การรถไฟแห่งประเทศไทย
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
การรถไฟแห่งประเทศไทย | |
---|---|
![]() | |
เป็นเครื่องหมายราชการแห่งกรมรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับสิทธิให้ใช้เครื่องหมายราชการนี้ | |
ที่ทำการ | |
1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 | |
ภาพรวม | |
วันก่อตั้ง | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 (68 ปี) |
งบประมาณ | 24,636.9921 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1] |
ผู้บริหารหลัก | จิรุตม์ วิศาลจิตร, ประธานกรรมการ วรวุฒิ มาลา, รักษาการผู้ว่าการ วิโรจน์ เตรียมพงศ์พันธ์, รองผู้ว่าการ จเร รุ่งฐานีย, รองผู้ว่าการ |
ต้นสังกัด | กระทรวงคมนาคม |
เว็บไซต์ | |
http://www.railway.co.th/ |
การรถไฟแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: รฟท.; อังกฤษ: State Railway of Thailand ; SRT) เป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ดูแลกิจการด้านรถไฟของประเทศไทย มีทางรถไฟอยู่ภายใต้ขอบเขตดำเนินการทั้งหมด 4,070 กิโลเมตร
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ จากนั้นในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระองค์ได้เสด็จฯ ทรงเปิดการเดินรถไฟ สายกรุงเทพ-นครราชสีมา เส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศสยาม กรมรถไฟจึงถือเอาวันที่ 26 มีนาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟจนถึงปัจจุบัน[2]
เนื่องจากการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสบริเวณเหลมอินโดจีน พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคม โดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา และมีทางแยกตั้งแต่เมืองลพบุรี - เชียงใหม่ สายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2430[3]
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพ ถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการ สร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟฯได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534 โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเสด็จมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก “กรมรถไฟ” เป็น “กรมรถไฟหลวง” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลสำคัญที่ผลักดันให้กิจการรถไฟของไทยเติบใหญ่อย่างมั่นคงในเวลาต่อมา คือ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่ตรินีตี้คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้รับฉายาว่าพระบิดาแห่งการรถไฟไทย โดยปี 2453 ได้รักษาการตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ ต่อมาได้รวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าด้วยกันเป็นกรมรถไฟหลวงเมื่อปี 2460 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก การที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอย่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงสมัยนั้น ดูเหมือนจะเป็นพระราชประสงค์จำนงหมายไว้แต่เดิมมากกว่าเป็นการบังเอิญเนื่องแต่สงคราม เพราะเมื่อทรงแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ให้เป็นผู้บัญชาการในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2460 แล้วนั้น ต่อมาในเดือนพฤจิกายน พ.ศ.เดียวกัน ก็ได้มีพระราชหัตถเลขาเป็นส่วนพระองค์แสดงความในพระราชหฤทัยที่ทรงมีอยู่ (พระราชหัตถเลขาลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460) ทรงกล่าวว่า
“รู้สึกว่า ราชการกรมรถไฟ เป็นราชการสำคัญและมีงานที่ต้องทำมาก เพราะเต็มไปด้วยความยุ่งยาก และฉันรู้สึกว่าเป็นเคราะห์ดีอย่างยิ่งที่ฉันได้เลือกให้ตัวเธอเป็นผู้บัญชาการรถไฟ และอาจพูดได้โดยไม่แกล้งยอเลยว่า ถ้าเป็นผู้อื่นเป็นผู้บัญชาการ การงานอาจยุ่งเหยิงมากจนถึงแก่เสียทีได้ทีเดียว เมื่อความจริงเป็นอยู่เช่นนี้ ฉันจึงได้มารู้สึกว่า
1) การงานกรมรถไฟไม่ใช่เป็นของที่จะวานให้เธอทำเป็นชั่วคราวเสียแล้ว จะต้องคิดอ่านเป็นงานแรมปี....
2) ฉันเห็นว่า เธอควรจะต้องให้เวลาและกำลังส่วนตัวสำหรับกิจการรถไฟนี้มากกว่าอย่างอื่น....
จึงขอบอกตามตรง และเธอต้องอย่าเสียใจว่าในขณะนี้ เธอมีหน้าที่ราชการหลายอย่างเกินไป จนทำให้ฉันนึกวิตกว่า ถึงแม้เธอจะเต็มใจรับทำอยู่ทั้งหมดก็ดี แต่กำลังกายของเธอจะไม่ทนไปได้ จริงอยู่ฉันได้ยินเธอกล่าวอยู่เสมอว่า “ยอมถวายชีวิต” แต่ฉันขอบอกอย่างดื้อๆ เพราะฉันรักเธอว่า ฉันไม่ต้องการชีวิตของเธอ ฉันต้องการใช้กำลังความสามารถของเธอมากกว่า”
กรรมการชุดปัจจุบัน[แก้]
- นาย จิรุตม์ วิศาลจิตร ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ
- ดร.ชยธรรม์ พรหมศร ดำรงตำแหน่งกรรมการ
- นาย อำนวย ปรีมนวงศ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการ
- นางสาว ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล ดำรงตำแหน่งกรรมการ
- นาย ธันวา เลาหศิริวงศ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการ
- นาย พินิจ พัวพันธ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการ
- นาง ศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการ
หน่วยงานส่วนกลาง[แก้]
- ศูนย์บริหารความเสี่ยง (ผู้อำนวยการศูนย์บริหารความเสี่ยง : ศคส.)
