธรรมการ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๖๐ เล่ม ๓๔ หน้า ๒๐
  4. จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2566 พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช ๒๔๗๖, ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๔๗๖ เล่ม ๕๐ หน้า ๑๐๐๗
  5. พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช 2486 เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2486 เล่ม 228 หน้า 60 ตอนที่ 7
  6. พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พุทธศักราช 2486, ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2486 หน้า 212 เล่ม 60 ตอนที่ 7
  7. พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๐๗, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๗ หน้า ๒๕ ๒๑ มกราคม ๒๕๐๗
  8. พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๐๘, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๘ หน้า ๖๒ ๒๕ มกราคม ๒๕๐๙
  9. พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๑๑, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๔ หน้า ๑๒๗ ๑๒ มีนาคม ๒๕๑๑
  10. พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2541, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 11ก หน้า 1 6 มีนาคม 2541
  11. พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. ๒๕๓๓, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๓๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๙๓ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๓๓
  12. https://www.gotoknow.org/posts/293212
  13. http://www.moe.go.th/mobile1/viewNews.php?nCatId=news11&moe_mod_news_ID=14279[ลิงก์เสีย]
  14. อธิการบดีม.สุรนารี โอด “ช่างดูว้าเหว่” ฟังรัฐทุ่มงบฯ ติด TOP มหาวิทยาลัยโลก, อิศรา, 15 เมษายน 2557
  15. "มหา'ลัยวิจัย"ฝันค้างชวดงบฯอีก[ลิงก์เสีย], ไทยโพสต์, 15 เมษายน 2557
  16. http://www.dailynews.co.th/education/306293
  17. http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000028368[ลิงก์เสีย]