- แผนกบริหารงานทั่วไป (หัวหน้าแผนกบริหารงานทั่วไป : ผบป.)
- กองบริหารและพัฒนา (หัวหน้ากองบริหารและพัฒนา : กบน.)
- งานกำหนดมาตรฐานและพัฒนา (หัวหน้างานกำหนดมาตรฐานและพัฒนา : ผฐพ.)
- งานบริหารและการประชุม (หัวหน้างานบริหารและการประชุม : ผหช.)
- กองประสานและติดตามความเสี่ยง (หัวหน้ากองประสานและติดตามความเสี่ยง : กนส.)
- งานประสานและติดตามความเสี่ยงด้านการบริหาร (หัวหน้างานประสานและติดตามความเสี่ยงด้านการบริหาร : ผตห.)
- งานประสานและติดตามความเสี่ยงด้านการตลาด (หัวหน้างานประสานและติดตามความเสี่ยงด้านการตลาด : ผตล.)
- งานประสานและติดตามความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (หัวหน้างานประสานและติดตามความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ : ผตก.)
- ศูนย์ประชาสัมพันธ์ (ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ : ศปส.)
- แผนกบริหารงานทั่วไป (หัวหน้าแผนกบริหารงานทั่วไป : ผบป.)
- กองประชาสัมพันธ์ (หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ : กปส.)
- งานประชาสัมพันธ์และรับเรื่องราวร้องเรียน (หัวหน้างานประชาสัมพันธ์และรับเรื่องราวร้องเรียน : ผปส.)
- งานโสตทัศนูปกรณ์และนิทรรศการ (หัวหน้างานโสตทัศนูปกรณ์และนิทรรศการ : ผทท.)
- หมวดช่างภาพ (หัวหน้าหมวดช่างภาพ : ม.ช่างภาพ)
- หมวดศิลป์ (หัวหน้าหมวดศิลป์ : ม.ศิลป์)
- กองโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว (หัวหน้ากองโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว : กณท.)
- งานโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว (หัวหน้างานโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว : ผณท.)
- งานเผยแพร่เอกสาร (หัวหน้างานเผยแพร่เอกสาร : ผผอ.)
- กองควบคุมการปฏิบัติการ (หัวหน้ากองควบคุมการปฏิบัติการ : กศป.)
- ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ (ศป.)
- หมวดบริการทั่วไป (หัวหน้าหมวดบริการทั่วไป : มบป.)
- งานระบบข้อมูล (หัวหน้างานระบบข้อมูล : ผรข.)
- งานเหตุอันตรายและอุบัติภัย (หัวหน้างานเหตุอันตรายและอุบัติภัย : ผอบ.)
- หมวดเหตุอันตรายฝั่งตะวันออก (หัวหน้าหมวดเหตุอันตรายฝั่งตะวันออก : มออ.)
- หมวดเหตุอันตรายฝั่งตะวันตก (หัวหน้าหมวดเหตุอันตรายฝั่งตะวันตก : มอต.)
- งานวิเคราะห์สถานการณ์รถจักรและรถพ่วงในด้านการซ่อมบำรุง (หัวหน้างานวิเคราะห์สถานการณ์รถจักรและรถพ่วงในด้านการซ่อมบำรุง : ผวจ.)
- งานวิเคราะห์สถานการณ์รถจักรและรถพ่วงในด้านการขนส่งและเหตุอันตราย (หัวหน้างานวิเคราะห์สถานการณ์รถจักรและรถพ่วงในด้านการขนส่งและเหตุอันตราย : ผวอ.)
- ศูนย์ความปลอดภัย (OCC.)
- ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ (ศป.)
- กองตรวจสอบควบคุมและประเมิลผล (หัวหน้ากองตรวจสอบควบคุมและประเมิลผล : กตค.)
- งานตรวจสอบและควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (หัวหน้างานตรวจสอบและควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง : ผนม.)
- งานตรวจสอบและควบคุมรถจักรและรถดีเซลราง (หัวหน้างานตรวจสอบและควบคุมรถจักรและรถดีเซลราง : ผจด.)
- งานตรวจสอบและควบคุมรถโดยสารและรถสินค้า (หัวหน้างานตรวจสอบและควบคุมรถโดยสารและรถสินค้า : ผคส.)
- ฝ่ายบริหารงานบุคคล (ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานบุคคล : อบค.)
- ด้านบริหาร (รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานบุคคล (ด้านบริหาร) : อรค.)
- ด้านฝึกอบรม (รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานบุคคล (ด้านฝึกอบรม) : อรฝ.)
- ฝ่ายการเงินและการบัญชี (ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและการบัญชี : อกบ.)
- ด้านการบัญชี (รองผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและการบัญชี (ด้านการบัญชี) : อบร.)
- ด้านการเงินและงบประมาณ (รองผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและการบัญชี (ด้านการเงินและงบประมาณ) : อปร.)
- ฝ่ายการเดินรถ (ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ : อดร.)
- ศูนย์วิชาการและพัฒนาการขนส่ง (ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการและพัฒนาการขนส่ง : ศอว.)
- กองโดยสาร (กดส.)
- กองสินค้า (กสค.)
- กองเดินรถ (กดร.)
- กองพัฒนาและวางแผนการเดินรถ (กพว.)
- ศูนย์กรุงเทพปริมณฑลและภาคตะวันออก (ผู้อำนวยการศูนย์กรุงเทพปริมณฑลและภาคตะวันออก (ศอก.)
- กองจัดการเดินรถเขต 1 (จดข.1)
- สารวัตรงานสถานีกรุงเทพ (สกท.)
- สารวัตรงานเดินรถแขวงกรุงเทพ (สดร.กท.)
- สารวัตรงานเดินรถแขวงฉะเชิงเทรา (สดร.ฉท.)
- สารวัตรงานเดินรถแขวงสมุทรสาคร (สดร.สม.)
- สารวัตรงานย่านบางซื่อ (สยซ.บซ.)
- สารวัตรงานรับ-ส่งสินค้าพหลโยธิน (สสค.ยพ.)
- พนักงานการเดินรถ 10 (อาคารควบคุมการเดินรถ)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวง กท.2 (ผคร.กท.2)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวง กท.3 (ผคร.กท.3)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวง กท.4 (ผคร.กท.4)
- กองจัดการเดินรถเขต 1 (จดข.1)
- ศูนย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ผู้อำนวยการศูนย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศออ.)
- กองจัดการเดินรถเขต 2 (จดข.2)
- สารวัตรงานเดินรถแขวงแก่งคอย (สดร.กค.)
- สารวัตรงานเดินรถแขวงนครราชสีมา (สดร.รส.)
- สารวัตรงานเดินรถแขวงอุบลราชธานี (สดร.อน.)
- พนักงานการเดินรถ 10 (นครราชสีมา)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวงแก่งคอย 1 (ผคร.กค.1)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวงแก่งคอย 2 (ผคร.กค.2)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวงนครราชสีมา (ผคร.รส)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวงขอนแก่น (ผคร.ขอ.)
- กองจัดการเดินรถเขต 2 (จดข.2)
- ศูนย์ภาคเหนือ (ผู้อำนวยการศูนย์ภาคเหนือ : ศอน.)
- กองจัดการเดินรถเขต 3 (จดข.3)
- สารวัตรงานเดินรถแขวงนครสวรรค์ (สดร.นว.)
- สารวัตรงานเดินรถแขวงอุตรดิตถ์ (สดร.อด.)
- สารวัตรงานเดินรถแขวงลำปาง (สดร.ลป.)
- พนักงานการเดินรถ 10 (ศิลาอาสน์)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวงนครสวรรค์ (ผคร.นว.)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวงอุตรดิตถ์ (ผคร.อด.)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวงลำปาง (ผคร.ลป.)
- กองจัดการเดินรถเขต 3 (จดข.3)
- ศูนย์ภาคใต้ (ผู้อำนวยการศูนย์ภาคใต้ : ศอต.)
- กองจัดการเดินรถเขต 4 (จดข.4)
- สารวัตรงานเดินรถแขวงธนบุรี (สดร.ธบ.)
- สารวัตรงานเดินรถแขวงชุมพร (สดร.ชพ.)
- พนักงานการเดินรถ 10 (ชุมพร)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวงกรุงเทพ 1 (ผคร.กท.1)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวงหัวหิน (ผคร.หห.)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวงชุมพร (ผคร.ชพ.)
- กองจัดการเดินรถเขต 5 (จดข.5)
- สารวัตรงานเดินรถแขวงทุ่งสง (สดร.ทส.)
- สารวัตรงานเดินรถแขวงหาดใหญ่ (สดร.หใ.)
- พนักงานการเดินรถ 10 (หาดใหญ่)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวงทุ่งสง (ผคร.ทส.)
- หัวหน้าพนักงานควบคุมการเดินรถแขวงหาดใหญ่ (ผคร.หใ.)
- กองจัดการเดินรถเขต 4 (จดข.4)
- ศูนย์วิชาการและพัฒนาการขนส่ง (ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการและพัฒนาการขนส่ง : ศอว.)
- ฝ่ายการช่างกล (วิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างกล : วญก.)
- ด้านลากเลื่อน (รองวิศวกรใหญ่ด้านลากเลื่อน : ญกล.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์ลากเลื่อน (วอล.)
- วิศวกรกำกับการกองปฏิบัติการลากเลื่อน (วกล.)
- สารวัตรงานรถจักรแขวงบางซื่อ 1 (สรจ.บซ.1)
- สารวัตรงานรถจักรแขวงบางซื่อ 2 (สรจ.บซ.2)
- สารวัตรงานบำรุงรถจักรดีเซลแขวงบางซื่อ 1 (สบซ.บซ.1)
- สารวัตรงานบำรุงรถจักรดีเซลแขวงบางซื่อ 2 (สบซ.บซ.2)
- สารวัตรงานรถจักรแขวงธนบุรี (สรจ.ธบ.)
- วิศวกรกำกับการกองลากเลื่อนเขตนครราชสีมา (วกข.รส.)
- สารวัตรแขวงรถพ่วงแก่งคอย (สรพ.กค.)
- สารวัตรแขวงโรงงานแก่งคอย (โครงการจัดตั้งในอนาคต โดยย้ายโรงงานมักกะสันมาตั้งอยู่ ณ พื้นที่แห่งนี้)
- สารวัตรแขวงรถจักรนครราชสีมา (สรจ.รส.)
- สารวัตรแขวงโรงงานนครราชสีมา (สรง.รส.)
- วิศวกรกำกับการกองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์ (วกข.อด.)
- สารวัตรแขวงรถพ่วงปากน้ำโพ (สรพ.ปพ.)
- สารวัตรแขวงรถจักรอุตรดิตถ์ (สรจ.อด.)
- สารวัตรแขวงโรงงานอุตรดิตถ์ (สรง.อด.)
- สารวัตรแขวงรถจักรลำปาง (สรจ.ลป.)
- วิศวกรกำกับการกองลากเลื่อนเขตทุ่งสง (วกข.ทส.)
- สารวัตรแขวงรถพ่วงชุมพร (สรพ.ชพ.)
- สารวัตรแขวงรถจักรทุ่งสง (สรจ.ทส.)
- สารวัตรแขวงโรงงานทุ่งสง (สรง.ทส.)
- สารวัตรแขวงรถจักรหาดใหญ่ (สรจ.หใ.)
- วิศวกรกำกับการกองปฏิบัติการลากเลื่อน (วกล.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์ซ่อมบำรุง (วอซ.)
- วิศวกรกำกับการกองเทคนิครถจักร (วทจ.)
- วิศวกรกำกับการกองเทคนิครถพ่วง (วทพ.)
- วิศวกรกำกับการกองรถดีเซลรางกรุงเทพ (วซร.)
- สารวัตรงานรถดีเซลรางแขวงกรุงเทพ (สซร.กท.)
- สารวัตรงานบำรุงรถดีเซลรางแขวงกรุงเทพ 1 (สบร.กท.1)
- สารวัตรงานบำรุงรถดีเซลรางแขวงกรุงเทพ 2 (สบร.กท.2)
- สารวัตรงานรถปรับอากาศแขวงกรุงเทพ (สปอ.กท.)
- วิศวกรกำกับการกองซ่อมบำรุงรถจักรเขตบางซื่อ (วซข.บซ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงรถจักรดีเซลบางซื่อ 1 (สบซ.บซ.1)
- สารวัตรแขวงบำรุงรถจักรดีเซลบางซื่อ 2 (สบซ.บซ.2)
- สารวัตรแขวงบำรุงรถจักรดีเซลบางซื่อ 3 (สบซ.บซ.3)
- วิศวกรกำกับการกองซ่อมบำรุงรถโดยสารเขตกรุงเทพ (วชด.กท.)
- สารวัตรแขวงรถโดยสารกรุงเทพ (สรด.กท.)
- สารวัตรแขวงบำรุงรถโดยสารกรุงเทพ (สบส.กท.)
- สารวัตรแขวงซ่อมไฟฟ้าขบวนรถกรุงเทพ (สฟร.กท.)
- วิศวกรกำกับการกองซ่อมบำรุงเขตรถสินค้าเขตบางซื่อ (วซค.บซ.)
- สารวัตรแขวงรถสินค้าบางซื่อ (สรค.บซ.)
- สารวัตรบำรุงรถสินค้าบางซื่อ (สบค.บซ.)
- สารวัตรแขวงรถพ่วงธนบุรี (สรพ.ธบ.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์ลากเลื่อน (วอล.)
- ด้านโรงงาน (รองวิศวกรใหญ่ด้านโรงงาน : ญกง.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์ซ่อมรถจักร (วอจ.)
- วิศวกรกำกับการกองซ่อมรถจักร (วซจ.)
- สารวัตรงานซ่อมส่วนบนรถจักร (สบจ.)
- สารวัตรงานซ่อมส่วนล่างรถจักร (สลจ.)
- สารวัตรงานซ่อมอุปกรณ์ส่วนบนรถจักร (สอบ.)
- สารวัตรงานซ่อมอุปกรณ์ส่วนล่างรถจักร (สอล.)
- วิศวกรกำกับการกองซ่อมเครื่องยนต์ (วซย.)
- สารวัตรงานซ่อมเครื่องยนต์รถจักร (สยจ.)
- สารวัตรงานซ่อมอุปกรณ์เครื่องยนต์รถจักร (สอย.)
- สารวัตรงานซ่อมเครื่องยนต์ดีเซลรางและปรับอากาศ (สรป.)
- วิศวกรกำกับการกองไฟฟ้า (วฟฟ.)
- สารวัตรงานซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังรถจักร (สอก.)
- สารวัตรงานซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าควบคุมรถจักร (สอค.)
- สารวัตรงานซ่อมกลจักรไฟฟ้า (สจฟ.)
- วิศวกรกำกับการกองซ่อมรถจักร (วซจ.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์ซ่อมดีเซลรางและปรับอากาศ (วอศ.)
- วิศวกรกำกับการกองซ่อมส่วนบนรถดีเซลรางและปรับอากาศ (วบป.)
- สารวัตรงานซ่อมอุปกรณ์รถดีเซลรางและปรับอากาศ (สอป.)
- สารวัตรงานซ่อมส่วนบนรถดีเซลรางและปรับอากาศ (สบป.)
- วิศวกรอำนวยการกองซ่อมส่วนล่างรถดีเซลรางและปรับอากาศ (วลป.)
- สารวัตรงานซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้ารถดีเซลรางและปรับอากาศ (สฟป.)
- สารวัตรงานซ่อมส่วนล่างรถดีเซลรางและปรับอากาศ (สลป.)
- วิศวกรกำกับการกองซ่อมส่วนบนรถดีเซลรางและปรับอากาศ (วบป.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์ซ่อมรถโดยสาร (วอด.)
- วิศวกรกำกับการกองซ่อมแซมส่วนบนรถโดยสาร (วซส.)
- สารวัตรงานซ่อมอุปกรณ์ส่วนบนรถโดยสาร (สอส.)
- สารวัตรงานซ่อมส่วนบนรถโดยสาร (สซส.)
- สารวัตรงานซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้ารถโดยสาร (สฟร.)
- วิศวกรกำกับการกองซ่อมส่วนล่างรถโดยสาร (วลส.)
- สารวัตรงานซ่อมอุปกรณ์ส่วนล่างรถโดยสาร (สอด.)
- สารวัตรงานซ่อมส่วนล่างรถโดยสาร (สลด.)
- วิศวกรกำกับการกองซ่อมแซมส่วนบนรถโดยสาร (วซส.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์แผนงานและการผลิต (วอผ.)
- วิศวกรกำกับการกองแผนงาน (วกผ.)
- วิศวกรกำกับการกองผลิต (วผผ.)
- สารวัตรงานผลิตอุปกรณ์เหล็ก (สลก.)
- สารวัตรงานหล่อและกะสวน (สลส.)
- สารวัตรงานเชื่อม (สชอ.)
- สารวัตรงานผลิตยางและพลาสติก (สวย.)
- วิศวกรกำกับการกองเครื่องมือกลผลิต (วผก.)
- สารวัตรงานเครื่องกลผลิต (สคก.)
- สารวัตรงานอุปกรณ์ห้ามล้อ และซ่อมเครื่องทำลมอัด
- สารวัตรงานล้อ (สลอ.)
- วิศวกรกำกับการกองการพัสดุ (วพด.)
- ศูนย์วิศวกรรมเครื่องกล (วิศวกรอำนวยการศูนย์วิศวกรรมเครื่องกล : วอก.)
- วิศวกรกำกับการกองแบบแผนรถจักร (วกจ.)
- วิศวกรกำกับการกองแบบแผนรถพ่วง (วกพ.)
- วิศวกรกำกับการกองโครงการและวางแผน (วกค.)
- วิศวกรกำกับการกองระเบียบวิธี (วกธ.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์ซ่อมรถจักร (วอจ.)
- ด้านลากเลื่อน (รองวิศวกรใหญ่ด้านลากเลื่อน : ญกล.)
- ฝ่ายการช่างโยธา (วิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างโยธา : วญธ.)
- ด้านบำรุง (รองวิศวกรใหญ่ด้านบำรุง : ญธร.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์ศูนย์การผลิตและซ่อมบำรุง (วอบ.)
- วิศวกรกำกับการกองเครื่องกลและเครื่องมือบำรุงทางประแจและเชื่อมราง (วจร.)
- สารวัตรงานเครื่องมือกลเบาและเครื่องมือบำรุงทาง (สกค.)
- วิศวกรกำกับการกองเครื่องกลบำรุงทางหนัก (วบน.)
- สารวัตรงานซ่อมบำรุงที่ 1 (สคบ.บน.1)
- สารวัตรงานซ่อมบำรุงที่ 2 (สคบ.บน.2)
- วิศวกรกำกับการกองเครื่องกลและเครื่องมือบำรุงทางประแจและเชื่อมราง (วจร.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์บำรุงทางภาคกลาง (วอง.)
- สารวัตรงานเครื่องกลบำรุงทางหนักกรุงเทพ (สบน.กท.)
- หัวหน้ากองเทคนิคบำรุงทางภาคกลาง(กทน.บง.)
- วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางเขตกรุงเทพ (วบข.กท.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางกรุงเทพ (สบท.กท.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางบางซื่อ (สบท.บซ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางนครปฐม (สบท.คฐ.)
- วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางเขตฉะเชิงเทรา (วบข.ฉท.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางฉะเชิงเทรา (สบท.ฉท.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางปราจีนบุรี (สบท.ปจ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางวัฒนานคร (สบท.วค.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางศรีราชา (สบท.ศช.)
- วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางเขตหัวหิน (วบข.หห.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางกาญจนบุรี (สบท.กญ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางเพชรบุรี (สบท.พบ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางวังก์พง (สบท.วพ.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์บำรุงทางภาคเหนือ (วอน.)
- สารวัตรงานเครื่องกลบำรุงทางหนักตะพานหิน (สบน.ตห.)
- หัวหน้ากองเทคนิคบำรุงทางภาคเหนือ (กทน. วอน.)
- วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางเขตนครสวรรค์ (วบข.นว.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางอยุธยา (สบท.อย.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางลพบุรี (สบท.ลบ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางนครสวรรค์ (สบท.นว.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางพิษณุโลก (สบท.พล.)
- วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางเขตลำปาง (วบข.ลป.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางอุตรดิตถ์ (สบท.อด.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางเด่นชัย (สบท.ดช.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางลำปาง (สบท.ลป.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางลำพูน (สบท.ลพ.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์บำรุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วออ.)
- สารวัตรงานเครื่องกลบำรุงทางหนักแก่งคอย (สบน.กค.)
- สารวัตรงานเครื่องกลบำรุงทางหนักนครราชสีมา (สบน.รส.)
- หัวหน้ากองเทคนิคบำรุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กทน.บอ.)
- วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางเขตสุรินทร์ (วบข.สร.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางแก่งคอย (สบท.กค.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางนครราชสีมา (สบท.รส.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางลำปลายมาศ (สบท.ลำ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางศรีสะเกษ (สบท.เก.)
- วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางเขตขอนแก่น (วบข.ขอ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางลำนารายณ์ (สบท.ลา.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางบัวใหญ่ (สบท.วญ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางขอนแก่น (สบท.ขอ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางอุดรธานี (สบท.รด.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์บำรุงทางภาคใต้ (วอต.)
- สารวัตรงานเครื่องกลบำรุงทางหนักชุมพร (สบน.ชพ.)
- สารวัตรงานเครื่องกลบำรุงทางหนักหาดใหญ่ (สบน.หใ.)
- วิศวกรกำกับการกองเทคนิคบำรุงทางภาคใต้
- วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางเขตทุ่งสง (วบข.ทส)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางบ้านกรูด (สบท.กร.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางชุมพร (สบท.ชพ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางบ้านส้อง (สบท.บส.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางทุ่งสง (สบท.ทส.)
- วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางเขตหาดใหญ่ (วกข.หใ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางเขาชุมทอง (สบท.ชท.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางหาดใหญ่ (สบท.หใ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางเทพา (สบท.ทพ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงทางตันหยงมัส (สบท.ตย.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์ศูนย์การผลิตและซ่อมบำรุง (วอบ.)
- ด้านพัฒนา (รองวิศวกรใหญ่ด้านพัฒนา : ญธพ.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์โครงการพัฒนาและระบบข้อมูล (วอข.)
- วิศวกรกำกับการกองโครงการและงบประมาณ (วคม.)
- กองจัดซึ้อจัดจ้าง (กจจ.)
- กองจัดการระบบข้อมูล (กรข.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์ทางถาวร (วอถ.)
- วิศวกรกำกับการกองแผนงานบำรุงทาง (วบท.)
- วิศวกรกำกับการกองทางถาวร (วทถ.)
- วิศวกรกำกับการกองวิเคราะห์วิจัย (ววจ.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์บำรุงสะพาน (วอพ.)
- วิศวกรกำกับการกองสะพาน (วสพ.)
- วิศวกรกำกับการกองสำรวจสะพาน (วรส.)
- วิศวกรกำกับการกองแผนงานสะพาน (วบพ.)
- วิศวกรกำกับการกองผลิตและซ่อมสร้างสะพาน (วผส.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์อาคารและสถานที่ (วอท.)
- สถาปนิกกำกับการกองสถาปัตยกรรม (ถปน.)
- วิศวกรกำการกองโครงสร้าง (วคส.)
- กองแผนงานบำรุงอาคารและสถานที่ (กบอ.)
- กองบำรุงอาคารสถานที่กรุงเทพ (กบข.กท.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์โครงการพัฒนาและระบบข้อมูล (วอข.)
- ด้านบำรุง (รองวิศวกรใหญ่ด้านบำรุง : ญธร.)
- ฝ่ายการอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (วิศวกรใหญ่ฝ่ายการอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม : วญญ.)
- ด้านบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (รองวิศวกรใหญ่ด้านบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม : ญญร.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์บำรุงรักษาส่วนกลาง (วอญ.(ก))
- วิศวกรกำกับการกองอาณัติสัญญาณ (วสส.)
- สารวัตรงานโรงงาน (สสง.)
- สารวัตรงานระบบเครื่องมือกล (สสม.)
- สารวัตรงานระบบเครื่องปรับอากาศ (สสป.)
- สารวัตรงานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (ธนบุรี) (สสญ.(ธบ.))
- สารวัตรงานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (ภาคกลางและย่านพหลโยธิน) (สสญ.(กท.))
- สารวัตรงานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (อยุธยา) (สสญ.(อย.))
- วิศวกรกำกับการกองควบคุมอาณัติสัญญาณทางไกล (วสญ.(ก))
- สารวัตรงานควบคุมอาณัติสัญญาณทางไกล (สญก.)
- สารวัตรตรวจสอบเครื่องกั้นถนนทางไกล (สญค.)
- สารวัตรงานอาณัติสัญญาณย่านพิเศษ (สญพ.)
- วิศวกรกำกับการกองอาณัติสัญญาณ (วสส.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์บำรุงรักษาส่วนภูมิภาค (วอญ.(ภ))
- วิศวกรกำกับการกองบำรุงรักษาเขต 1 (วสญ.1)
- สารวัตรแขวงบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณแก่งคอย (สสญ.กค.)
- สารวัตรแขวงบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณลำชี (สสญ.ลช.)
- สารวัตรแขวงบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณขอนแก่น (สสญ.ขอ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณนครสวรรค์ (สสญ.นว.)
- สารวัตรแขวงบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณลำปาง (สสญ.ลป.)
- วิศวกรกำกับการกองบำรุงรักษาเขต 2 (วสญ.2)
- สารวัตรแขวงบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณหัวหิน (สสญ.หห.)
- สารวัตรแขวงบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณทุ่งสง (สสญ.ทส.)
- สารวัตรแขวงบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณหาดใหญ่ (สสญ.หใ.)
- สารวัตรแขวงบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณฉะเชิงเทรา (สสญ.ฉท.)
- สารวัตรแขวงบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณศรีราชา (สสญ.ศช.)
- วิศวกรกำกับการกองบำรุงรักษาเขต 1 (วสญ.1)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์บำรุงรักษาส่วนกลาง (วอญ.(ก))
- ด้านโครงการและพัฒนาระบบ (รองวิศวกรใหญ่ด้านโครงการและพัฒนาระบบ : ญญพ.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์โครงการพัฒนาระบบ (วอม.(พ))
- วิศวกรกำกับการกองก่อสร้าง (วคพ.)
- สารวัตรงานก่อสร้าง 1 (สสพ.1)
- สารวัตรงานก่อสร้าง 2 (สสพ.2)
- สารวัตรงานก่อสร้าง 3 (สสพ.3)
- สารวัตรงานก่อสร้าง 4 (สสพ.4)
- วิศวกรกำกับการกองโครงการและแผนงาน (วคว.)
- สารวัตรงานสำรวจ (สสจ.)
- สารวัตรงานแบบแผน (สสบ.)
- วิศวกรกำกับการกองก่อสร้าง (วคพ.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์วิชาการและโทรคมนาคม (วอม.(ท))
- กองเทคนิค (กทน.(ท))
- วิศวกรกำกับการกองโทรคมนาคม (วสท.)
- สารวัตรงานระบบข่ายชุมสาย (สสร.)
- สารวัตรงานระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (สสฟ.)
- สารวัตรงานระบบส่งสัญญาณและโทรคมนาคม (สสท.)
- สารวัตรงานระบบวิทยุ Train Radio ATP. (สสว.)
- สารวัตรงานระบบเสาสายและใยแก้ว (สสส.)
- วิศวกรกำกับการกองวิชาการและมาตรฐาน (วสม.)
- สารวัตรงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์และอิเล็คทรอนิกส์ (สสอ.)
- วิศวกรอำนวยการศูนย์โครงการพัฒนาระบบ (วอม.(พ))
- ด้านบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (รองวิศวกรใหญ่ด้านบำรุงรักษาอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม : ญญร.)
เส้นทางเดินรถ[แก้]
ปัจจุบันการรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมทั้งสิ้น 4,507 กิโลเมตร โดยเป็นทางคู่ช่วง รวมระยะทางทั้งสิ้น 303 กิโลเมตร ได้แก่ กรุงเทพ - ลพบุรี ระยะทาง 133 กิโลเมตร ชุมทาง สถานีตลิ่งชัน - สถานีนครปฐม ระยะทาง 44 กิโลเมตร สถานีฉะเชิงเทรา - สถานีสัตหีบ ระยะทาง 69.8 กิโลเมตร สถานีชุมทางศรีราชา - สถานีแหลมฉบัง ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร
และเป็นทางสาม รวมระยะทางทั้งสิ้น 107 กิโลเมตร ได้แก่ ช่วง รังสิต - ชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง 60 กิโลเมตร สถานีหัวหมาก - ชุมทางฉะเชิงเทรา ระยะทาง 45.820 กิโลเมตร
สำหรับเส้นทางรถไฟรางเดี่ยว 4097 กิโลเมตร
โดยมีเส้นทาง ดังนี้
- ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึง (สถานีรถไฟอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ) จังหวัดอุบลราชธานี ระยะทาง 575 กิโลเมตร และสถานีชุมทางถนนจิระถึงสถานีจังหวัดหนองคาย และต่อจากหนองคายไปยังสะพานมิตรภาพไทย-ลาว (สปป.ลาว) ระยะทาง 2.66 กิโลเมตร และสถานีชุมทางจิระถึงสถานีหนองคาย จังหวัดหนองคายระยะทาง 360 กิโลเมตร และชุมทางแก่งคอย-ชุมทางบัวใหญ่ ระยะทาง 252.4 กิโลเมตร
- ทางรถไฟสายเหนือ ถึง สถานีรถไฟเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และ สถานีรถไฟ สวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ระยะทาง 752 กิโลเมตร และทางแยกสถานีชุมทางบ้านดาราจังหวัดพิษณุโลก ถึงสถานีสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ระยะทาง 29 กิโลเมตร
- ทางรถไฟสายใต้ เริ่มต้นจากสถานีกรุงเทพ ถึง ( สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโกลก ) จังหวัดนราธิวาส ระยะทาง 1,141 กิโลเมตร, ทางแยกสถานีปาดังเบซาร์ ระยะทาง 43.5 กิโลเมตร, ทางแยกคีรีรัฐนิคม ระยะทาง 31 กิโลเมตร และทางแยกกันตัง ระยะทาง 92.8 กิโลเมตร, ทางแยกนครศรีธรรมราช ระยะทาง 35 กิโลเมตร โดยสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟของ ประเทศมาเลเซีย ไปถึงยัง ประเทศสิงคโปร์
- ทางรถไฟสายตะวันออก ถึง จังหวัดสระแก้ว ( สถานีรถไฟอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ ) ระยะทาง 260 กิโลเมตร, สถานีคลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 81.4 กิโลเมตร และชุมทางเขาชีจรรย์-มาบตะพุต ระยะทาง 24.07 กิโลเมตร
- ทางรถไฟสายตะวันตก จาก สถานีชุมทางหนองปลาดุกถึง สถานีรถไฟน้ำตก ) จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 131 กิโลเมตร และถึงทางแยก สถานีรถไฟสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะทาง 78 กิโลเมตร
- ทางรถไฟสายแม่กลอง ช่วง สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ - สถานีรถไฟมหาชัย ระยะทาง 31 กิโลเมตร และช่วง สถานีรถไฟบ้านแหลม - สถานีรถไฟแม่กลอง ระยะทาง 34 กิโลเมตร
นอกจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยยังมีโครงการขยายเส้นทางให้เป็นทางคู่เพื่อให้สามารถทำความเร็วได้มากขึ้น ลดเวลาการเดินทาง เพิ่มความจุตู้สินค้าและตู้โดยสาร รวมทั้งลการใช้พลังงาน เนื่องจากการขนส่ง เที่ยวหนึ่ง สามารถจุผู้โดยสารและสินค้าได้มากกว่ารถยนต์ โครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง ได้แก่ ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร นครปฐม-หัวหิน 165 กิโลเมตร มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กิโลเมตร ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กิโลเมตร รวมระยะทาง 767 กิโลเมตร
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน[แก้]
การรถไฟแห่งประเทศไทย ยังเป็นผู้รับผิดชอบในเส้นทางระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าอีกจำนวน 7 โครงการ แบ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าชานเมือง 3 โครงการ และระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 โครงการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ระบบรถไฟฟ้าชานเมือง
- รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นสัมปทานของ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ให้บริการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ช่วงสุวรรณภูมิ - พญาไท ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร : เปิดให้บริการ โดยมี บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้ให้บริการชั่วคราว
- ช่วงพญาไท - ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร : อยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
- โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เป็นสัมปทานของ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด แบ่งออกเป็น
- สายสีแดงอ่อน
- ช่วงศาลายา - ตลิ่งชัน และศิริราช - ตลิ่งชัน : อยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
- ช่วงตลิ่งชัน - บางซื่อ : อยู่ในระหว่างการติดตั้งระบบ จะเปิดให้บริการใน พ.ศ. 2564
- ช่วงบางซื่อ - พญาไท : อยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
- ช่วงพญาไท - หัวหมาก - ฉะเชิงเทรา และศาลายา - นครปฐม : อยู่ในระหว่างการศึกษาเส้นทาง
- สายสีแดงเข้ม
- ช่วงธรรมศาสตร์รังสิต - รังสิต : อยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
- ช่วงรังสิต - บางซื่อ : อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
- ช่วงบางซื่อ - ยมราช : อยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
- ช่วงยมราช - หัวลำโพง - มหาชัย - ปากท่อ และช่วงธรรมศาสตร์รังสิต - บ้านภาชี : อยู่ในระหว่างการศึกษาเส้นทาง
- สายสีแดงอ่อน
- ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง
- รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงดอนเมือง - อู่ตะเภา : เป็นสัมปทานของ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด อยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
- รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน) ช่วงบางซื่อ - หนองคาย : เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลจีน อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
- รถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น (สายเหนือ) ช่วงบางซื่อ - เชียงใหม่ : เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลญี่ปุ่น อยู่ในระหว่างการออกแบบรายละเอียดโครงการ
- รถไฟความเร็วสูงสายใต้ ช่วงบางซื่อ - ปาดังเบซาร์ (ไทย) : อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดโครงการ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/091/17.PDF พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ รอยทางจาก “กรมรถไฟ” สู่... “แอร์พอร์ต เรล ลิงก์”
- ↑ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๔ / เรื่องที่ ๗ รถไฟ / ประวัติการรถไฟในประเทศไทย
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: การรถไฟแห่งประเทศไทย |
![]() |
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ: |
- เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
- เว็บไซต์การรถไฟแห่งประเทศไทย
- แผนที่แสดงเส้นทางการเดินรถไฟในปัจจุบัน
- คากิซากิ, อิจิโร. จากทางรถไฟสู่ทางหลวง: ความเปลี่ยนแปลงนโยบายการคมนาคมและการหมุนเวียนสินค้าของประเทศไทย พ.ศ. 2478-2518. นนทบุรี: ต้นฉบับ, 2560.
- คากิซากิ, อิจิโร. ย้อนรอยรถไฟไทย: สืบสานและต่อยอด. แปลโดย มุทิตา พานิช. กรุงเทพฯ: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562.
- สุทธิศักดิ์ แสวงศักดิ์. บทบาทของกรมรถไฟหลวงกับการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2464-2502. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ออนไลน์.
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ การรถไฟแห่งประเทศไทย
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′48″N 100°30′53″E / 13.7466502°N 100.5146915°E
|
|
|
|